การแปรรูป

การทำแห้งขมิ้นชันทั้งหัว
– ต้มหรือนึ่งเหง้าสด นาน 1 – 2 ชั่วโมง เพื่อให้เซลล์และเนื้อเยื่อตาย ตากแดด 6 – 8 วัน หรือเป่าลมร้อน 65 – 70 องศาเซลเซียส ให้มีความชื้นคงเหลือเพียง 8 – 10%
– ทำความสะอาดเหง้า ปอกเปลือกหรือขัดผิวภายนอกของเหง้า
– คัดแยกชนิดและขนาดก่อนบรรจุขาย
– ผลผลิตขั้นสุดท้ายจะเหลือประมาณ 15 – 25% ของน้ำหนักเหง้าสด

การทำขมิ้นชันแห้งแบบชิ้น
– หันหรือฝานขมิ้นชัน โดยใช้มีดหรือเครื่องหั่น
– วางบนถาดหรือตะแกรง เกลี่ยให้บาง
– นำไปอบโดยใช้เครื่องอบแห้งแบบอุโมงค์ ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8-12 ชั่วโมง หรือนำไปตากแดด 3 วัน และอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง
– อัตราการทำแห้ง ขมิ้นสด : ขมิ้นแห้ง เท่ากับ 8:1 ในการทำแห้งขมิ้นชัน อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ต้องสะอาด ลานตากผลผลิตต้องยกพื้นสูง มีหลังคาหรือวัสดุสำหรับคลุมผลผลิต เช่น ผ้าขาวบาง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยง ฝุ่นละออง สิ่งสกปรกต่างๆ และป้องกันผลผลิตปลิวเนื่องจากแรงลม แล้วนำขมิ้นชันที่แห้งสนิทมาบดให้เป็นผง โดยใช้เครื่องบดที่สะอาด ขมิ้นแห้ง 1 กิโลกรัม จะได้ขมิ้นผง 0.8 กิโลกรัม

การกลั่นน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชัน
– นำเหง้าขมิ้นชันมาหั่นเป็นชิ้นบางๆ เพื่อให้ไอน้ำผ่านได้ง่าย ได้น้ำมันที่มีคุณภาพและ
ปริมาณมาก
– ใส่ขมิ้นชันที่เตรียมไว้ลงในหม้อกลั่น และใช้วิธีการกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ (water and
steam distillation)
– อุณหภูมิที่ใช้ในการกลั่น ระหว่าง 150 – 200 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 8 – 10
ชั่วโมง
– อัตราการกลั่นน้ำมันหอมระเหย ใช้ขมิ้นสด 1.000 กิโลกรัม ได้น้ำมันขมิ้นชัน 2 กิโลกรัม

การบรรจุและการเก็บรักษา
– บรรจุขมิ้นชันที่แห้งแล้วในภาชนะที่สะอาด แห้ง และปิดให้สนิท เช่น บรรจุในถุง/
พลาสติกใส มัดปากถุงให้แน่น แล้วบรรจุในถังพลาสติกที่มีฝาปิด หรือบรรจุน้ำมันขมิ้นชันในขวดแก้วปิดฝาให้สนิทเก็บในที่แห้ง สะอาด อากาศถ่ายเทได้สะดวก
– ไม่ควรวางวัตถุดิบขมิ้นชันให้สัมผัสกับพื้นโดยตรง ควรเก็บไว้บนชั้นวางหรือยกพื้น
– นำวัตถุดิบขมิ้นชันออกมาผึ้งในที่ร่ม ทุก 3 – 4 เดือน
ไม่ควรเก็บวัตถุดิบขมิ้นชันไว้นาน เนื่องจากปริมาณน้ำมันหอมระเหยจะลดลงประมาณ
25% เมื่อเก็บไว้นาน 2 ปี

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร

Recent Posts