ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น – ว่านหางจระเข้เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นประมาณ 0.5 -1 เมตร (รวมความสูงของใบด้วย) ลำต้นเป็นส่วนที่อยู่แกนกลาง มีลักษณะข้อปล้องสั้นๆ มีรูปร่างทรงกลม ลำต้นสามารถแตกหน่อใหม่ออกด้านข้างได้เป็นแผ่นเรียว ยาวจากโคนใบไปหาปลายใบ ขอบใบมีหนาม เปลือกใบมียางสีเหลืองจำนวนมาก เมื่อเติบโตเต็มที่จะเริ่มแทงดอกตรงกลางลำต้น เป็นก้านแข็ง ตั้งตรง ยาวประมาณ 40 – 80 ซม. ดอกมีลักษณะเป็นช่อ สีแดงอมเหลือง

ใบ – ว่านหางจระเข้ เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และออกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับซ้อนสับหว่างกัน จากโคนต้นไปปลายยอด ใบมีความกว้าง 5 -12 ซม. ความยาว 30 – 80 ซม. ใบมีลักษณะอูม และอวบน้ำ โคนหนากว้าง และค่อยเรียวเล็กลงจนถึงปลายใบ ส่วนขอบใบจะมีหนามตลอดจากโคนใบถึงปลายใบ ผิวใบหรือเปลือกมีสีเขียวอ่อนหรือเขียวเข้ม ใบอ่อนมีประสีขาว เปลือกใบหนาประมาณ 1 – 2 มิลลิเมตร และเปลือกมีน้ำยางสีเหลือง ถัดมาด้านในจะเป็นเนื้อใบที่มีลักษณะเป็นวุ้นใส วุ้นนี้ประกอบด้วยเมือกลื่น

ดอก – ดอกว่านหางจระเข้แทงออกเป็นช่อ ช่อดอกแทงออกบริเวณกลางต้น มีช่อดอกเป็นก้านยาวประมาณ 40 – 90 เซนติเมตร มีดอกย่อยรวมเป็นกระจุกของช่อดอกที่ปลายก้าน ดอกย่อยหรือดอกแต่ละดอกมีลักษณะเป็นหลอดห้อยลง ประกอบด้วยกลีบดอก 6 กลีบ รูปทรงกระบอกยาว 2.5 – 3 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.7 – 1 เซนติเมตร มีโคนกลีบเชื่อมติดกัน แต่ละกลีบมีหลายสีคละกัน โดยกลีบดอกจะแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ถัดมาด้านในมีเกสรตัวผู้ 6 อัน ด้านล่างสุดเป็นรังไข่ดอกว่านหางจระเข้จะบานจากล่างขึ้นบน และจะออกดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกมีสีหลายคละกัน และเปลี่ยนไปตามอายุดอก ได้แก่ สีเหลือง สีส้ม และสีแดง

ผล – ผลว่านหางจระเข้ เป็นผลแห้ง มีลักษณะเป็นเหลี่ยมแบน สีน้ำตาล

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร

Recent Posts