การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

4. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

4.1 โรคพืชที่สำคัญ

4.1.1 โรคกุ้งแห้งหรือแอนแทรคโนส (Anthracnose)

จากการสำรวจโรคกุ้งแห้งของพริกในประเทศไทยพบว่า โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อรา 3 ชนิด คือ

1. Colletotrichum piperatum ทำให้เกิดแผลชนิดวงกลมหรือวงรีรูปไข่ และแผลมีสีที่ไม่ดำมาก

2. Colietotrichum capsid แผลขยายวงกว้างออกไปไม่มีชอบเขตจำกัด จนอาจทำให้แผลมีรูปร่างไม่เป็นวงกลมหรือรูปไข่ต่อไปอีก และมีขนาดของแผลใหญ่มาก

ลักษณะอาการ อาการของโรคนี้จะเห็นได้ชัดเจนบนผลพริกที่แก่จัดหรือผลพริกสุก ระยะที่ผลพริกติดโรดได้ง่ายก็คือระยะที่ผลพริกโตเต็มที่หรือระยะก่อนที่ผลพริกจะเปลี่ยนสี ผลพริกเริ่มแรกจะเป็นจุดสีน้ำตาลช้ำและเนื้อเยื่อบุ๋มลงไปจากระดับเติมเล็กน้อย และต่อย ๆ ขยายวงกว้างเป็นแผลวงกลมหรือวงรีรูปไข่ ซึ่งมองเห็นลักษณะของเชื้อราที่เจริญภายใต้เนื้อเยื่อของพืชที่ขยายออกไปในลักษณะที่เป็นวงกลมสีดำซ้อนกันเป็นชั้นๆ ซึ่งภายในบรรจุสปอร์ของเชื้อราอยู่เต็มโดยมีขนาดแผลไม่จำกัด ทำให้ผลผลิตเน่าและจะระบาดคิดต่อกันอย่างรวดเร็ว

ช่วงเวลาระบาด ระบาดมากในระยะที่ผลพริกกำลังเจริญเติบโตในสภาพที่มีอากาศขึ้นหรือมีฝนตกชุกเชื้อราจะแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วทำให้ผลผลิตพริกเน่าติดต่อกันอย่างรวดเร็วมากกว่าในสภาพที่อากาศแห้งหรือมีฝนตกน้อยกว่า

การป้องกันกำจัด

1. คัดเลือกเมล็ดพันธุ์จากผลพริกที่ไม่เป็นโรค

2. ไม่ควรปลูกพริกแน่นเกินไป ควรเว้นระยะห่างให้มีการระบายอากาศที่ดี

3. รักษาความสะอาดในแปลงปลูก

4. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารไดเทนเอ็ม 45 เพื่อทำลายเชื้อที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์

5. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น เดอโรซาน เบนเลท 75 ซี หรืออ๊อกเทนพ่นทุกๆ 7-15 วันต่อครั้ง

6. พริกบางพันธุ์ที่มีความต้านทานสูง เช่น พริกเหลืองและพริกหยวก ควรจะใช้เป็นพันธุ์ต้านทานได้

 

4.1.2 โรคเหี่ยวเหลือง (Fusarium wilt)

สาเหตุ เกิดจากเชื้อราฟูซาเรียม (Fusarium oxysporum) โรดนี้หลังจากเกิดครั้งหนึ่งแล้วเชื้อจะอาศัยอยู่ในดินปลูกตลอดไปโดยไม่มีกำหนด โดยอาศัยเกาะกินเศษซากพืชและอินทรียวัตถุอื่นๆ ในดิน หากปลูกพืชซ้ำลงไปก็จะเกิดโรคขึ้นติดต่อกันไปได้เรื่อยๆ

ลักษณะอาการ ใบแก่ที่อยู่ตอนล่างมีอาการสีเหลือง ต่อมาใบที่อยู่ถัดขึ้นมาจะมีสีเหลืองมากขึ้นแล้วร่วง ตันพริกจะแสดงอาการเหี่ยว ในต้นที่ผลิดอกออกผล ดอกและผลอ่อนจะร่วงหล่นพร้อมใบพริก และจะยืนต้นตายโดยที่ส่วนยอดยังมีใบเขียวอยู่

ช่วงเวลาระบาด ส่วนใหญ่เชื้อจะติดไปกับดิน น้ำ จอบ ไถ คราด ล้อรถยนต์ หรือรถแทรกเตอร์ หรือติดไปกับต้นกล้า ช่วงเวลาที่ระบาดสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงและดินมีความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด

1. ปรับปรุงดินให้มีความเป็นกรดเป็นด่าง ระหว่าง 6 – 6.8 โดยการใส่ปูนขาว อัตราส่วน 100 – 200 กิโลกรัม/ไร่

2. ปลูกพืชหมุนเวียนอื่นๆ ที่ไม่เป็นโรคนี้และพืชตระกูลถั่วอื่นๆ

3. ถ้าพบมีเพียง 1-2 ต้น ก็ให้ถอนทำลายโดยการเผาไฟ แล้วใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราในดิน เช่น เทอราคลอ เทอราโซล หรือเทอราคลอซุปเปอร์เอ็กซ์ ผสมน้ำราดลงไปในดิน

 

4.1.3 โรคเหี่ยวเขียว (Bacterial wilt)

สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas solanacearum

ลักษณะอาการ อาการต้นพริกเหี่ยวทั้งต้น ในวันที่มีอากาศร้อนจัดและอาจฟื้นคืนใหม่ในเวลากลางคืนต้นพริกจะมีอาการเช่นนี้อยู่ 2 – 3 วัน แล้วจะเหี่ยวตายโดยไม่พื้น การเหี่ยวของตันพริกที่เป็นโรคนี้จะไม่แสดงอาการใบเหลืองของใบที่อยู่ตอนล่างๆ มาก่อนเลย ถ้าตอนต้นที่มีอาการดังกล่าวมาดูจะเห็นว่ารากเน่า และเมื่อเฉือนผิวของลำต้นใกล้ระดับคอดินดู จะพบว่าเนื้อเยื่อที่เป็นท่อลำเลียงอาหารช้ำเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนซึ่งแตกต่างจากสีของเนื้อเยื่อที่ดีของต้นพริก

การป้องกันกำจัด

1. ป้องกันไม่ให้ต้นพริกมีบาดแผลบริเวณคนต้นและราก โดยการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดหนอน

2. เก็บต้นพริกที่มีอาการเหี่ยว เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเผาทำลาย

3. ปลูกพืชหมุนเวียน โดยปลูกพืชตระกูลอื่นที่ต้านทานโรคนี้ 2 ปี เช่น ข้าวโพด ถั่วต่างๆ

4. ในที่ที่ตรวจพบว่ามีไส้เดือนฝอย ซึ่งเป็นศัตรูชนิดหนึ่งของพืชอาศัยอยู่ในดินแล้วทำให้เกิดโรค

เช่น โรครากปมหรือกัดกินทำลายรากให้เป็นแผลเป็นช่องทางให้เชื้อแบคทีเรียตามเข้าไปได้ง่าย จำเป็นจะต้องป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยให้หมดสิ้นไป โดยใช้ยาป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอย

โรคเหี่ยวของพริกเป็นโรคหนึ่งที่ใช้วิธีป้องกันกำจัดโรคโดยการใส่สารป้องกันกำจัดเชื้อราลงไปในดินจะไม่ได้ผลคุ้มค่าและไม่นิยมกระทำกัน การใช้สารเคมีจะทำกันเฉพาะโรคที่มีเกิดในกระบะเพาะหรือในแปลงเพาะกล้าเท่านั้น จากการสำรวจโรคพริกพบว่าแปลงที่เป็นโรคเหี่ยวมากๆ ส่วนมากจะเป็นแปลงที่มีดินค่อนข้างเป็นกรด ไม่มีอินทรียวัตถุในดินหรือมีอินทรียวัตถุน้อย ควรจะใส่ปูนขาวปรับดินให้มีความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 6 – 6.8 ควรใส่ปุ๋ยดอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดให้มากๆ เพื่อช่วยให้มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ช่วยทำลายเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคให้ลดน้อยลงบ้าง ปุ๋ยที่ใช้ เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและปุ๋ยยูเรียจะช่วยให้ดินเป็นกรดมากขึ้น สภาพดินเป็นกรดเหมาะต่อการเจริญเติบโตและการระบาดของโรคนี้มาก เกษตรกรที่ไม่สามารถเลิกปลูกพริกชั่วคราวเพื่อปลูกพืชหมุนเวียนชนิดอื่นที่ไม่เป็นโรคหรือทนโรคควรพิจารณาให้มากถึงการใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก

 

4.1.4 โรคใบจุด (Leaf spot)

โรคใบจุดเกิดจากเชื้อรา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

สาเหตุที่ 1 เกิดจากเชื้อรา Cercospora sp.

ลักษณะอาการ อาการเริ่มแรกจะเป็นจุดช้ำน้ำขนาดเล็ก ซึ่งจะขยายกว้างขึ้นจนแผลมีขนาด

เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 4 มิลลิเมตร เนื้อเยื่อตรงกลางแผลจะแห้งบางเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาอ่อน ขอบแผลมีสีน้ำตาลแก่ หรือน้ำตาลอมแดง ตรงกลางแผลมีกระจุกของราสีเทาหรือสีดำอ่อนๆ ขึ้นเป็นกลุ่มๆ ซึ่งมองเห็นได้ยากด้วยตาเปล่าต้องใช้แว่นขยายช่วยจึงจะมองเห็นได้ชัด แผลดังกล่าวนี้อาจจะขยายมารวมติดกันกลายเป็นแผลใหญ่ทำให้แผลมีรูปร่างไม่แน่นอน เนื้อเยื่อตรงกลางแผลจะแห้งและหลุดไปก่อนกำหนดทำให้ต้นไม่สมบูรณ์ ผลผลิตลดน้อยลง

การป้องกันกำจัด ควรฉีดยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนเซท-ดี, เดอราซาน และ เบนเลท

อย่างใดอย่างหนึ่ง ทุก 5 – 7 วัน

สาเหตุที่ 2 เกิดจากเชื้อรา Alternaria sp.

ลักษณะอาการ เริ่มแรกจะเป็นแผลวงกลมสีน้ำตาล แผลด้านหลังมักมีสีอ่อนกว่าด้านท้องใบแผล

ขยายวงกว้างออกไปจนเป็นแผลใหญ่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแผลประมาณครึ่งเซนติเมตรบางแผลจะมีขอบสีเหลืองใบที่มีแผลใหญ่แต่เพียงแผลเดียวก็อาจจะมีใบเหลืองและร่วงได้ เชื้อรานี้เวลาเจริญออกไปตามแผลจะเห็นเป็นวงสีน้ำตาลซ้อนกัน ถ้าอากาศชื้นบนวงสีน้ำตาลนี้จะมีสปอร์ของเชื้อราสร้างขึ้นปกคลุมบนแผลด้านท้องใบมองดูเป็นผงสีน้ำตาลไหม้

การป้องกันกำจัด ถ้ามีการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราเพื่อป้องกันโรคอื่นๆ อยู่แล้วก็มีผลในการป้องกันโรดนี้ตัวย สารเคมีที่ใช้ได้ผลที่จะใช้ป้องกันโรดนี้ก็คือ เดอโรซาน และรอฟรัล

 

4.1.5 โรคใบหงิกหรือโรคใบด่าง

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด เช่น Cucumber Mosaic Virus (CMV)

ลักษณะอาการ ใบพริกมีอาการใบหงิกหรือด่าง โดยเฉพาะใบอ่อนมีอาการมากกว่าใบแก่ ใบมีขนาดเล็กลง ใบด่างเกาะเป็นกระจุกหรืออาจจะเล็กลงจนดูคล้ายเส้นเชือกช่วงเวลาระบาด สามารถระบาดได้ตลอดฤดูปลูก

การป้องกันกำจัด

1. ป้องกันเพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน และไรขาว เพราะเป็นตัวนำโรคไวรัส

2. ต้นที่แสดงอาการต้องกำจัดโดยถอนและเผาทิ้ง ไม่มีวิธีการป้องกันและรักษา ถ้าพืชแสดงอาการแล้ว

3.รักษาต้นพริกให้แข็งแรง โดยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ให้ปุ๋ยและน้ำอย่างถูกต้องและเพียงพอรวมทั้งตรวจดูแปลงอย่างสม่ำเสมอ

 

4.1.6 โรคกล้าเน่าตาย (Dampling off)

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pythium sp. Phytopthora sp. Fusarium sp. และ Rhizoctonia sp.

ลักษณะอาการ อาการทั่วไปที่เห็น คือตันกล้าเหี่ยวแห้งตาย แต่เนื่องจากสาเหตุของโรคมีหลายชนิด เช่น อาจมีแผลที่ใบเลี้ยง หรือส่วนบนของลำต้น หรือรากก่อนแล้วต้นจึงจะตาย หรือถ้าไม่เป็นปกติ เชื้อโรคบางชนิดอาจจะติดต้นที่ไม่ตายไประบาดลุกลามต่อไปในไร่ทำให้เสียหายและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ต้นกล้าอาจจะตายตั้งแต่ยังไม่โผล่ขึ้นมาเหนือดิน ถ้ามีเชื้อโรคติดมากับเมล็ดพันธุ์

การป้องกันกำจัด เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่จะติดมากับเมล็ดพันธุ์และเชื้อโรคที่อยู่ในดิน ควรทำการป้องกันกำจัด ดังนี้

1. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา หลังจากล้างเมล็ดพันธุ์ ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดเทนเอ็ม 45 เพื่อป้องกันเชื้อราในดินเข้าทำอันตรายเมล็ดในขณะที่มีการงอก

2. เมื่อต้นกล้างอกขึ้นมาเหนือพื้นดินแล้ว ต้องรีบฉีดสารป้องกันกำจัดเชื้อราทันที และจะต้องฉีดพ่นทุก 5 – 7 วันต่อครั้ง เช่น ไดเทนเอ็ม 45 หรือเทอราคลอ นอกจากนี้ควรฉีดพ่นสารเคมีลงไปบนผิวดินด้วย ไม่ควรใช้สารที่เป็นสารประกอบพวกทองแดง เพราะมักเกิดอันตราย โดยทำให้ยอดและใบไหม้หรือถ้าใช้น้ำปูนใสรดแทนน้ำในแปลงเพาะกล้าจะทำให้ไม่ต้องใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราเลย

3. การใช้เชื้อรา trichoderma โดยนำมาผสมกับรำข้าวและปุ๋ยอินทรีย์ ในอัตราส่วนหัวเชื้อไตรโครเดอร์มา : รำข้าว : ปุ๋ยอินทรีย์ = 1 กิโลกรัม : 5 กิโลกรัม : 25 กิโลกรัม ให้ผสมหัวเชื้อไตรโครเดอร์มาคลุกเคล้ากับรำข้าวให้ดีเสียก่อน แล้วจึงนำไปผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ จากนั้นนำมารองกันหลุมก่อนปลูก

 

4.1.7 โรคยอดและกิ่งแห้ง (Choanephora blight)

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Choanephora cucurbitarum Thaxt.

ลักษณะอาการ ส่วนยอด เช่น ใบอ่อน ดอก และผลอ่อน จะเน่าเป็นสีน้ำตาลไหม้ ถ้าอากาศมีความชื้นสูงมากๆ จะเห็นเส้นใยราสีขาวหยาบๆ ขึ้นเป็นกระจุกบนเนื้อเยื่อสีน้ำตาล เส้นใยเหล่านี้เจริญตั้งตรงขึ้นมาจากใบมีลักษณะเป็นเส้นสั้น ๆ ที่ปลายเส้นใยโปร่งออกไปเป็นก้อนสีดำเล็กๆ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าถ้าอากาศแห้ง เส้นใยเหล่านี้จะแห้งหลุดหายไป ยอดพริกจะแตกยอดไม่ได้

การป้องกันกำจัด

1. ในระยะที่มีฝนตกชุกควรจะพ่นสารเคมีป้องกันยอดอ่อนไว้ สารเคมีที่ใช้ คือ ซาพรอลและพรอนโด้การพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราเป็นประจำทุกๆ วัน 5 – 7 วัน จะช่วยป้องกันกำจัดโรคนี้ได้

2. ปลูกพืชหมุนเวียนที่เป็นธัญพืช

3. ทำความสะอาดแปลงและทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรค

4. อย่าให้แปลงปลูกมีความชื้นสูงเกินไป และหลีกเลี่ยงการพ่นน้ำแบบฝอย

 

4.1.8 โรคพริกเกิดจากไส้เดือนฝอย

สาเหตุ เกิดจากไส้เดือนฝอย Meloidogyne spp.

ลักษณะอาการ พริกที่ถูกไส้เดือนฝอยรากปมเข้าทำลายในระยะตันกล้า จะทำให้ตันกล้าแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต เมื่อย้ายกลัาที่มีใส้เดือนฝอยอยู่ในรากไปปลูก หรือปลูกในแหล่งที่มีไส้เดือนฝอยหนาแน่น จะทำให้กล้าพริกมีเปอร์เซ็นต์ตายมาก

การป้องกันกำจัด

1. ในที่ที่สามารถจะทำให้น้ำท่วมดินได้ก็ควรจะทดน้ำให้ท่วมดินเสียระยะหนึ่งเพื่อฆ่าไส้เดือนฝอย

2. ตากดินไว้ระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้ไข่และตัวอ่อนของไส้เดือนถูกแดดเผาตาย

3. ในแปลงเพาะอาจจะใช้วิธีฆ่าไส้เดือนฝอยโดยใช้ความร้อนช่วย เช่น อบด้วยไอน้ำร้อนหรือใช้น้ำร้อนรดลงไปการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยมีหลายชนิด เช่น นีมากอน เมธิลโบรไมค์ ดลอโรบิดริน เอทธิลีนไตโบรไมต์ แต่วิธีการใช้สารเคมีเหล่านี้ค่อนข้างยุ่งยากและมีอันตรายต่อผู้ใช้มากเพราะเป็นแก๊สที่ระเหยง่ายในปัจจุบันนี้มีสารเคมีใช้รมดินที่ผลิตออกมาใหม่และใช้สะดวกขึ้น โดยการราดลงไปในดินตามอัตราที่บอก และกลบดินทิ้งไว้ระยะหนึ่ง ก็สามารถลดปริมาณไส้เดือนฝอยได้ อย่างไรก็ตาม การใช้สารเมีป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยทุกชนิดจะให้ผลคุ้มค่าเฉพาะในแปลงเพาะกล้าเท่านั้น

4. ปลูกพืชหมุนเวียนสลับในแปลงปลูกพริก ไม่ควรปลูกพริกหรือพืชในตระกูลเดียวกับพริก เช่นมะเขือ ยาสูบ มันฝรั่ง ติดต่อกัน

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร

Recent Posts