พันธุ์ปลากัด

ปลากัดหม้อ (Shotfin Betta Splendens)

เป็นปลาที่ได้รับความนิยมเล่น นิยมเลี้ยงไว้กัดกันมาแต่โบราณกาล มีรูปร่างและลำตัวที่ใหญ่กว่าปลากัดทุ่งและลูก ผสม มีปากใหญ่ ตัวใหญ่ สีเข้มเป็นปลากัดที่ได้รับ การยอมรับว่าเป็นปลาที่มีน้ำอดน้ำทนมากและยังกัดได้เก่งทนทรหดได้ดี กว่าปลากัดชนิดอื่น ๆ ดังนั้นปลากัดหม้อจึงเป็นปลากัดที่มีผู้เลี้ยงกันมากกว่าปลากัดทุ่งและ ปลาลูกผสม เพราะ ความที่ปลากัดหม้อ เป็นปลากัดที่มีเลือดของนักสู้เกิน 100 และยังมีประวัติการเป็นนักสู้เป็นที่ประจักษ์แก่นักเล่นปลามาแต่สมัยโบราณมาจนทุกวัน นี้ ปลากัดหม้อที่มีอยู่ในมือ นักเล่นนักเลี้ยงปลากัดเวลานี้มีอยู่ 5 สีด้วยกันคือ

1. สีน้ำเงิน
2. สีแดง
3. สีประดู
4. สีเขียวคราม
5. สีเทาหรือสีเหล็ก

รูปร่างลักษณะหม้อที่มีชื่อเสียงตีและมีประวัติการกัดเก่งที่ได้พิสูจน์กันมาแล้วว่าเป็นปลากัดที่ดีเลิศ ปากคม และกัดทน มี 3 รูปลักษณะ คือ

1. ปลากัดหม้อรูปปลาช่อน สังกตได้จากลักษณะปลาที่มีหน้าสั้น ลำตัวหนา ช่วงหัวยาว และโคนหางใหญ่ ซึ่งได้ แสดงถึงความเป็นปลาที่มีพละกำลังมาก กัดได้รุนแรง และมีประวัติการกัดชนะเป็นอันดับหนึ่ง

2. ปลากัดหม้อรูปปลากราย สังเกตได้จากลักษณะของปลาทีมีหน้าหงอนขึ้น ลำตัวสั้นและแบนเป็นปลาที่ว่ายหรือ เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วและกัดได้ไวซึ่งนับ ได้ว่าเป็น ปลากัดที่มีประวัติศาสตร์การกัดได้เสมอเหมือนกัน

3.ปลากัดหม้อรูปปลาหมอสังเกตได้จากลักษณะของตัวปลาที่มีรูปร่างคล้าย ๆกับปลากราย แต่มีหน้ากลมและลำตัว สั้น เป็นปลาที่เล่าขานกันว่าเป็นปลาที่ทรหด อดทน และกัดได้ไว ถือได้ว่าเป็นปลาทีมีประวัติการกัดดีมากตัวหนึ่งนอกจากจะดูที่รูปร่างและสีสันของปลากัดที่ดีเลิศแล้ว และยังจะต้องดูลักษณะของปลาตรงตามตำราแล้วก็จะต้องมีสี ตรงตามตำราอีก และไม่มีเกล็ดสีแดงแซม เลยหรือ ถ้าเป็นปลาออกสีแดงเข้มออกดำก็จะต้องไม่มีเกล็ดเขียวแซมเช่นกัน ปลา ที่มีสีสันและรูปร่างตรงตามตำราเช่นนี้จัดว่าเป็นปลาที่มีลักษณะดีเยี่ยมปลากัดหม้อไม่ เหมือนปลากัด ลูกทุ่ง เพราะไม่อาจ จะไปช้อนเอาจากริมคลองหนองบึงหรือแอ่งตีนควายไม่ได้ เพราะปลากัดหม้อไม่ได้มาจากการเพาะพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ที่ดี มา หลายชั่วอายุคน ซึ่งได้ แสดงถึงภูมิปัญญาคนไทยโบราณจนได้ปลากัดที่มีรูปร่างแข็งแรงลำตัวหนา และยังว่ายน้ำได้ปราด เปรียวและมีสีสันสวยงาม ตลอดระยะเวลา ของการคัดพันธุ์ได้วางเป้าหมาย ไว้เพื่อที่จะให้ได้ปลาเพื่อการต่อสู้โดยเฉพาะ เพราะ ฉะนั้นการหาปลากัดหม้อมาเลี้ยงและผสมพันธุ์ขึ้นเองโดยจะต้องหาปลากัด ทั้งตัวผู้และตัวเมียที่มีความทรหดปากคมกัด เก่งและยังต้องเลือกปลากัดหม้อพันธุ์แท้จริงๆ เพราะถ้าตัวหนึ่งเป็นปลากัดหม้อแต่อีกตัวหนึ่งเป็นพันธุ์อื่น ๆ ลูกที่ได้มา จะเป็นปลากัดลูก ผสมไป จะเสียทั้งราคาและศักดิ์ศรี

ปัจจุบันได้แบ่งสีของปลากัดหม้อไว้ 3 ประเภท คือ

1. สีเดียว (Solid Colour)

2. สองสี (Bi-Colour)

3. หลากสี (Multi- Colour) แต่โบราณกาลนั้นปลากัดหมอถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อกัดในชุมชน และต่อมาได้พัฒนาเป็นการเพาะพันธุ์ในเชิงพาณิชย์ โดยแบ่งปลา กัดหม้อออกเป็น 2 ประเภท คือปลาเก่งและปลาโหลปลาเก่ง คือปลาที่เพาะพันธุ์ขึ้นเพื่อการพนันโดยตรง จะต้อง เป็นปลาที่กัดได้ไวกัดถูกเป้าหมายสำคัญและทน ทานปลาโหล คือ ปลาที่เพาะเชิงปริมาณ ไม่เน้นความสามารถในการกัด แต่เพื่อเป็นงานอดิเรกเป็นหลักหรือเรียกว่าเลี้ยงเอาไว้ดูเล่นเพลิน ๆ ตาดีเท่านั้นปัจจุบันได้มีการ เพาะพันธุ์ปลาหม้อเพิ่มอีก รูปแบบหนึ่งออกมาก็คือเพาะเพื่อให้ได้สีที่ต้องการ เช่น สีเดียวหรือสีแปลก ๆ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก เป็นที่เข้าใจกันว่าปลากัดหม้อมีจำหน่ายภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ส่งออกได้ไม่มากนักเนื่องจากโลกนิยม ตะวันตกไม่นิยมการกัดปลา เพราะมองว่าเป็น การทรมานสัตว์แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีชาวเอเชียไปอยู่ในโลกตะวันตกกัน มากขึ้น จึงทำให้ปลากัดหม้อเริ่มเป็นที่นิยมของคนเอเชียในต่างประเทศ และขณะเดียว กันนั้นชาวตะวันตกทั้งในยุโรปและทวีป อเมริกาก็เริ่มให้ความสนใจกับปลากัดหม้อกันมากขึ้นน่าจะทำให้ไทยมีโอกาสจะส่งออกได้อีกมากก็ได้

ปลากัดลูกผสม (Hybrid Betta)

” ลูกสังกะสี ” หรือ ” ลูกตะกั่ว ” เป็นชื่อปลาที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลากัดทุ่งกับปลาหม้อผสมข้ามพันธุ์ ซึ่ง อาจจะใช้พ่อปลากัดทุ่งกับแม่ปลากัดหม้อ หรือ พ่อเป็นปลากัดหม้อกับแม่ปลากัดทุ่ง เมื่อได้ลูกผสมออกมานักเลี้ยงปลากัดก็จะ เรียกกันว่า ลูกสังกะสีหรือลูกตะกั่ว หรืออาจจะมีบางรายใช้พ่อปลากัดทุ่งหรือพ่อ ปลากัดหม้อ กับแม่ลูกผสมเมื่อได้ลูกก็จะเรียก ว่าลูกสังกะสีหรืออาจจะมีบางที่ใช้พ่อเป็นลูกผสมกับพ่อปลากัดทุ่งหรือพ่อปลากัดหม้อเมื่อได้ลูกออกมาก็เรียกว่าเป็นลูก ผสม เหมือนกัน เท่า กับว่าเมื่อใช้พ่อแม่ปลากัดต่างเหล่ากันมาผสมได้ลูกเมื่อไรก็จะเรียกว่า ลูกสังกะสี หรือ ลูกตะกั่ว ซึ่งก็จะได้ ปลากัดใหม่ลูกผสมที่ลำตัวมีหลายสี และเป็นปลากัดที่มีความทน ทรหดและกัดได้คมและว่องไวมากทีเดียว และเมื่อนำไปกัดกับ ปลากัดทุ่งหรือปลากัดป่าชัยชนะมักจะตกเป็นของลูกผสมเสียเป็นส่วน ใหญ่ว่ากันว่าปลากัดลูกผสมที่มีประวัติ การกัดเก่งกว่า ปลาอื่นในบรรดาพวกปลากัดลูกสังกะสีด้วยกันมักจะเป็นปลากัดลูกผสมรูปปลาช่อน ซึ่งสามารถสังกตไต้ตรง ที่มีครีบยาว กระ โดงยาว และหางใหญ่ซึ่งนับ ได้ว่าเป็นปลากัดที่เก่งและมีรูปร่างงดงามมากแต่อย่างไรก็ดี แม้ว่าปลากัดลูกผสมจะกัดได้เก่งและ รูปร่างสวยงามดีมากก็ จริงแต่นักเลงปลากัดก็นิยมเลี้ยงและเพาะพันธุ์กันน้อย กว่าปลากัดหม้อ ซึ่งตามตำนานกล่าวไว้ว่าอาจจะ เป็นเพราะปลากัดลูกผสมมีน้ำอดน้ำทนในการต่อสู้น้อยกว่าปลา กัดหม้อ และเป็นที่รู้กันในวงการปลากัดว่าถ้าเอาปลากัดลูก ผสมไปกัดกับปลากัดหม้อแล้วปลากัดลูกผสมมักจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้แต่อย่างไรก็ตามก็มีบางครั้งเหมือนกันที่ นักเลงปลากัดบาง คนที่มีปลากัดลูกผสมตัวเก่งไปกัดกับปลากัดหม้อ สามารถกำชัยชนะได้บ้าง ซึ่งนานๆจะเป็นชัยชนะของปลากัดลูกผสม และ การที่ปลากัดลูกสังกะสี สามารถเอาชนะปลากัดลูกหม้อได้ก็อาจะมาจากสาเหตุที่ปลากัดหม้อตัวนั้นมีอายุอ่อนวัยกว่าปลากัดลูกผสม หรือมีขนาดลำตัวเล็กกว่าหรือปลากัดหม้อเจ็บป่วย ไม่สม บูรณ์หรือมีสาเหตุอื่น ๆอีกหลายประการ อันเป็นต้นเหตุให้ปลากัดหม้อ ต้องพ่ายแพ้ตาม สภาพคามไม้สมบูรณ์ของร่างกาย

ปลากัดจีน

ปลากัดจีนเป็นปลากัดพื้นเมืองในไทยเรานี่เองเกดขึ้นได้ เนื่องจากการที่ผู้นำปลากัดที่มีรูปร่างสวยงามสีสันสดสวยมา เลี้ยงเพื่อความสวยงาม เลี้ยงเพื่อดูเล่นโดย คัดพันธุ์ที่มีครีบยาว สีสวยและปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้หางปลากัดตัวผู้สามารถ แผ่ออกไต้ถึง 180 องศา หรือครึ่งวงกลมและยังได้พัฒนาก้านหางจากสองแฉก ธรรมดา ให้มีจำนวน 5 แฉก หรือมากกว่านั้น เพื่อเป็นตัวช่วยแผ่ความกว้างของหางมากขึ้น และยังได้พัฒนาลักษณะของหางให้มีสองแฉกแยกจากกันเรียกว่าหางคู่ (Double tail) และยังมีอีกชนิด หนึ่งเป็นหางที่มีลักษณะบานออกเหมือนปากอ่าว (Delta tail)ปัจจุบันเมืองไทยได้สามารถผลิตปลากัดที่มีสีสัน เช่นสีเขียว สีม่วง แดง น้ำเงิน ฯลฯ หรือผสมระหว่างสีดังกล่าว ครีบต่างๆ ยกเว้นครีบอกยื่นยาวออกเป็นพวง โดย เฉพาะครีบที่หางให้มีความยาวพอ ๆกับความยาวของลำตัวและหัวรวมกัน แต่อย่างไรก็ดี ปลากัดที่ฝรั่งตะวันตกได้นำไปจากเมืองไทยได้มีการพัฒนาการในต้าน รูปร่าง และสีสันกันมานาน แล้วจนได้ปลากัดที่มีสีเพิ่มมากขึ้นและมีความสวยงามมากขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีเข้าช่วย ตัวเช่นในญี่ปุ่นได้ทำมานานเล้ว ในการบีบสี ของปลาให้ได้ ตามความต้องการด้วยการใช้เทคนิคการบีบสีของปลากัดแต่ก็ได้ใช้ระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งกว่าจะ ได้ปลาสีที่ต้องการกก็ต้องใช้เวลา 4-5 รุ่นขึ้นไป และยังมีการใช้เทคนิคการฉีดยีนส์สีของปลาที่ต้องการเข้าไปในปลากัดตัวเมีย ซึ่งเทคนิคนี้ต้องใช้ความชำนาญและใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย ซึ่งในต่าง ประเทศเช่นญี่ปุ่นทำไต้แล้ว แต่เมืองไทย ของเรายังไม่มีการใช้วิธีนี้เพราะต้องลงทุนสูงแต่ผลผลิตที่ได้มีความแน่นอนและรวดเร็ว ซึ่งคาดกันว่าในอนาคตอันใกล้เมืองไทยคงมีการนำเทคนิคดังกล่าว เข้ามาใช้หรือไม่ก็จะต้องใช้เทคนิคในการปรับปรุงสาย
พันธุ์ปลากัดด้วยวิธีอื่นๆมาใช้

สีของปลากัดนในปัจจุบันได้แยกไว้เป็น 3ประเภทคือ
1. สีเดียว (Solid color)
2. สองสี (Bi-color)
3. หลากสี (Multi-Color)

สีเดียว หมายถึงปลากัดที่มีครีบและลำตัวเป็นสีเดียวกันทั้งหมด โดยไม่มีสีอื่นปะปนอยู่เลยยกเว้นปลากัดสีเกียว เขม่าดำจากปากจรดครีบหู เส้นของครีบและขอบ เกล็ด ของปลาจะเป็นสีใดก็ได้ ส่วนตะเกียบท้องอนุโลมให้มีสีอื่นได้ แต่ปลา กัดสีเผือกทั้งตัวครีบท้องจะมีสีขึ้นไม่ได้ ครีบหู อนุโลมให้เป็นครีบเงากระจกได้สองสี หมายถึงปลาที่มีตัวและครีบสีต่างกันโดยลำตัวและครีบมีสีเดียวที่แตกต่างกัน รวมถึงปลาที่มีลำตัวเผือกและสี เดียวด้วย ยกเว้นเขม่าจากปากจรดโคน ครีบหูและ เส้นของครีบของปลาจะเป็นสีใดก็ได้ตะเกียบ(ครีบท้อง)อนุโลมให้มีสีอื่นๆได้ ครีบหูอนุโลมให้เป้นครีบกระจกได้หลากสี หมายถึงปลาที่มีสีขึ้นไปในส่วนของลำตัวและหรือมีสองสีขึ้นไปในส่วนของครีบที่เป็นกระจกถือเป็นส่วนหนึ่งสึ ยกว้นเขม่าดำจากปากจรดโคน ครีบ หูและเส้น ครีบปลาจะเป็นสีใดก็ได้ตะเกียบ อนุโลมให้มีสีอื่นได้ ครีบของหูอนุโลมให้เป็น ครีบกระจกทั้งสองครีบได้ แต่อย่างไรก็ดี บางตำราแบ่งสีออกเป็นถึง 6 รูปแบบคือ

1. สีเดียว (Solid Colored Betta) เป็นสีเดียวทั้งครีบและตัว
2. สีผสม (Bi Colored Betta) ส่วนใหญ่จะมีสองสีผสมกัน
3. สีผสมเขมร (Cambodia Colored Betta)
4. ลายผีเสื้อ (Butertily Colored Betta)
5. ลายผีเสื้อเขมร (Cambodain Butterily Colored Betta)
6. ลายหินอ่อน (Meable Colored Betta)

ปัจจุบันการเพาะพันปลากัดจีนมุ่งเป้าหมายเน้นเพื่อการส่งออกเป็นหลัก เพราะชาวต่างประเทศชื่นชอบความสวยงาม ของหางที่แผ่กว้างได้สวยงาม ตามตำนาน กล่าว ว่าปลากัดจีนนั้นบรรพบุรุษ ของเราได้พัฒนาขึ้นมาเป็นเวลายาวนานกว่าร้อยปี มาแล้ว เพราะฝรั่งได้พูดถึงปลากัดหางยาวเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณร้อยปีก่อน แสดงว่าในประ เทศไทยเราได้พัฒนาปลากัดจีนมานานกว่านั้นปลาจีนในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยมีรูปร่างสีสันทีสวยงามมากขึ้น มีครีบหลัง ครีบหาง กันค่อนข้าง ยาว และพร้อม กันก็มีการพัฒนาสายพันธุ์ด้วยการนำสายพันธุ์ผมกันเอง และนำสายพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาผสมจนไต้สาย ปลากัดที่สวยงามกังที่ เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้จากการศึกษาปลากัดพันธุ์ใหม่ที่ได้ของพบว่าทั้งปลากัดครีบยาวและครีบสั้นต่างก็อยู่ในประเภทเดียวกันเพราะมีลักษณะ โคมโซมเดียวกัน นอกจากนั้นยังพบว่า ปลากัด ที่มีครีบยาวและครีบสั้นสามารถผสมพันธุ์กันไต้ โดยที่เปอร์เซ็นต์การฟักเป็นตัว และอัตราการอยู่รอดของลูกผสมที่เกิดมากไม่มีความแตกต่างไปจากลูกปลาที่ เกิดจากการผสม พันธุ์ระหว่างปลากัดพวกเดียวกันแต่อย่างใด

ระยะ 23 ปีที่ผ่านมา จากกระแสความต้องการเลี้ยงปลาสวยงามมีมากขึ้นตามลำดับทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะสภาพทางเศรษฐกิจหรือสภาพสังคมทำให้เกิด ความ เครียดและหาทางออกโดยกสขารหันมาหาสิ่งที่สวยงามหรือสิ่งจรรโลงใจกันมากขึ้นเพื่อช่วยผ่อน คลายอารมณ์การทำงานหนัก ดังนั้นระยะเวลาที่ผ่าน มาสัตว์น้ำในกลุ่ม ปลาสวยงามหลายชนิดมีอนาคตดีขึ้นจนทำให้ผู้เลี้ยงสามารถหันมายึดเป็นอาชีพไต้และทำรายได้ให้ผู้เลี้ยงได้ดีพอสมควร ซึ่งรวมถึงปลากดซึ่งไม่ เพียงแต่จะกัดเก่งเพียง อย่างเดียว แตต่ก็มี ความสวยงามชนิดหนึ่งที่ในขณะนี้สามารถจะกล่าวได้ว่าปลากัดมีความโดดเด่นเป็นพิเศษกว่าสัตว์น้ำตัวขึ้นๆหลายตัวได้ เพราะ ปลากัดได้รับความสนใจ ไปเกือทุกระดับในประเทศ และยังมีตลาดใหญ่ทั่วโลกต้องการปลากัดคุณภาพดีอีกมากด้วย

ปลากัดเขมร (Cambodain Betta)

รูปร่างลักษณะสีสันสวยงามเช่นเดียวกันกับปลากัดจีน แต่จะมีลักษณะที่แตกต่างไปจากปลากัดจีนตรงที่ปลายครีบ จะมีสีขาวเห็นได้ชัดซึ่งเมื่อปลากีดจีนได้รับความนิยม มากขึ้นในต่างประเทศจึงทำให้ปลากัดเขมรซึ่งคล้ายๆกับปลากัดจีนจึง ได้รับความนิยมมากขึ้นในต่างประเทศดี ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากากรที่ปากัดจีนมี ตลาดต่างประ เทศดีขึ้น จึงจูงให้ปลากัดเขมร ซึ่งมีความสวยงามคล้ายปลากัดจีนพลอยฟ้าพลอยฝนได้ส่งออกไปด้วยทุกวันนี้การเพาะเลี้ยงปลากัดมิมุ่งกันแต่เพียงการ เพาะปลาเพื่อการพนันเหมือนแต่ก่อน แต่ได้มีการหันมาเพาะ เลี้ยงเอาไว้ดูเล่นสวยงามเพลิดเพลินตาด้วยและเพาะเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสินค้าส่งออกต่างประเทศกันมาก ขึ้นซึ่งคาดกันว่าปลากัด ทยสามารถส่งขายต่างประ เทศนำรายได้ดีเข้าประเทศเป็นอันดับต้นๆของปลาสวยงามไทยทั้วหมดและปลากีดเขมร ซึ่งได้เพาะ เลี้ยงในประ เทศก็เป็นส่วนหนึ่งของปลาทีดจีนที่ส่งออกเพราะว่านอกจากจะ เป็นปลาที่สวยงาม ครีบยาวพริ้วสวยงามแล้ว ยัง มีคุณสมบัติพิเศษติดตัวอยู่ตลอดเวลาในเชิงการ ต่อสู้ได้สร้างความตื่นเต้นให้แก่ผู้เลี้ยงได้อย่างดีด้วยการซื้อขายปลากัดเขมรยัง ไม่ดีเท่ากันการซื้อขายปลากัดจีน เนื่องจากยังไม่เป็นที่รู้จักกันนักหรือยังไม่ได้รับความนิยมมากดท่ากับปลากัดจีน จึงทำให้ราคาปลากัดเขมรต่ำหว่าราคาปลากัดจีนมากพอสมควร แต่อย่างไรก็ดี การที่รูปร่างลักษณะ ปลากัดเขมรคล้ายกับปลากัดจีน จึงทำ ห้หารย้อมแมวขายขึ้นในบางแห่งให้กับคนที่ตาไม่ถึง ไม่ทราบความแตกต่างระหว่าง ปลากัดนกับ ปลากัดเขมรไปในราคาเท่ากับปลากัดจีน เพราะฉะนั้นเพื่อป้องกัน มิให้ถูกแหกตาอีกก็ขอให้ดูปลากัดที่มีความสวย งามเหมือนกับปลากัดจีน แต่มีปลายครีบสีขาวชัดเจนก็แสดงว่า เป็นปลากัดเขมร ราคาย่อมจะต้องต่ำกว่าราคาปลากัด จีน ซึ่งได้ รับความนิยมกันมากในต่างประเทศ

ปลากัดทุ่ง ( Wild Betta)

แต่เดิมจะเรียกกันว่าปลากัดลูกทุ่ง แต่ระยะหลังใต้ตัดคำว่าลูกออก เหลือแต่ปลากัดทุ่ง ซึ่งบางแห่งก็เรียกปลากัดป่า เป็นปลากัดที่มีลำตัวค่อนข้างบอบบาง มีสีน้ำตาล ขุ่นหรือแถบเขียวมีปากค่อนข้างแหลม มีฟันขี่เล็กแหลมคม ปลาชนิดนี้บรรดา นักเลงปลากัดหรือมืออาชีพเล่นปลากัดซึ่งเป็นชาวชนบทเป็นส่วนใหญ่ นิยมเลี้ยงไว้เพื่อกัดแข่งชัน กัน เนื่องจากปลากัดทุ่งจะกัด ไม่ทนเหมือนปลากัดหม้อ และลูกผสมหรือเรียกกันว่าลูกสังกะสีก็ตามแต่ก็มีการเลี้ยงปลากัดป่าไว้น้อยเหมือน กันเพื่อเอาไว้กัดกับบปลากัดป่าด้วยกัน เมื่อตัวเก่งกัดชนะตัวอื่นๆก็เก็บเอาไว้เลี้ยงเพาะพันธุ์เอาลูกไว้กัดต่อไปแต่ถ้าตัวไหนกัดแพ้ก็ไม่เก็บเอา ไว้ทำพันธุ์ต่อไปอีกแล้ว หันไปหาปลาตัวใหม่มาเลี้ยงแทน ซึ่งสามารถหา ได้ไม่ยากเลย การจะหาปลากัดทุ่งตัวใหม่มาทดแทนตัวเก่านั้นไม่ยากเย็นเท่าไรนัก ถ้าอยู่ในช่วงที่มีฝนตกในท้องนา ของชาวชนบท ซึ่งมีน้ำขังอยู่ตามบึง คลองหนอง บ่อทั่วไป และในช่วงฤดูฝนปลากัดจะก่อหวอดเกาะตามพันธุ์ไม้น้ำตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่ไม่ค่อยจะลึกนัก ซึ่งมัก จะเป็นบริเวณริมบึงริมหนองหรือแองน้ำที่มีน้ำตื้น ๆ ซึ่งจะมองเห็นหวอด ที่ปลากัดพ่นน้ำลายขึ้นมาเป็นฟอง รวมกันเป็นฟองใหญ่กว่าตัวปลากัดประมาณ 2 เท่าของ ความยาวของลำตัวปลาและลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำจนเห็นได้ชัดและความ เหนียวของ ฟองที่รวมกันจะอยู่ได้นานมาก แม้จะถูกน้ำฝนตกลงมามากแต่หวอดปลากัดจะ ไม่ละลาย ตังนั้น เมื่อเราเดินไปตามริมบ่อหรือริมหนองริมคลองบึง เมื่อเห็นหวอดปลากัดอยู่ตรง ไหนก็จงมองให้ดี ๆ จะเห็น ว่ามีตัวปลากัดว่ายวนเวียนอยู่ใต้หวอด ของมันเพื่อใช้เป็นสถานที่ตึงดูดให้ตัวเมียไปหาเพื่อจะผสมพันธุ์กัน จึงเป็นการง่ายมาก ที่จะจับปลาตัวนั้น โดยใช้สวิงหรือเครื่องมืออื่น ๆ ช้อนจับปลาขึ้นมาไว้เลี้ยง ต่อไปแต่ถ้าเป็นนักเลี้ยงมืออาชีพตามชนบทที่มีความ ชำนาญในการจับปลาก็จะใช้มือเปล่าจับปลาขึ้นมาไต้อย่างง่าย ตาย แล้วใส่ภาชนะที่มีไว้นำกลับบ้าน หรือสถาน ที่เลี้ยงปลาต่อไป ด้วยภูมิปัญญาของคนโบราณได้แสดงออกถึงการคัดเลือกปลากัดทุ่งที่กัดเก่งไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อจะได้ ปลากัดรุ่นใหม่ที่กัดได้เก่งและชนะ ซึ่งตาม คำกล่าวขานเล่าต่อกันมาว่าตามตำนานนั้นระบุว่าปลากัดลูกทุ่งที่มีประวัติการกัดเก่งมากมีอยู่ 2 รูปลักษณะด้วยกัน คือ

1. ปลากัดทุ่งรูปปลาช่อน มีลักษณะของลำตัวปลาที่กลมยาว ครีบใหญ่ กระโดงใหญ่ ปลายหาง รูปใบโพธิ์ ซึ่งเป็นที่ ยอมรับกันว่าเป็นปลาที่ประวัติการกัดเป็น เลิศในบรรดาปลากัดทุ่งด้วยกัน

2. ปลากัดทุ่งรูปปลาช่อน มีลักษณะรูปร่างเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันที่ปลายหางกลมปลากัดทุ่งชนิดนี้กัดได้ รุนแรงมาก และมีประวัติการกัดเก่งพอใช้ได้ เหมือนกันเนื่องจากปลากัดทุ่งกัดได้ไม่ค่อยจะทนนัก นักเล่นปลากัดจึงไม่ค่อยจะ นิยมเพาะพันธุ์ระหว่างปลากัดทุ่งด้วยกันนัก แต่จะเอาไปผสมกับปลากัดพันธุ์อื่น ๆ ได้ลูกผสมในชื่อที่เรียกกันว่า ” ลูกสังกะสี ” ซึ่งนักเล่นปลากัดเก่าแก่มักจะพูดกันว่าลูกปลาสังกะสีนั้นเป็นปลากัดที่กัดได้คล่องแคล่วและมีความอดทนเป็นที่สองรองจากปลา กัดหม้อหรือบางตัวอาจจะดีกว่าปลากัดหม้อด้วยซ้ำไปตามตำนานเก่าแก่ได้บันทึกไว้ว่าลูกสังกะสีบางครอก หรือบางตัวมีรูปร่างและสีสันคล้ายปลากัดทุ่งมากจนคนที่ตาไม่ ถึงอาจจะมองว่าเป็นปลากัดทุ่งได้ จึงมีนัก เลี้ยงนักเล่นปลากัดบางคนถูกหลอกให้เอาปลากัดทุ่งไปกัดกับลูกสังกะสี ก็ย่อมแน่นอน ว่าปลากัดทุ่งตัวจริงจะต้องแพ้พนันเพราะปลากัดลูกสังกะสีกัดได้เก่งกว่า ย่อม จะชนะแน่นอน ยกเว้นแต่ปลากัดทุ่งตัวนั้นจะเป็น ปลากัดที่กัดได้เก่งจริง ๆ เท่านั้น จึงจะกัดชนะลูกสังกะสีได้เหมือนกัน แต่ปลากัดทุ่งที่กัดชนะลูกสังกะสีได้นั้นมีน้อย ตัวเหลือเกิน หรือแทบจะ ไม่มีเลยก็ว่าได้ แต่อย่างไรก็ตาม แม้ในไทยจะไม่ค่อยนิยมปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่งก็ตาม แต่ปลากัดป่ากลับไม่ได้รับความนิยมอย่าง ดีมากจาก คนเอเชียด้วยกันที่ไปอาศัยอยู่ใน ต่างประเทศจะแสวงหาปลากัดซึ่งมีลักษณะประจำพันธุ์ที่แน่นอน และมีการระบุแหล่ง ที่มาเพราะปลากัดป่ามีคุณลักษณะจำเพาะเช่น เดียวกับปลาอิมแบลิสจากเกาะสมุยไม่เหมือนกับปลาอิมแบลิสในมาเลเชีย และยัง มีข่าวว่าชาวเยอรมนีต้องการพื้นที่ประมาณ 100-200ไร่ในประเทศเพื่อเพาะเลี้ยง ปลากัดป่าในประเทศไทยและในสิงคโปร์ด้วย ปลากัดป่ามามากในมาเลเซีย อินโดนีเชีย บรูไน สิงคโปร์ และโดยเฉพาะใน อินโดนีเชีย มีปลากัดป่า หลายสายพันธุ์ ซึ่งมีความสามารถมาก และปลากัดไทยได้พัฒนามาจาก ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่งซึ่งมีสายพันธุ์ที่เรียกว่า เบตต้า สะเพล็นเดน อิมเบลิส(Betta splendens Imbelis) มีเหงือกเขียว ตะเกียบดิ่งแดง เกล็ดเข้มวาว และปลากัดทุ่ง ที่เพาะเลี้ยงกันในปัจจุบันไต้มา จากจังหวัดเชียงราย เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ ไม่ถูกสายพันธุ์ปลากัดอื่นผสมข้ามพันธุ์แต่อย่างใด

ที่มา : กรมประมง

Recent Posts