ประโยชน์ทางยา

ประโยชน์ทางยา

ส่วนที่ใช้ : เหง้าแก่ ราก

ช่วงเวลาที่เก็บยา : เหง้า เก็บเมื่อดันเหนือดินแห้งโทรมประมาณเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์รากเก็บขณะที่กำลังมีการเจริญเติบโตของต้น

สรรพคุณ : เหง้า ช่วยขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ แก้คลื่นใส้อาเจียน แก้หอบไอ บรรเทาหวัด ขับเสมหะ แก้บิด เจริญธาตุ ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยขยายหลอดเลือดใต้ผิวหนัง สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ต้านแบตทีเรียที่ทำให้เกิอหนอง ขับน้ำดี ขับลม และกระตุ้นการบิบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้

ข้อควรระวัง : น้ำขิงที่เข้มข้นมาก ๆ จะออกฤทธิ์ตรงกันข้าม คือระงับการบีบตัวของลำไส้ ควรใช้ในปริมาณที่พอดี

ราก : เป็นยาทำให้ผิวหนังสดชื่น

รสทางยา : รสหวานเผ็ดร้อนขม

ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน : เหง้าสด ตำคั้นน้ำผสมกับน้ำมะนาวเดิมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ เหง้าแก่ ขนาดเท่าหัวแม่มือ (5 กรัม) ทุบหรือหั่นบาง ๆ หรือทำแห้งบดเป็นผง ชงน้ำร้อนหรือต้มเอาน้ำดื่มแก้คลื่นไส้อาเจียน ขับลม จุกเสียดแน่นเฟ้อ

 

ประโยชน์ทางอื่น

ใบอ่อน : ใช้เป็นผักกินกับสัมตำ ซุปหน่อไม้ ข้าวยำ

เหง้าอ่อน : ใช้สดปรุงอาหาร เป็นส่วนผสมแต่งกลิ่น กลบรส เก็บรักษาถนอมอาหารไว้ใช้ได้นานโดยทำเป็นขิงดอง

เหง้าแก่ : ใช้เป็นเครื่องเทศ ทำเครื่องดื่ม ใช้ผลิลเบียร์และไวน์จากขิง(ชาวจีน) แต่งกลิ่นกลบรสเก็บรักษาไว้ใช้ได้นาน โดยทำเป็นขิงแห้ง หรือขิงผง หรือสกัดเก็บในรูปน้ำมันหอมระเหย และสารสกัดจากขิงนำไปทำยาต่าง ๆ เช่น ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ยาแก้เมารถเมาเรือ และผสมในยาสีฟันเป็นต้น

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร

Recent Posts