การจัดการฟาร์ม

พ่อแม่พันธุ์ปลา – ควรคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพดีตรงกับความต้องการของตลาด เพื่อทำการเพาะพันธุ์และควรตรวจสุขภาพพ่อแม่พันธุ์ก่อนนำมาเพาะพันธุ์
– ควรเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ให้มีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่ ซึ่งมีปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือขนาดบ่อที่ใช้เลี้ยง อัตราการปล่อย อาหารและการให้อาหาร แสงสว่าง คุณสมบัติของน้ำ การถ่ายเทน้ำ ฯลฯ
– ในการเพาะพันธุ์ควรเลือกใช้วิธีเพาะพันธุ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับปลาแต่ละชนิด

อาหารและการให้อาหาร – ควรเลือกประเภทของอาหารให้เหมาะสมกับอุปนิสัยในการกินอาหารของปลาแต่ละชนิด เช่น ให้อาหารมีชีวิตขนาดเล็กแก่ปลาวัยอ่อน ให้อาหารมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตขนาดใหญ่แก่ปลากินเนื้อ และให้อาหารสำเร็จรูปสำหรับปลากินพืช เป็นต้น คุณภาพของอาหารต้องได้มาตรฐานเหมาะสม สอดคล้องกับช่วงอายุและชนิดของปลา ควรให้ตามความต้องการของปลา ถ้าจำเป็นต้องให้อาหารประเภทสัตว์น้ำมีชีวิต เช่น ไรแดงลูกน้ำ ควรเลือกจากแหล่งผลิตที่ปราศจากเชื้อโรคและควรจะแช่ด่างทับทิมความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม ต่อ น้ำ 1 ลิตร เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนนำไปเลี้ยงปลาถุงบรรจุอาหารสำเร็จรูปจะต้องไม่ฉีกขาด เก็บอาหารไว้ในที่แห้งและปลอดภัยจากหนูหรือแมลงอื่น ๆ การแบ่งอาหารออกจากถุงมาใช้แต่ละครั้งควรใช้อุปกรณ์ที่แห้งและสะอาด เพื่อมิให้อาหารส่วนที่เหลือขึ้นและเกิดรา

สุขภาพสัตว์น้ำ – การใช้ยาและสารเคมี การใช้ยาและสารเคมีในการรักษาโรคควรใช้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆต้องมีการวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคเพื่อการรักษาที่ถูกวิธีและควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวขาญมื่อมีการใช้ยาหรือใช้ยาตามที่ฉลากระบุไว้ มีการบันทึกการใช้ยาทุกครั้ง เพื่อที่จะได้สะดวกต่อการติดตามผลกรรักษาโรค และให้ความร่วมมือกับหน่วยราชการอย่างเคร่งครัดในเรื่องของยาที่ห้ามใช้

การกำจัดและทำลายปลาที่เป็นโรค – หากพบว่าปลาที่เลี้ยงเป็นโรคระบาดร้ายแรงต้องทำลายโดยการเผาหรือฝังแล้วกลบด้วยปูนขาวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค และควรทำลายด้วยการฝังหรือเผาในบริเวณที่จัดไว้เฉพาะ ควรให้ห่างจากบริเวณบ่อหรือโรงเรือนอื่น ๆ และไม่ใข่ทางผ่านประจำของผู้ปฏิบัติงานในฟาร์ม

เขตกักกันโรค – ในกรณีที่เกิดโรคสามัญให้แยกใช้อุปกรณ์ออกจากปลาที่ไม่เป็นโรค ยกเว้นในที่ปลาเป็นโรคเรื้อรังควรจัดให้มีเขตกักกันโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคภายในฟาร์ม มีการแยกบริเวณพื้นที่ในการเลี้ยงปลาเป็นโรคออกจากกันโดยขัดเจนถ้ามีปลาใหม่ที่เข้ามาในฟาร์มควรแยกเลี้ยงไว้ต่างหากเพื่อทำการตรวจสอบและรักษาโรคที่อาจมีการติดเชื้อมาจากภายนอก และฟาร์มควรมีระบบป้องกันและควบคุมโรคที่อาจจะติดมากับคนโดยอาจมีระบบฆ่าเชื้อโรคก่อนเข้า-ออกจากฟาร์ม หากตรวจพบเชื้อโรคที่สามารถติดต่อถึงคน เช่น เชื้ออหิวาห์ แซลโมเนลลา หรือคลอโรฟอร์ม แบคทีเรียในระหว่างการเลี้ยง กรมประมงจะแจ้งให้เจ้าของฟาร์มทราบโดยด่วน และปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยราชการดังกล่าวอย่างเคร่งครัดเพื่อกำจัดและป้องกันโรคดังกล่าว

การแยกใช้อุปกรณ์ ควรมีอุปกรณ์ที่แยกใช้ประจำบ่อ ระหว่างปลาเป็นโรคและปลาปกติเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีสถานที่สำหรับจัดเก็บอุปกรณ์อย่างเป็นสัดส่วนมีป้ายระบุอย่างชัดเจนและควรมีการฆ่าเชื้อทุกครั้งก่อนใช้งานอุปกรณ์และเครื่องใช้ภายในฟาร์มควรทำความสะอาดก่อนและหลังการใช้ โดยการแช่น้ำยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม เช่น จุ่มในน้ำยาคลอรีน 200 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือไอโอดีน 250 มิลลิกรัมต่อลิตร ประมาณ 5 นาที และล้างน้ำให้สะอาดก่อนใช้การรักษาโรคปลากิอนจำหน่าย ปลาที่ปรากฎอาการเป็นโรค ต้องรีบทำการรักษาอย่างถูกวิธีก่อนจำหน่าย โดยมีความสามารถเลือกใช้สารเคมีหรือยาได้ตรงตามชนิดโรค

คุณภาพน้ำ – การบำบัดน้ำก่อนใช้เลี้ยงปลา ถ้าใช้น้ำประปาหรือน้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีนต้องทิ้งไว้จนกว่าคลอรีนจะระเหยหมด ถ้าจำเป็นต้องใช้อย่างเร่งด่วนให้ใช้โซเดียมไทโอชัลเฟต (Na2S2O3 ) 10 กรัม/น้ำ 1 ลูกบาศก็เมตร หรือใช้กรองด้วยเครื่องกรองที่มีถ่าน (Activated carbon) เป็นวัสดุกรองเพื่อกำจัดคลอรีน และก่อนใช้ควรมีการวัดปริมาณคลอรีนด้วยว่ายังมีหลงเหลืออยู่หรือไม่ เพราะคลอรีนเป็นพิษต่อปลาสูงมาก การควบคุมคุณสมบัติน้ำที่ใช้เลี้ยงปลา ควรมีการตรวจสอบควบคุมคุณสมบัติของน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงปลาสม่ำเสมอและควรมีการจัดการให้น้ำมีคุณสมบัติเหมาะสม หากปริมาณออกชิเจนในบ่อเลี้ยงต่ำกว่าระดับมาตรฐาน คือ 3 มิลลิกรัมต่อลิตร ต้องใช้เครื่องเพิ่มอากาศ

การจัดเตรียมปลาเพื่อจำหน่าย
ควรจับปลาโดยวิที่ระมัดระวัง และต้องมั่นใจว่าจะไม่ทำให้ปลาเกิดบาดแผลหรือครีบฉีกขาด เช่น การลดระดับน้ำให้ต่ำลงเพื่อสะดวกในการจับ การใช้สวิงหรืออวนที่มีเส้นด้ายละเอียดและอ่อนนุ่มไม่กระทบกระเทือนต่อผิวหนังปลา ไม่เคลื่อนย้ายปลาโดยไม่มีน้ำหล่อเลี้ยง เป็นต้น
ถ้าเป็นปลาที่เลี้ยงในบ่อดินควรจับปลามาพักไว้ในบ่อชีเมนต์ หรือถังไฟเบอร์หรือตู้กระจกเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้ปลาปรับสภาพ สามารถอยู่ในที่แคบๆได้
ทำการคัดเลือกปลาที่มีคุณภาพดีและคัดแยกขนาดตามที่ลูกค้าต้องการและก่อนจับ
ปลาจำหน่ายงดให้อาหารปลาประมาณ 1-2 วัน
ปลาจะต้องได้รับการแช่สารเคมี เช่น ฟอร์มาลีน 25-45 มิลลิกรัม/ลิตร ก่อนจำหน่ายอย่างน้อย 7-10 วัน เพื่อกำจัดปรสิตต่างๆ ตามผิวหนังและเหงือก

ที่มา : กรมประมง

Recent Posts