ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะใบกวาวเครือขาวชนิดฝักมีขน (จ.เพชรบุรี)

ลักษณะใบกวาวเครือขาวชนิดฝักไม่มีขน (จ.เพชรบุรี)

ใบ – เป็นใบประกอบแบบขนนกมีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับก้านใบบาวประมาณ 8.5 – 32.0 ซม. โดยก้านใบและปลายยอดสีเขียวถึงสีม่วง ใบย่อยที่โคนรูปไข่หรือไข่กลับ กว้างตั้งแต่ 6 – 16 ซม. ยาว 7 – 24 ซม. ก้านใบย่อยยาว 0.3 – 0.7 ซม. โคนใบรูปลิ่มหรือมน ขอบใบเรียบและหยัก ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม แกนกลางยาว 1.5 – 5.0 ซม. เนื้อใบบางถึงหนา พบขนสั้นประปราย เส้นแขนงใบข้างละ 5 – 7 เส้น คู่แรกออกจากโคนใบ หูใบย่อยเรียวแคบกว้าง 1 มม. ยาว 5 มม. พบรูปร่างของใบแตกต่างกันไป 4 แบบ กวาวเครือเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง หรือไม้พุ่มรอเลื้อยพาดพันต้นไม้ใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ มีอายุหลายปี มีลักษณะลำต้นเกลี้ยง กิ่งอ่อน ยอดอ่อน ก้านช่อดอก และกลีบเลี้ยงมีขนสั้นๆ สีน้ำตาลอ่อน

ลักษณะช่อดอกและดอกย่อยที่แตกจากกิ่งดอก
(A=กลีบบนและเกสรตัวผู้ B=กลีบคู่กลาง C=กลีบคู่ล่าง)


ช่อดอกชนิดฝักมีขน


ช่อดอกชนิดฝักไม่มีขน

ดอก – มีลักษณะเป็นช่อเดี่ยว และบางช่อดอกมีช่อดอกแยกออกตามกิ่งดอก ตั้งแต่โคนถึงกลางช่อดอกอีกประมาณ 3-5 ช่อดอก โดยทั่วไปดอกจะออกระหว่างต้นกับกิ่ง (หรือระหว่างใบกับต้น) ประมาณ 3-5 ช่อต่อข้อ โดยช่อดอกจะออกเกือบทุกข้อ ช่อดอกปกติมีความยาวตั้งแต่ 20 ซม. ถึง 150 ซม. ช่อดอกเป็นแบบกระจะ ดอกย่อยมีลักษณะคล้ายดอกถั่วมีสีน้ำเงินอมม่วง ม่วงอ่อนและสีขาวอมม่วง ออกดอกเป็นกระจุกๆ ละ 2-5ดอก มีจำนวนดอกย่อยในแต่ละช่อดอก ตั้งแต่ 30 ถึงมากกว่า 200 ดอก ขึ้นอยู่กับขนาดของต้นก้านดอกย่อยยาว 0.2-0.4 ซม. สีน้ำตาลปนม่วง มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบบน 1 กลีบ (ค่อนข้างใหญ่) กลีบคู่กลางและคู่ล่างเล็กกว่า สีน้ำเงินอมม่วงกลีบคู่ล่าง สีน้ำเงินอ่อนปนขาว มีเกสรตัวผู้ 10-12 อันติดกัน เกสรตัวเมียหรือรังไข่อยู่ภานในวงเกสรตัวผู้

ลักษณะฝักและเมล็ดกวาวเครือขาวชนิดฝักมีขน กว้าง 0.5-0.9 ซม. จำนวนเมล็ดต่อฝักเท่ากับ 3-7 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะค่อนข้างกลม สีน้ำตาล มีลวดลาย ผิวด้าน

ลักษณะฝักและเมล็ดกวาวเครือขาวชนิดฝักไม่มีขน

ฝักและเมล็ด – ฝักมีลักษณะเป็นฝักแบนรูปขอบขนานสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่อแก่ ผิวมีขนประปราย ขนาดของฝักมีขน ยาวประมาณ 3.5-8.5 ซม. กว้าง 0.5-7.0 ซม. จำนวนเมล็ดต่อฝัก ประมาณ 2-6 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดค่อนข้างกลมแบบ สีน้ำตาลแดง และน้ำตาลปนเขียวมีลวดลาย ลักษณะของเมล็ดค่อนข้างด้าน ฝักเมื่อแก่มีสีน้ำตาล รูปร่างของฝักแบน ผิวของฝักมีรอยย่นค่อนข้างชัดเจน ผิวเกลี้ยง ขนาดของฝักยาวประมาณ 3.10-12.5 ซม.

รูปร่างและลักษณะหัวใต้ดินของกวาวเครือขาว


วงการเจริญเติบโตของกวาวเครือขาว

หัว – เป็นหัวใต้ดินมีขนาดใหญ่ค่อนข้างกลมรีและคอดยาวเป็นตอนต่อเนื่องกัน หัวกลมที่พบมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5-25 ซม. ลักษณะของหัวโดยทั่วไปมีรูปร่างและขนาดไม่แน่นอน จากการสำรวจและวิจัยพบลักษณะของหัวหลายรูปแบบ เช่น กรม รี ยาวรีและแบน ส่วนผิวของหัวมีทั้งเรียบ เป็นคลื่น หรือจีบ เมื่อผ่าหัวกวาวเครือจะพบเนื้อสีขาวถึงสีนวล มีเส้นใยและมีชั้นวงเนื้อซึ่งสามารถเทียบเคียงกับวงของการเจริญเติบโต ของชั้นเนื้อไม้ในต้นไม้ใหญ่ ซึ้งใช้ชี้วัดอายุหัวได้ หัวกวาวเครือขาวมีฤทธิ์ทางยามาก ส่วนใหญ่นิยมขุดหักวาวเครือไปใช้ในช่วงผลัดใบ (ฤดูแล้ง)

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร

Recent Posts