สรรพคุณทางยา : กระท่อมเป็นพืชที่ใช้เข้าเป็นตัวยาในตำรับพวกประเภทยาแก้ท้องเสีย ปวดเบ่ง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ท้องเสีย ท้องเฟ้อ ท้องร่วง ทาให้นอนหลับ และระงับประสาท ในมุมมองของแพทย์แผนไทยส่วนใหญ่ จะนาพืชใบกระท่อมมาใช้เป็นยารักษาแก้ท้องร่วง ในสูตรยาของหมอพื้นบ้านหรือหมอแผนโบราณ เช่น ตารับยาประสะกระท่อม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาขนาดนี้แล้ว เพราะมียาแผนปัจจุบันและแผนโบราณให้ผลเท่าเทียมหรือดีกว่าอีกทั้งแม้ใบกระท่อมให้ผลการออกฤทธิ์ที่อาจมีประโยชน์ทางยาได้ แต่ทาให้เสพติดและมีผลเสียต่อสุขภาพ หากใช้ติดต่อกันนานๆ การนำไปใช้ในทางที่ผิด ปัจจุบันใบกระท่อมมีปัญหาการแพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นและนักเรียน อาจเนื่องมาจากมีราคาถูกและทาให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มได้เช่นเดียวกับสารเสพติดอื่น โดยมักนิยมนาน้ากระท่อมต้ม ผสมกับโค้ก ยากันยุง และยาแก้ไอ (4×100)
จากงานวิจัยพบว่าในใบกระท่อมทำปฏิกิริยากับร่างกายมีผลต่อเซลล์ประสาทบางชนิดในร่างกายในการรับรู้ความเจ็บปวดถูกนำมาใช้รักษาอาการเจ็บปวดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น อาการปวดที่ไม่พึงประสงค์เป็นผลจากการบาดเจ็บทางร่างกาย เนื้อเยื่อ ปวดหลัง ระบบประสาท กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น อาการปวดที่เกิดจากภาวะเรื้อรัง เช่น โรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม มะเร็ง เบาหวาน โรคข้ออักเสบ เป็นต้น โดยไม่คำนึงถึงที่มาความเจ็บปวดจะส่งผลต่อร่างกายทั้งทางร่างกายและจิตใจ ช่วยรักษาอาการไอ, ช่วยลดการหลั่งกรด, ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก, ใบกระท่อมช่วยให้มีสมาธิและระงับประสาท, แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ปวดเบ่ง แก้บิด, แก้ปวดฟัน, ทำให้นอนหลับ และระงับประสาท, แก้ปวดเมื่อยร่างกาย, ช่วยให้ทํางานทนไม่หิวง่าย, ใช้ใบกระท่อมเพื่อระงับอาการกล้ามเนื้อกระตุก, เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ, นำไปใช้บรรเทาอาการปวดแทนมอร์ฟีน โดยมีความแรงต่ำกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่า และมีข้อดีกว่ามอร์ฟีนอยู่หลาย ประการ เช่น กระท่อมไม่กดระบบทางเดินหายใจ ไม่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ใช้บำบัดอาการติดฝิ่นหรือมอร์ฟีนได้และใช้บำบัดผู้ติดยาเสพติด
ที่มา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์