ชนิดปลาซาร์ดีน

     ปลาซาร์ดีน (Sardine) หรือ ปลาพิลชาร์ด (Pilchard) เป็นชื่อสามัญของปลาทะเลในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae)
โดยปลาที่เรียกได้ว่าซาร์ดีนนั้นได้แก่

สกุล Dussumieria
     – ปลาซาร์ดีนสายรุ้ง (Dussumieria acuta)
     – ปลาซาร์ดีนสายรุ้งเรียว (Dussumieria elopsoides)
สกุล Escualosa
     – ปลาซาร์ดีนขาวเรียว (Escualosa elongata)
     – ปลาซาร์ดีนขาว (Escualosa thoracata)
สกุล Sardina
     – ปลาซาร์ดีนแท้ (Sardina pilchardus; นับเป็นปลาซาร์ดีนที่รู้จักกันดีที่สุด[1])
สกุล Sardinella
     – ปลาซาร์ดีนแถบทอง (Sardinella gibbosa)
     – ปลาซาร์ดีนอินเดีย (Sardinella longiceps)
     – ปลาซาร์ดีนกลม (Sardinella aurita)
สกุล Sardinops
     -ปลาซาร์ดีนแปซิฟิก (Sardinops sagax)

     ปลาซาร์ดีนจะอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ โดยมากเป็นปลากินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เมื่อเวลากินจะอ้าปากเพื่อดูดแพลงก์ตอนจากน้ำทะเลเข้าปาก และผ่านการกรอง โดยน้ำทะเลจะไหลออกจากทางช่องเหงือก เนื่องจากเป็นปลาขนาดเล็กจึงมักตกเป็นอาหารของปลาขนาดใหญ่หรือสัตว์ทะเลขนาดใหญ่กว่าเสมอ ๆ

     ถือเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างมากของยุโรปและทั่วโลก เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในการแปรรูปทำเป็นปลากระป๋อง หรือการปรุงสด เช่น การย่างหรือรมควัน ซึ่งเนื้อปลาซาร์ดีนให้คุณค่าทางอาหารมากกว่านมถึง 3 เท่า โดยเนื้อปลาจำนวน 100 กรัม ให้สารอาหารต่าง ๆ เช่น โอเมกา 3 ถึง 200 มิลลิกรัม ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายมนุษย์ในแต่ละสัปดาห์ นอกจากนี้แล้วยังมี ฟอสฟอรัส, ทองแดง, แม็กนีเซียม, เหล็ก, แมงกานีส, ไลโคปีน และวิตามินบี ด้วย

ที่มา : อ้างอิงจากวิกิพีเดียสารานุกรมเสรี เรื่องปลาซาร์ดีน

Recent Posts