โรคเห็ด

โรคเห็ดที่สำคัญ – การเพาะเห็ดเป็นการเลียนแบบการเกิดเห็ดป่าในธรรมชาติ แต่ได้นำวิชาการที่ได้ทดลองและทดสอบความเป็นไปได้ มาปรับปรุงให้เห็ดสามารถออกดอกได้มากกว่าการเกิดดอกเห็ดในธรรมชาติ และสามารถเพาะได้ตลอดปี โดยใช้เทคโนโลยีบางอย่างประกอบการเพาะเห็ดก็เหมือนกับการปลูกพืชทั่ว ๆ ไปคือ จะมีศัตรูพืช เช่น โรคแมลงเข้ามาเกี่ยวข้องและมีปัญหาหลายอย่างเกิดขึ้นได้ ดังนั้นถ้าเกษตรกรผู้เพาะเห็ดมีความเข้าใจเรื่องชีววิทยาของจุลินทรีย์เหล่านั้นรวมทั้งความสัมพันธ์ของการเพาะเห็ดกับสิ่งแวดล้อมและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในการระบาด รวมทั้งวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยใช้หลักการจัดการการเพาะปลูกพืช (crop management) ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะลดลงได้

โรคเห็ด – หมายถึงอาการผิดปกติที่ดอกเห็ดแสดงออกทางด้านรูปร่าง เช่น ดอกเล็กแคระแกร็น หรือทางต้านโครงสร้าง เช่น ดอกสมบูรณ์ แต่มีจุดแผล นอกจากนี้ในกรณีของเห็ดที่เพาะเลี้ยงในถุงพลาสติกโดยมีขี้เลื่อยเป็นวัสดุเพาะหลักหมายถึงการที่เส้นใยเห็ดไม่เจริญหรือ “เส้นใยไม่เดิน” หรือ “เส้นใยเดิน” แต่หยุดชะงักเนื่องจากมีเชื้อราอื่นเจริญได้เร็วกว่า หรือ เส้นใยเดินและมีเชื้อราอื่นปนเปื้อนในถุงเพาะเห็ดเป็นบางส่วน

การเพาะเห็ดในปัจจุบันมี 3 แบบ คือ

(1) การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก (Bag Culture) หมายถึง การเพาะเลี้ยงเห็ดโดยใช้ถุงพลาสติกบรรจุขี้เลื่อย หรือฟางหมักหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่น ๆ เป็นวัสดุหลักในการเพาะและผสมอาหารเสริมบางอย่างแล้วจึงใส่เชื้อเห็ดที่ต้องการลงไป ได้แก่ การเพาะเห็ดในสกุลเห็ดนางรม (Genus Pleurotus.) เช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดเป้าซื้อ เห็ดภูฏาน เห็ดขอนขาว เห็ดหูหนู และเห็ดหอม (Lentinus edodes) ฯลฯ

(2) การเพาะเห็ดกลางแจ้ง (Open field culture) ได้แก่ การเพาะเห็ดฟาง ซึ่งแบ่งเป็นการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยกลางแจ้งและการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง เป็นการเพาะแบบธรรมชาติ ปัจจุบันการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ยได้รับความนิยมมากกว่า การเพาะเห็ดฟางกองสูง ซึ่งกำลังหมดไป

(3) การเพาะเห็ดในโรงเรือน (Protected culture) ได้แก่การเพาะเห็ดฟางอุตสาหกรรม การเพาะเห็ดแชมปิญอง เป็นวิธีเพาะเห็ดซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีสูงทุกขั้นตอนของการเพาะเห็ด เช่น การหมักฟางก่อนเพาะ การอบฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด การรักษาอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือน ฯลฯ โรคของเห็ดโดยทั่วไปแยกเป็น 2 ประเภท คือ (1) โรคเกิดจากเชื้อมีสาเหตุ (2) โรคเกิดจากเชื้อไม่มีสาเหตุ

(1) โรคเกิดจากเชื้อมีสาเหตุ – โรคที่เกิดกับเห็ดมีเชื้อสาเหตุ มีหลายชนิด เช่น เกิดจากเชื้อรา มีเชื้อราเป็นสาเหตุโรคเกิดจากเชื้อบักเตรีหรือเชื้อไวรัส มีเชื้อบักเตรีหรือไวรัส เป็นสาเหตุ หรือมีสาเหตุเกิดจากไส้เดือนฝอย เป็นต้น เชื้อราบางชนิดทำให้เส้นใยเห็ดเจริญเติบโตช้าหรือชะงักการเจริญเติบโต เรียกว่าเป็นเชื้อราแข่งขัน คือเป็นพวกที่เจริญเติบโตเร็วกว่า และแย่งอาหารของเชื้อเห็ด ถ้าสภาพอาหารในวัสดุเพาะไม่เหมาะหรือความเป็นกรดเป็นด่างของวัสดุเพาะไม่เหมาะ เชื้อราเหล่านี้จะไม่เจริญ ในบางกรณีเชื้อราบางชนิดเป็นพวกสร้างสารปฏิชีวนะไปชะงักการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์อื่น ๆ รวมทั้งเส้นใยเห็ด ส่วนอาการของดอกเห็ดเกิดจากเชื้อไวรัส เช่น โรคไวรัสของเห็ดสกุลนางรม เป็นต้น

(2) โรคเกิดจากเชื้อไม่มีสาเหตุ – ลักษณะอาการผิดปกติบางอย่างของดอกเห็ด เกิดจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น การแปรปรวนของอากาศ อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปจากที่ควรเป็นตามฤดูกาลความชื้นในวัสดุเพาะไม่เพียงพอหรือสภาพในโรงเรือนเพาะเห็ดไม่เหมาะเช่นมีแสงมากเกินไปความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีน้อยและในโรงเรือนมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นมากเกินไป หรืออาจเกิดจากการเสื่อมของหัวเชื้อ หรือลักษณะผิดปกติบางอย่างทางพันธุกรรม ในการเพาะเห็ดไม่ว่าจะเป็นการเพาะแบบไหนมักจะมีเชื้อราเกิดขึ้นในชั้นตอนของทาเพาะเสมอเริ่มตั้งแต่หัวเชื้อ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของอาหารวุ้น พี่.ดี.เอ. (PDA – Potato Dextrose Agar) หรือ ในรูปของเมล็ดข้าวฟาง หรือในกรณีของเห็ดฟางจะเป็นหัวเชื้อในฟางหมักกับชี้ม้าและเปลือกบัวบรรจุในถุงพลาสติก เป็นต้น หรือในถุงเห็ดที่บ่มไว้เพื่อเตรียมปิดดอก แม้แต่ในแปลงเพาะเห็ดฟาง ในโรงเรื่อนเพาะเห็ดชมปิญองหรือในเห็ดฟางแบบอุตสาหกรรม เชื้อราเหล่านี้อาจจะเป็นเชื้อราจำพวกเชื้อราปนเปื้อน (contaminatodfungi) หรือเชื้อราแข่งขัน (competitor) และราที่เป็นวัชพืช (weed fungi) หรือเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกับดอกเห็ด หรือเส้นใยเห็ดก็ได้ (diseases)

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร