พันธุ์

1.1 การจำแนกตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์
Purseglove และคณะ (1981) ได้ยึดหลักการจัดจำแนกของ Smith และ Heiser (1951) และได้จำแนกพริกพันธุ์ปลูกออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ C. pubescens C. baccatum C. annuum C. frutescens และ C. chinense โดยมีหลักการในการจำแนกกลุ่มต่างๆ ดังนี้

1. กลีบดอกสีม่วง เมล็ดสีดำ ใบหยักเป็นคลื่น ลำต้นและใบมีขนมาก – C. pubescens

2. กลีบดอกสีขาวหรือสีขาวอมเขียว ไม่ค่อยมีสีม่วง เมล็ดสีเหลือง ใบเรียบ ลำต้นอาจมีหรือไม่มีขน

2.1 ถ้ากลีบดอกสีขาว และมีจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลที่โคนดอกและเกสรตัวผู้มีสีเหลือง – C. baccatum

2.2 ถ้ากลีบดอกไม่มีจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลที่โคนดอก แต่เกสรตัวผู้มีสีน้ำเงินอ่อน หรือสีม่วง

1) ถ้ากลีบดอกมีสีขาวบริสุทธิ์หรือสีขาวหม่น ๆ มักไม่พบว่ามีสีม่วง มีก้านดอกเกิดเดี่ยว – C. annuum

2) ถ้ากลีบดอกสีขาวอมเขียวหรือขาวอมเหลือง ก้านดอกมักเกิดมากกว่าหนึ่งดอกที่ข้อเดียวกัน

2.1) ก้านดอกมักเกิดเป็นคู่ที่ข้อเดียวกัน ก้านผลชี้ขึ้น โดยกลีบเลี้ยงไม่เชื่อมติดกัน – C. frutescens

2.2) ก้านดอกมักเกิดเป็น 3 – 5 ดอกที่ข้อเดียวกัน และมักโน้มลงโดยมีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน – C. chinense

ข้อมูลพริกแต่ละพันธุ์มีดังนี้

Capsicum pubescens – แหล่งกำเนิดอยู่ในแถบประเทศเปรู โคลัมเบีย เม็กซิโก กัวเตมาลา และฮอนดูรัส เป็นพริกที่ปลูกบนที่สูง เนื่องจากทนต่อความหนาวได้ พริกชนิดนี้ติดผลยากเมื่อนำมาปลูกในแถบร้อนมีเนื้อหนา มีเปอร์เซ็นต์น้ำสูง แต่มีรสเผ็ด

Capsicum baccatu L. – แหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศโบลิเวีย กระจายไปยังเปรู อาร์เจนตินา บราซิลตอนใต้ ต่อจากนั้นกระจายไปยังตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา ฮาวาย และอินเดีย จนถึงยุโรป พริกชนิดนี้มีขนาดและรูปร่างลักษณะของผลแตกต่างกันออกไปหลายรูปแบบ ผลอ่อนมีทั้งสีส้มไปจนถึงสีแดง

Capsicum annuum L. – เป็นชนิดที่ปลูกมากและมีความสำคัญมากที่สุดเมื่อเทียบกับพริกชนิดอื่นๆ มีแหล่งดั้งเดิมอยู่ในอเมริกากลาง คือ เม็กซิโก และประเทศใกล้เคียง หลังจากนั้นกระจายไปยังทวีปเอเชียและแอฟริกา พริกชนิดนี้แตกต่างจากชนิดอื่น คือ ใบและต้นมีขนค่อนข้างมาก มีดอกเดี่ยวและผลเดี่ยว และมีกลีบดอกสีขาว ดอกเรียวยาวและหนา ชี้ขึ้นหรือห้อยลง ก้านดอกทู่สั้น ผลยาวประมาณ 0.8 – 2.5 เซนติเมตรมีทั้งรสเผ็ดและไม่เผ็ด ผลอ่อนมีสีเขียวหรือเหลือง ผลแก่มีสีแดง เหลือง หรือน้ำตาล

Capsicum frutescens L. – มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาได้กระจายพันธุ์ในประเทศบราซิลตอนใต้ไปถึงตอนกลางทวีปอเมริกา หมู่เกาะเวสต์อินดีส ทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย พันธุ์ที่ปลูกในอเมริกาเป็นชนิดผลโต เรียกว่า Tabasco pepper ซึ่งเป็นพันธุ์ที่รู้จักกันแพร่หลาย พันธุ์ที่นิยมปลูกในทวีปเอเชียเป็นพริกผลเล็กมีความเผ็ดมากบางแห่งใช้พริกพวกนี้ในการสกัดสาร oleoresin กลีบตอกมีสีเขียวจนถึงสีขาวอมเชียว ยาวประมาณ 6 – 10 มิลลิเมตร รูปร่างผลทั้งกลม รูปกรวย จนถึงผลยาว ปลายผลมีทั้งแหลมและพู่ ผลกว้างประมาณ 0.6 – 3.0 เซนติเมตร ยาวตั้งแต่ 1 – 8 เซนติเมตร ไม่มีผลที่ยาวเกิน 10 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวหรือเหลืองผลแก่มีสีแดง เหลืองหรือน้ำตาล เมล็ดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 – 3.0 เซนติเมตร

Capsicum chinese Jacg. – เป็นชนิดที่ปลูกมากในแถบภูเขาแอนดีสในอเมริกาได้ กระจายไปยังอาฟริกาโดยเส้นทางการค้าของชาวโปรตุเกส แต่พริกนี้ไม่เป็นที่นิยมในเอเชียแถบร้อน พริกในกลุ่มนี้ที่มีผลใหญ่เนื้อหนาใช้รับประทานสด พริกที่เนื้อบางใช้ทำพริกแห้ง ส่วนพริกผลเล็กมีกลิ่นและรสเผ็ดจัด เชื่อว่ามีรสเผ็ดที่สุดในพริกที่ปลูกทั้งหมด ในประเทศไทยพบพริกชนิดนี้อยู่ 18 สายพันธุ์ เช่น พริกขี้หนู พริกขี้หนูแดง พริกกลางพริกเล็บมือนาง พริกขี้หนูหอม พริกสวน และพริกใหญ่ เป็นตัน

1.2 การจำแนกพริกตามความเผ็ดและขนาดของผล

การจัดจำแนกพันธุ์พริกในประเทศไทย นิยมจำแนกตามความเผ็ดและตามขนาดผล โดยการแบ่งตามความเผ็ดมี 2 ประเภท คือ ประเภทที่มีรสเผ็ดกับไม่มีรสเผ็ด ส่วนการแบ่งตามขนาดของผลจะแบ่งเป็น 2 ประเภท เช่นเดียวกัน คือ พริกขนาดใหญ่ หรือพริกใหญ่ และพริกเล็กหรือพริกขี้หนู ตามรายละเอียดแสดงพันธุ์พริกต่างๆที่ปลูกในประเทศไทย โดยแบ่งตามความเผ็ดและขนาดความยาวผล

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร

Recent Posts