การใช้ประโยชน์จากเฮมพ์ในประเทศไทย

ประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากเฮมพ์เฉพาะด้านสิ่งทอเท่านั้น

โดยชาวเขาชนเผ่าม้งจะปลูกและแปรรูปเฮมพ์ตามภูมิปัญญาตามวิถีของชนเผ่าม้ง ส่วนมากใช้ประโยชน์จากเปลือกลำต้นที่มีเส้นใยคุณภาพดี จึงนำมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่มและใช้สอยในครัวเรือน เช่นชุดประจำชนเผ่า เส้นด้ายสายสิญจน์ สำหรับผูกข้อมือหรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทำเป็นเชือกหน้าไม้ หรือเชือกใช้สอยทั่วไป และการใช้ประโยชน์ในอดีตนั้นยังผิดกฎหมาย เพราะ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ หลังจากที่ สวพส.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็มีทำให้มีการแก้ไขกฎหมายและ พ.ศ.2522 จัดว่าเฮมพ์เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เช่นเดียวกับกัญชา จำเป็นต้องขออนุญาตต่อกระทรวงสาธารณสุขได้เฉพาะเพื่อการศึกษาวิจัยเท่านั้น ซึ่ง สวพส.ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ได้ศึกษาวิจัยตั้งแต่ ปี พ.ศ.2549 อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการแก้ไขกฎหมายและทำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นตามลำดับ

ปัจจุบันทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากเฮมพ์ได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้มีการประกาศแก้ไขกฎหมายออกมาตามลำดับ อย่างไรก็ตามการผลิตหรือปลูกยังคงต้องขออนุญาตต่อกระทรวงสาธารณสุขก่อนการปลูกหรือผลิต ซึ่งจะต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาอนุญาตตั้งแต่ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด เข้าไปสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อการพิจารณาอนุญาตเป็นรายๆ ไป และใช้เวลาในดำเนินการประมาณ 5-6 เดือน ดังนั้นผู้ที่สนใจควรศึกษาข้อมูลและดำเนินการขออนุญาตล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี

พ.ศ. 2556 กระทรวงสาธารณสุข ประกาศยกเว้นส่วนของ เปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้งและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้ง (8 ก.ค. 2556) ทำให้สามารถซื้อขายวัตถุดิบ เปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้งและผลิตภัณฑ์ ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

พ.ศ. 2556 กระทรวงสาธารณสุข ประกาศยกเว้นส่วนของ เปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้งและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้ง (8 ก.ค. 2556) ทำให้สามารถซื้อขายวัตถุดิบ เปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้งและผลิตภัณฑ์ ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

พ.ศ. 2562 มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 30 สิงหาคม 2562 ได้ประกาศยกเว้นส่วนต่างๆ ของกัญชง (Hemp) ออกจากยาเสพติดดังนี้

  1. แคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) ที่สกัดจากกัญชง ซึ่งมีความบริสุทธิ์ 99 % และมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกิน 0.01 %
  2. สารสกัดหรือผลิตภัณฑ์จากสารสกัดที่มี แคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) และ แคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกิน 0.2%
  3. เมล็ดกัญชง (Hemp seed) ที่ไม่งอก หรือไม่มีชีวิต และน้ำมันจากเมล็ดกัญชง เพื่อใช้เป็นอาหาร
  4. น้ำมันจากเมล็ดกัญชงเพื่อใช้เป็นเครื่องสำอาง

ที่มา : สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

Recent Posts