ชาใบหม่อน

     ชาจากใบหม่อน เป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพในประเทศญี่ปุ่น คนไทยใช้ใบหม่อนประกอบอาหาร ชาวจีนใช้เป็นพืชสมุนไพร การนำใบหม่อนไปผ่านกระบวนการทำชาเขียวหรือชาฝรั่งที่โรงงานทำชา จะได้ชาเชียว (ชาใบ) และชาฝรั่ง (ชาผง) ที่มีคุณภาพผ่นเกณฑ์มาตฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมใบชาและชาผงของศูนย์ทดสอบ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม การทำชาเขียวจะได้ใบชาประมาณ 18.83% ที่ความชื้น 5.3% ในขณะที่การทำชาฝรั่งจะได้ผงชาประมาณ 23.34% ความชื้น 3.6% ใบหม่อนสามารถทำชาเขียว ชาฝรั่ง และชาจีนแบบครัวเรือนได้ แต่ลักษณะของใบชาเขียวจากโรงงานจะม้วนตัวดีกว่าชาเขียวแบบครัวเรือน น้ำชาที่ได้จะมีสีเขียวอ่อนเช่นเดียวกัน ชาฝรั่งจากโรงงานจะได้น้ำชาสีน้ำตาลเข้มมากกว่าชาฝรั่งแบบครัวเรือนเล็กน้อย การทำชาจีนและชาฝรั่งแบบครัวเรือนจะใช้การคั่วและการอบเท่านั้น ส่วนการทำชาเขียวแบบครัวเรือนจะต้องลวกน้ำร้อนและจุ่มน้ำเย็นเพื่อรักษาสี เขียวของคลอโรฟีล การทำชาแบบครัวเรือนจะต้องระวังเรื่องความชื้นหลังจากการคั่วควรเก็บในภาชนะ ที่ป้องกันความชื้นได้ หรือนำไปอบที่ 80 องศาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมง ก่อนเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด ชาเขียว ชาฝรั่ง และชาจีนแบบครัวเรือน ผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเช่นกันในใบชาหม่อนจะพบแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม โปแตสเซี่ยม สูง แต่วิตามิน เอ พบเพียง (เฉลี่ย) 29.50 IU/100 ขณะที่ชาเขียวจากใบหม่อนในญี่ปุ่นพบถึง 4,100 IU/100 กรัม ชาหม่อนมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายทั้ง 10 ชนิด และพบกรดอะมิโนถึง 18 ชนิด ดังนั้น การทำชาใบหม่อนเพื่อใช้เป็นเครื่องดื่ม จึงมีความเป็นไปได้ทั้งระดับโรงงานและครัวเรือน

     ต่อมาได้ทำการวิเคราะห์ปริมาณเควอซิติน เคมเฟอรอล และฤทธิ์การต้านออกซิเดซันโดยรวมของใบหม่อนอบแห้ง ซึ่งปลูกที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหมนครราชสีมา ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี สถานีทดลองหม่อนไหมตาก และศูนย์วิจัยหม่อนไหมแพร่ในส่วนยอดใบอ่อน และใบแก่ของพันธุ์นครราชสีมา 60 บุรีรัมย์ 60 คุณไพ และน้อย พบว่า สถานที่ปลูกลำดับใบ และพันธุ์ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลร่วมกันทำให้ปริมาณสารออกฤิทธิ์เควอซิติน เคมเฟอรอล และโพลีฟีนอลโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ใบหม่อนซึ่งปลูกที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี ส่วนยอดของพันธุ์นครราชสีมา 60 มีปริมาณเควอซิตินและเคมเฟอรอลสูงสุด (2,069.8 และ 869.4 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) และส่วนยอดของพันธุ์บุรีรัมย์ 60 มีโพลีฟีนอลโดยรวมสูงสุด (6,310.0 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม โดยแสดงค่าเป็น Gallic acid equivalent)

     ในชาหม่อน 5 ชนิด พบว่าชาเขียวใบหม่อนที่ผลิตแบบอุตสาหกรรมโรงงานหรือแบบครัวเรือน (นึ่ง) มีปริมาณเควอซิติน เคมเฟอรอล และโพลีฟีนอลโดยรวมสูงสุด การใช้น้ำร้อนชงชาพบว่ามีเวลา 6 และ 60 นาที ปริมาณเควอซิตินและเคมเฟอรอลในน้ำชาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ส่วนปริมาณโพลีฟีนอลโดยรวมในน้ำชาที่เวลา 6, 12, 30 และ 60 นาที ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ฤทธิ์การต้านออกซิเดชันโดยรวมของน้ำชาเขียวใบหม่อนซึ่งผลิตแบบอุตสาหกรรมโรงงานหรือแบบครัวเรือน (นึ่ง) ที่ชงด้วยน้ำร้อนมีค่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับชาชนิดเดียวกันที่ไม่ได้ชงด้วยน้ำร้อน ก่อนที่จะนำมาผ่านขั้นตอนการสกัดด้วยการสกัดวิธีการเดียวกัน และสูงกว่าส่วนยอด ใบอ่อน และใบแก่ ของใบหม่อนอบแห้งพันธุ์เดียวกัน ผลการวิจัยนี้ยืนยันได้ว่าใบหม่อน ชาใบหม่อน และน้ำชาใบหม่อนเป็นแหล่งที่ดี

ที่มา : กรมหม่อนไหม