ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น – ตั้งตรง สูง 0.9-1.5 ซม. มีขนสีเขียวอมเทาและไม่ค่อยแตกสาขา

ใบ – ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ เรียงสลับ ขอบใบเว้าลึกจนถึงจุดโคนใบเป็น 5-7 แฉก แต่ละแฉกรูปยาวรี กว้าง 0.3-1.5 ซม. ยาว 6-10 ซม. โคนและปลายสอบ ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบด้านบนสีเข้มกว่าด้านล่าง

ดอก – แยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายยอด ช่อดอกและใบของต้นเพศผู้จัดเรียงตัวกันห่างๆ ต่างจากต้นเพศเมียที่เรียงชิดกัน ดอกเล็ก ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยงหุ้ม

ผล – แห้งเมล็ดล่อน เล็ก เรียบ สีน้ำตาล

กัญชาเดิมถูกจัดเป็นพืชในตระกูล Urticaceae หรือกลุ่มพืชตำแย ต่อมา นักพฤกษศาสตร์พบว่ามีคุณสมบัติและลักษณะเฉพาะหลายประการที่ต่างออกไปในพืชกลุ่มตำแย ประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลทางนิเวศวิทยา ประวัติความเป็นมา การใช้ประโยชน์ รวมทั้งสารออกฤทธิ์ จึงถูกจำแนกออกเป็นวงศ์ Canadidaceae โดยเฉพาะ สำหรับชื่อทางพฤกษศาสตร์ของกัญชาคือ Cannabis sativa L. subsp.Indica (Lam.) E.Small & Cronquist ลักษณะต้นเป็นไม้ทุ่มเตี้ย นิยมปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน น้ำยางมีฤทธิ์หลอนประสาท ส่วนใหญ่พบในทวีปเอเชีย

ส่วนของกัญชาที่ใช้เสพ คือ เฉพาะส่วนยอดของช่อดอกและใบที่ตากแห้งแล้ว ซึ่งจะมีสีเขียวอ่อนและสีเขียวปนเหลืองเรียกว่า “กัญชาแห้ง” ในปัจจุบันได้มีการนำเอากัญชามาอัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมขนาดที่นิยมกันคือ 1.1/2  กก. = หนึ่งกิโลครึ่ง เพื่อสะดวกต่อการขนส่ง และยังมีการนำเอากัญชามาพันไม้เป็นแท่ง(ติ้ว) ขาว ประมาณ 1 คืบ เรียกว่า “กัญชาอัดแท่ง” ต่อมามีการสกัดเอาน้ำมันกัญชาเพื่อนำมาเสพ เรียกว่า “กัญชา น้ำ” ซึ่งจะให้ฤทธิ์แรงมากกว่ากัญชาแห้งและกัญชาแท่ง ซึ่งกัญชาน้ำนี้มีลักษณะเป็นน้ำมัน มีสีน้ำตาลแดง จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “กัญชาน้ำมัน” วิธีการผลิตกัญชาน้ำนั้น พบว่า ชาวอัฟกานิสถานนำมาใช้เป็นกรรม วิธีผลิต Hashish ซึ่งเป็นกัญชาน้ำอีกชนิดหนึ่งที่ชาวอัฟกานิสถานใช้เสพเพื่อระงับความเจ็บปวดจากการสู้รบกันในสงครามกลางเมือง นอกจากนี้ยังมีการผลิตกัญชาในอีกลักษณะหนึ่ง คือ “กัญชาแผ่น” ซึ่งเป็นการนำเอากัญชาแห้งมาปรุงแต่งเป็นแผ่นแข็งๆ โดยให้มีขนาดเท่ากับขนมแพนเค้กซึ่งมีฤทธิ์แรงขึ้น การตีตราหรือยี่ห้อของผู้ผลิต โดยมีสีตั้งแต่น้ำตาลอ่อน น้ำตาลแก่ไปจนถึงสีค่อนข้างดำ ความแข็งนั้น มีตั้งแต่อ่อนเอามือบิออกได้ จนกระทั่งถึงแข็งมาก

ที่มา : สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

Recent Posts