โครงสร้างของเซลล์ของสาหร่าย

โครงสร้างของเซลล์ของสาหร่าย (The structure of algal cell)

     เซลล์ของสาหร่ายก็เช่นเดียวกับพืชทั่วๆ ไป คือประกอบด้วยผนังเซลล์และโพรโทพลาสซึม (protoplasm)ผนังเซลล์ เซลล์ของสาหร่ายมีผนังเซลล์ 2 ชั้น แต่บางชนิดก็อาจจะมีถึง 3 ชั้นได้ชั้นนอกสุดเป็นสารพวกเพคดิน (pectin) ชั้นในเป็นสารพวกเซลลูโลส (cellulose) ในกรณีที่สาหร่ายนั้นมีผนังเซลล์ถึง 3 ชั้น ชั้นนอกสุดที่อยู่ถัดจากเพคตินออกมาก็จะเป็นชั้นของ mucilaginous pectose layer สาหร่ายบางชนิดผนังเซลล์ชั้นนอกจะมีหินปูนมาพอกเช่น Siphonales และ Charales เป็นต้น ผนังเซลล์จะทำหน้าที่ห่อหุ้มสิ่งที่อยู่ภายในเซลล์ แต่ก็มีสาหร่ายบางชนิดที่ไม่มีผนังเซลล์ห่อหุ้ม เช่น Euglena, Dinollagellate เป็นต้น โดยส่วนนอกของไชโตพลาสซึมจะเปลี่ยนเป็น periferal หรือ pellicle ทำหน้าที่ห่อหุ้มไซโตพลาสซึมนั้น และสามารถเปลี่ยนแปลงรูปได้ง่าย

     โปรโตพลาสซึม เป็นของเหลวข้น ๆ หนืด 1 โปร่งแสงอยู่ภายในผนังเซลล์ โดยมีเยื่อหุ้มเซลล์ (cytoplamic หรือ plasma membrane) เป็นเยื่อบาง ๆ หุ้มโปรโตพลาสซึมไว้ เยื่อหุ้มเซลล์นี้มีส่วนประกอบเหมือนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์พืชทั่ว ๆ ไป โโปรโตพลาสซึมประกอบด้วยนิวเคลียส และไซโตรพลาสซึมนิวเคลียสยกเว้นนิวเคลียสของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน นิวเคลียสของสาหร่ายทั้งหมดเป็นแบบ cukaryotic nuceus โดยจะมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส และ nucleolus เช่นเดียวกับพืชชั้นสูง โครโมโซมมีการแบ่งแบบไมโตซิส (mitosis) โครโมโซมมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ประมาณจาก 5-48 หรือมากกว่า อาจจะเกิด polyploidy ขึ้นได้ในสภาพที่ผิดปกติ ในการแบ่งเซลล์ของสาหร่ายบางชนิดอาจจะมีการแบ่งนิวเคลียสเท่านั้นไม่มีการสร้างผนังเซลล์ ซึ่งได้แก่สาหร่ายที่มีทัลลัสแบบ coenocytic filament การแบ่งแบบไมโอซิส (meiosis) จะมีเกิดขึ้นได้ในกรณีที่สาหร่ายนั้นสร้างแกมมีท (gamete) สำหรับการสืบพันธุ์แบบมีเพศไซโดพลาสซึม เป็นของเหลวหนืด ๆ โปร่งแสง มี organelle ต่าง ๆ ลอยอยู่ด้วยดังนี้

1. แวคคิวโอล (vacuole) สาหร่ายทั่วไปมีเวคคิวโอล ยกเว้นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เช่นเดียวกับเซลล์พืชคือถ้าเซลล์นั้นยังอ่อนอยู่ แวคคิวโอลจะมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก แต่ถ้าเป็นเซลล์ที่เจริญเต็มที่แวคคิวโอลจะมีขนาดใหญ่

2. ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) มีลักษณะเป็น granule เล็ก ๆ หรือเป็นเส้นยาว มีหน้าที่เช่นเดียวกับเซลล์ของพืช

3. golgi apparatus จากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนพบว่ามีรูปร่างเป็นถุงเล็ก ๆ organelle ชนิดนี้พบใน Pedinomonas สำหรับเซลล์ของพวก desmnid พบอยู่ตามขอบของคลอโรพลาสท์พวกสาหร่ายที่เคลื่อนที่ได้ golgi apparatus จะอยู่ใกล้ ๆ และรอบ ๆ นิวเคลียส เนื่องจากเป็นสิ่งเล็กมากและมีในสาหร่ายบางชนิดเท่านั้นนัก ctologist บางคนเลยอ้างว่าไม่มี golgi apparatus ในเซลล์ของสาหร่ายเมื่อเทียบกับเซลล์สัตว์

4. เซนโตรโซม (centrosome) มักจะมีในเซลล์ของสาหร่ายที่เคลื่อนที่ได้อยู่ภายในไซโตพลาสซึมมีหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์

5. รงควัตถุ (pigment) ที่มีอยู่ในเซลล์ของสาหร่าย ได้แก่ คลอโรฟิลล์ แคโรทีนอยด์ (carotenoids)และไฟโคบิลิน (phycobilins) คลอโรฟิลล์ที่พบในเซลล์ของสาหร่ายมีอยู่หลายชนิด เช่น คลอโรฟิลล์ เอ ดลอโรฟิลล์ บี คลอโรฟิลล์ ซี คลอโรฟิลล์ ดี และคลอโรฟิลล์ อี รงดวัตถุพวกแคโรทีนอยด์ก็มี 2 ชนิด คือ แคโรทีน (carotene) และ แซนโธฟิลล์ (xanthophy|) ซึ่งมีสีเหลือง สีส้ม และสีแสด ส่วนไฟโดบิลินก็ประกอบด้วย (phycoerythrin)ซึ่งมีสีแดง และ ไฟโคไซยานิน (phpcocyanin) ซึ่งมีสีน้ำเงิน สาหร่ายทุกชนิดมีคลอโรฟิลล์ เอ แต่รงดวัดถุอื่น ๆ จะพบในสาหร่ายบางชนิดเท่านั้น รงดวัตถุทั้งหลายที่กล่าวมานี้สามารถสังเดราะห์แสงได้ และจะรวมกันอยู่ในพลาสติด (plastid) ที่เรียกว่า ดลอโรพลาสท์ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินไม่มีเม็ดคลอโรพลาสท์ แต่รงควัตถุ
จะอยู่ภายในโปรโดพลาสท์บริเวณรอบนอกซึ่งเรียกว่า โครโมพลาสซึม

6. eye spot มักจะพบในสาหร่ายที่เคลื่อนที่ได้หรือในเซลล์สืบพันธุ์ที่เคลื่อนที่ได้ ทำหน้าที่เป็นอวัยวะสำหรับรับความเข้มของแสง เพื่อนำทางในการเคลื่อนที่ของสาหร่าย ดังนั้นจึงมักพบ cyespot ทางด้านหน้าของเซลล์เสมอ

7. flagellum มีลักษณะเป็นเส้นยื่นยาวออกจากเซลล์ของสาหร่าย บางคนเรียก หนวด หรือแส้เข้าใจว่า flagellum นี้ก็คือไซโตพลาสซึมที่ยื่นยาวออกมา โดยมีเยื่อบาง ๆ (mernbrane) มาหุ้ม ปลายด้านหนึ่งของ flagellum จะอยู่ในช่องของเยื่อหุ้มเซลล์ โครงสร้างของ flagellum ยังไม่มีใครทราบละเอียด ทราบแต่เพียงว่ามันแกว่งไปมายืดและหดได้ ตำแหน่งที่อยู่และจำนวนของ fagelluเ 1ด่างทันตามแต่ชนิดของสาหร่ายสาหร่ายบางชนิดมี (lagellum อยู่ทางด้านหน้า บางชนิดอยู่ทางต้านข้าง จำนวนของ (lagellum อาจจะมี1,2,3 หรือ 4 เส้นก็ได้ สาหร่ายบางชนิดมี flagellum 2 เส้นซึ่ง lagellum แต่ละเส้นอาจยาวเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้

ที่มา : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Recent Posts