แมลงศัตรูเห็ด

ภาพแมลงศัตรูเห็ด

1. หนอนแมลงวัน – พบการระบาดทำลายเห็ดเกือบทุกชนิดโดยเฉพาะเห็ดที่เก็บดอกขายได้แล้ว การเพาะเลี้ยงเห็ดในปีที่ 2 หนอนแมลงวันนี้โดยทั่วไปมักจะชอบของเน่าเหม็นรวมทั้งสิ่งที่เกิดจากกลิ่นของแอมโมเนียจากก่อนอาหารเห็ด หนอนพวกนี้เมื่อทำลายก็จะพบว่าส่วนของก้อนเชื้อในถุงเห็ดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ และส่วนมากก็พบโรคเน่าเกิดขึ้นด้วยทุกครั้ง หนอนแมลงวัน ที่พบทำลายเห็ดอย่างรุนแรงในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ

(1.1) หนอนแมลงวันเชียริ (Sciarid) – หรือแมลงหวี่เห็ดปีกดำ หนอนพวกนี้ลำตัวมีสีขาวใส หรืออาจมีสีเหลืองส้ม บางครั้งส่วนหัวมีสีดำ หนอนมีความยาวประมาณ 5-7 มิลลิเมตร ตัวหนอนเคลื่อนไหวได้รวดเร็วและกินจุมาก เมื่อเข้าดักแด้ใหม่ๆ จะเป็นสีขาวและสีจะเข้มขึ้นจนกลายเป็นสีดำเห็นได้ชัดเจนก่อนออกเป็นตัวแก่ ลักษณะของตัวแก่จะมีสีดำ โดยเฉพาะที่ปีก ตัวขนาดใกล้เคียงกับยุงบ้านมีขนาด 2-3 มิลลิเมตรช่วงท้องแคบ ตัวแก่ไม่ทำลายหรือกัดกินเห็ดแต่อย่างใด วงจรชีวิตทั้งหมดคือจากไข่จนออกเป็นตัวแก่ประมาณ 25 -30 วัน หนอนแมลงวันเชียริ นี้ ระบาด ทำความเสียหายในโรงเห็ดพบประมาณ 30 เคยพบทำลายในเห็ดหูหนูที่ปลูกด้วยขี้เลื่อยไม้ยางที่อำเภอแกลงจังหวัดระยอง ทำให้ดอกเห็ดเสียหาย คุณภาพและราคาต่ำลงจากเดิม 70% และพบทำลายเห็ดแชมปิญองที่ผลิตในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ทำความเสียหายจนผลผลิตลดลง 26.38-40%

(1.2) หนอนแมลงวันอริ (Phorid) – หรือแมลงวันหลังโกง ตัวแก่จะพบทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ระยะหนอนจะทำลายเส้นใยเห็ดที่กำลังติบนผิวก้อนเห็ดในถุงและมักจะเจาะเข้าไปทำลายส่วนของโคนและหมวกดอก ทำให้พรุนและเสียหายแต่ความรุนแรงพบน้อยกว่าพวกแมลงวันเชียริด

(1.3) แมลงหวี่เห็ด – เป็นแมลงสีดำมีขนาดเล็กมากคล้ายกับแมลงหวี่ที่พบตามที่อับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องส้วมที่อับลม ตัวแก่มักจะเกาะตามดอกเห็ด ถุงเห็ด ฝาเสาโรงเรือน และมักจะทำความรำคาญโดยตอมตาของผู้เข้าปฏิบัติงานในโรงเห็ดได้ ลักษณะการทำสายของหนอนจะเริ่มเจาะที่โคนดอกเห็ด โดยเฉพาะระยะก้ามปู ทำให้เห็ดแกร็นต้านสีน้ำตาลและเน่าเสียทั้งถุง การระบาดของแมลงชนิดนี้จะพบมากหลังการเพาะเห็ดได้ประมาณ 5-6 เตือน แต่ส่วนมากโดยทั่วไปพบการทำลายไม่รุนแรงมากนัก ระยะหลังๆ นี้ พบทำลายเห็ดชมปิญองพันธุ์ร้อน ซึ่งปลูกที่บางเขนอย่างรุนแรง ทำให้ดอกเห็ดฝ่อและเน่าตายในที่สุด

2. หนอนผีเสื้อ (Dasyses rugosella) – ตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางวันขนาด 8-9 มิลลิเมตร พบเกาะอยู่ตามฝาผนังโรงเรือนและปากถุงก้อนเชื้อเห็ด ปีกมีสีน้ำตาลสลับลายสีน้ำตาลดำ ปีกด้านล่างยาวกว่าปีกด้านบน ส่วนท้องสีน้ำตาลอ่อน ขณะเกาะนิ่งอยู่กับที่จะเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายหลังคา การวางไข่จะวางบนจุกสำลีปิดถุงก้อนเชื้อ ไข่เป็นกลุ่มมีเส้นใยสีครีมปกคลุม หนอนระยะวัยเล็กจะมีสีครีม ต่อมาจะเป็นสีน้ำตาลแดง ส่วนหัวและปากเป็นสีดำหรือน้ำตาลเข้มเห็นได้ชัด บนส่วนนอกด้านหลังติดส่วนหัวจะมีขีดสีน้ำตาลพาดตามขวางของลำตัว หนอนโตเต็มที่มีขนาด 15 มิลลิเมตร ระยะวัยหนอนประมาณ 14-21 วัน ลักษณะการทำลายตัวหนอนหลังจากออกมาแล้วก็จะกินอยู่บริเวณปากถุงหรือชอนไชไปตามผิวของก้อนเชื้อที่มีเส้นใยเห็ดสีขาว ทำให้เส้นใยเห็ดขาด ไม่เจริญและไม่ออกดอก หนอนบางส่วนอาจเจาะรูเข้าไปในก้อนเชื้อหรือจะชักใยรวมกับขี้เลื่อยไม้ยางพาราซึ่งเป็นส่วนประกอบของก้อนเชื้อ เพื่อทำเป็นรังห่อหุ้มตัว เมื่อก้อนเชื้อเห็ดในถุงถูกทำลายจะสังเกตเห็นเป็นขุยสีน้ำตาลเป็นทางยาวคดเคี้ยวไปมาและหากพบการทำลายอย่างรุนแรง ก็จะเห็นมูลหนอนที่ถ่ายออกมาสีน้ำตาลเต็มไปหมดเป็นบริเวณเส้นใยเห็ดเพียงเล็กน้อย การทำลายเป็นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากหากทำการป้องกันกำจัดไม่ทันเวลาซึ่งจากการศึกษาติดตามแมลงศัตรูชนิดนี้พบทำความเสียหายแก่ เห็ดนางฟ้า นางรม ถึง 40% ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์

3. หนอนผีเสื้อกินใบจาก (Lepidoptera) – ตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดกลาง สีน้ำตาล มีขนปุกปุยด้านปลายท้อง วางไข่บริเวณใบจากที่นำมาทำโรงเรือนตัวหนอนมีสีน้ำตาล หัวสีดำโต ขนาดประมาณ 10-20 มิลลิเมตร หนอนวัยแรกจะกินใบจากที่แห้งประมาณฤดูฝนหรืออากาศเริ่มชื้นจนใบจากที่นำมามุงหลังคาเริ่มเปียก ประกอบกับเห็ดที่เพาะในถุงเริ่มออกดอก หนอนชนิดนี้ก็จะเริ่มเคลื่อนย้ายลงมาทำลายเห็ด ความรุนแรงของการทำลายที่พบประมาณ 20% แต่อย่างไรก็ควรจะให้ความสนใจและคอยติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นศัตรูชนิดใหม่ที่มีบทบาท และเกษตรกรโดยทั่วไปยังจำเป็นต้องใช้ใบจากเป็นวัสดุสำหรับมุงหลังคาโรงเรือนเห็ด

4. ไรศัตรูเห็ด – เป็นศัตรูเห็ดที่มีขนาดตัวเล็กมากจนต้องอาศัยแว่นขยายเข้าช่วยจึงจะเห็นได้ชัด ตามสภาพธรรมชาติมักจะเห็นเป็นจุดเล็ก ๆ สีขาวใสอยู่กระจายเต็มไปหมดที่น่าสนใจคือการที่ไรชนิดต่าง ๆ ที่ทำลายเห็ดนั้นจะมีวงจรชีวิต (ไข่-ตัวแก่) สั้นมาก โดยใช้เวลาเพียง 4-5 วันเท่านั้น โดยทั่วไปจะพบตัวเมียมากกว่าตัวผู้ถึง 4 เท่า โดยที่ตัวเมียยังสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการออกไข่และเป็นตัว ไม่จำเป็นต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้อีกด้วย จึงทำให้ไรสามารถเกิดระบาดทำลายอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนเกิดความเสียหายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เส้นใยเห็ดกำลังแผ่ออกไป หากมีพวกไรดังกล่าวระบาดก็จะทำให้เส้นใยขาดออกจากกัน และไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ เนื่องจากไรพวกนี้ชอบทำลายกัดกินส่วนของเส้นใย

5. ศัตรูอื่น ๆ – สำหรับศัตรูนอกเหนือที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น ขณะนี้ก็นับว่ายังไม่รุนแรงและสร้างปัญหาไม่มากนัก เช่น ด้วงเจาะเห็ด, แมลงหวี่ มีบางครั้งที่เกิดการระบาดอย่างรุนแรงแต่ชั่วระยะเวลาอันสั้นก็หายไป แต่ก็ไม่ควรจะละเลยสนใจ หมั่นตรวจตราระวังอย่างสม่ำเสมอ

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร