การเพาะพันธุ์ – ในปัจจุบันการเลี้ยงปลาสลิดสามารถแบ่งออกเป็นลักษณะใหญ่ ๆ ได้ 2 ลักษณะได้แก่ 1. การเลี้ยงปลาสลิต โดยการเพาะพันธุ์ปลาในบ่อเลี้ยง ซึ่งสามารถดำเนินการได้ 2 วิธี คือ
1.1 การเพาะพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติ โดยการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ผสมกันเองตามธรรมชาติ ในอัตรา 50-100 กก./ไร่ โดยไม่คำนึงถึงอัตราส่วนพ่อแม่พันธุ์ โตยใข้พ่อแม่พันธุ์ 8-10 ตัว/กก. ซึ่งจำนวนการวางไข่ของปลาจะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธรรมชาติเป็นหลัก และปลายังมีการวางไข่หลายครั้งทำให้ได้ลูกปลาหลายรุ่น
1.2 การเพาะพันธุ์โดยวิธีฉีดฮอร์โมน โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์ขนาด 8-10 ตัว/กก.ที่ได้รับการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ในอัตรา 5-10 กก./ไร่ โดยมีอัตราส่วนพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 1:1 ซึ่งปลาจะวางไข่ในระยะใกล้เคียงกัน ซึ่งทั้งวิธีที่ 1.1 และ1.2 อาจปล่อยปลาในบ่อเลี้ยง (แปลงนา) ขนาดใหญ่เลยหรือปล่อยลงบ่อขนาดเล็กก่อน เมื่อลูกปลาเกิดและเห็นตัวแล้วจึงปล่อยออกไปสู่บ่อใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ในการเพาะพันธุ์ปลาลักษณะดังกล่าว ไม่สามารถคาดคะเนอัตราการรอดตายของลูกปลาและจำนวนลูกปลาที่ได้ ขึ้นอยู่กับอาหารธรรมชาติคุณสมบัติของน้ำ และศัตรูของลูกปลา
2. การเลี้ยงปลาสลิดโดยการปล่อยลูกปลาสลิดขนาด 2-3 ซม.ในอัตรา 10,000 ตัว/ไร่ โดยลูกปลาที่นำมาปล่อยได้จากการเพาะพันธุ์โดยวิธีการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์และอนุบาลในบ่อดินจนได้ขนาดที่ต้องการโดยลูกปลาที่นำมาปล่อยอาจจะปล่อยในบ่อเลี้ยง (แปลงนา) เลยหรืออนุบาลต่อในบ่อขนาดเล็กก่อนแล้วจึงปล่อยออกบ่อใหญ่ นอกจากนี้ เกษตรกรที่เลี้ยงปลาสลิตหลายหลายครั้งแล้วยังมีการปล่อยปลาขนาดเล็กประมาณ 15-20 ตัว/กก. ที่ไม่ได้จำหน่ายมาปล่อยเสริม ซึ่งการปล่อยเสริมแบบนี้สำหรับวิธีการเพาะ 1.1 และ 1.2 ไม่ควรปล่อยในช่วงที่ทำการเพาะพันธุ์เนื่องจากปลาที่ปล่อยจะกินลูกปลาที่เกิดใหม่ได้
ที่มา : กรมประมง