การใช้ประโยชน์จากกระท่อม

การใช้ประโยชน์จากกระท่อม : จากงานวิจัยพบว่าในใบกระท่อมทำปฏิกิริยากับร่างกายมีผลต่อเซลล์ประสาทบางชนิดในร่างกายในการรับรู้ความเจ็บปวดถูกนำมาใช้รักษาอาการเหล่านี้ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น อาการปวดที่ไม่พึงประสงค์เป็นผลจากการบาดเจ็บทางร่างกาย เนื้อเยื่อ ปวดหลัง ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น อาการปวดที่เกิดจากภาวะเรื้อรัง เช่น โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม มะเร็ง เบาหวาน โรคข้ออักเสบ เป็นต้น โดยไม่คำนึงถึงที่มาความเจ็บปวดจะส่งผลต่อร่างกายทั้งทางร่างกายและจิตใจ ช่วยรักษาอาการไอ, ช่วยลดการหลั่งกรด, ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก,ใบกระท่อมช่วยให้มีสมาธิและระงับประสาท,แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ปวดเบ่ง แก้บิด, แก้ปวดฟัน,ทำให้นอนหลับ และระงับประสาท,แก้ปวดเมื่อยร่างกาย,ช่วยให้ทํางานทนไม่หิวง่าย,ใช้ใบกระท่อมเพื่อระงับอาการกล้ามเนื้อกระตุก,เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ,นำไปใช้บรรเทาอาการปวดแทนมอร์ฟีน โดยมีความแรงต่ำกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่า และมีข้อดีกว่ามอร์ฟีนอยู่หลาย ประการ เช่น กระท่อมไม่กดระบบทางเดินหายใจ ไม่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ใช้บำบัดอาการติดฝิ่นหรือมอร์ฟีนได้,ใช้บำบัดผู้ติดยาเสพติด

การใช้รักษาอาการท้องร่วง ปวดท้อง
– เคี้ยวใบกระท่อมให้ละเอียด ดื่มน้ําตาม
– ต้มใบกระท่อม เกลือ น้ําตาลทรายแดง กินแก้ปวดท้อง
– เปลือกต้นกระท่อม เปลือกต้นสะเดา เปลือกต้นมะขาม หนักอย่างละ 50 กรัม หัวขมิ้นชัน (แก่) หัวกระทือ (แก่) อย่างละ 1 หัว เผาไฟพอสุก ต้มรวมกับน้ําปูนใส น้ํา ธรรมดาอย่างละเท่าๆ กัน รับประทานครั้งละ 2-3 ช้อนแกง เมื่อหายจึงหยุด

รักษาโรคเบาหวาน – ใช้กระท่อมทั้ง 5 (ใบ กิ่ง เปลือกต้น รากเนื้อไม้ หรือใช้ต้นกระท่อมต้นเล็ก สูงประมาณ 1 ศอก 1 ต้น) สับใส่หม้อตามวิธี รับประทานครั้งละ 3-5 ซ้อนแกง เช้า-เย็น
– เคี้ยวใบกระท่อม วันละ 1 ใบ นาน 41 วัน
– ต้มใบกระท่อม หญ้าหนวดแมว ไม้ค้อนตีนหมา อย่างละเท่ากัน ต้มน้ํา 3 เอา 1 ดื่มครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ เช้า-เย็น
– ใบกระท่อม อินทนินน้ํา กระเทียมต้น กระเทียมเถา ต้มน้ําดื่ม

แก้ปวดเมื่อย – เถาวัลย์เปรียง มะคําไก่ มะแว้งต้น มะแว้งเครือ เถาโคคลาน เถาสังวาล พระอินทร์ หญ้าหนู ต้นผักเสี้ยนผี แก่นขี้เหล็ก ใบมะกา อย่างละ 1 ส่วน เนื้อในฝัก ราชพฤกษ์ 5 ฝัก ใบกระท่อม 2 ส่วน เถากําแพงเจ็ดชั้น 3 ส่วน ต้มตามวิธี ใช้รับประทาน ก่อนอาหาร เช้า-เย็น ครั้งละ ครึ่ง-1 ถ้วยกาแฟ

แก้ไอ – ใช้ใบสด 1-2 ใบ ต้มกับน้ําตาลทรายแดง ดื่มแก้ไอ หรือเคี้ยวใบสด คายกาก และดื่มน้ําตามมากๆ

ขับพยาธิ – ใช้ใบสดขยี้กับปูน (กินหมาก) ทาท้อง ฯลฯ

ใบกระท่อมทําให้ท้องผูก และวิธีการแก้ไขอาการข้างเคียงคือการใช้ร่วมกับสมุนไพรที่มีคุณสมบัติระบายท้อง เช่น ชุมเห็ดเทศ เป็นต้น ส่วนอาการมึนศีรษะ หลังเคี้ยวใบกระท่อม ก็แนะนําให้ดื่มน้ํามากๆ สำหรับตำรับยา นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ กล่าวว่าพืชกระท่อมใช้ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ราก ต้น กิ่งก้าน ใบ ดอก และผล สามารถนำมาปรุงยาได้หมด แต่หากเป็นตำราหลวง จะใช้ใบเป็นหลัก สาเหตุเพราะใบมีสาร “ไมทราไจนีน” อยู่มาก

Recent Posts