น้ำผลหม่อน

     ผลหม่อนพันธุ์ผสม คือ นครราชสีมา 60, บุรีรัมย์ 60, ศรีสะเกษ 33 และพันธุ์พื้นเมือง คือคุณไพ นำมาหาขนาดและน้ำหนัก เพื่อหาพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงแล้วศึกษาการทำน้ำผักผลไม้จากผลหม่อนพบว่าผลหม่อนสุกจัด (สีม่วง) พันธุ์นครราชสีมา 60 และบุรีรัมย์ 60 มีน้ำหนักใกล้เคียงกัน คือ 113.08 และ 99.80 กรัม/100 ผล ในขณะที่พันธุ์ศรีสะเกษ 33 ให้น้ำหนักเพียง 16 กรัม / 100 ผล ดังนั้น จึงนำพันธุ์หม่อนที่ให้ผลผลิตของผลสูงไปศึกษาการทำน้ำผลหม่อนโดยใช้ผลสีแดง : ผลสีม่วง อัตรา 1:1 และ 1:2 เป็นที่ยอมรับทางประสาทสัมผัสทั้ง สี กลิ่น และรสธรรมชาติ เมื่อนำไปต้มกับน้ำและน้ำตาล โดยใช้อัตราส่วนผลหม่อน : น้ำตาล : น้ำ = 1.5 : 1.0 : 4.5

     ต้นทุนการผลิตน้ำผลหม่อนเฉลี่ยลิตรละ 20.97 บาท หรือ 15.72 บาท/ขวด เป็นต้นทุนผันแปรร้อยละ 93.18 และต้นทุนคงที่ร้อยละ 6.82 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด จากการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตพบว่ามีต้นทุนผันแปรค่อนข้างสูง แต่ต้นทุนคงที่ต่ำเนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต สามารถใช้อุปกรณ์ในครัวเรือนได้ ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรและเป็นการผลิตที่ง่ายไม่ต้องลงทุนมาก เหมาะกับเกษตรกรที่ต้องการทำเป็นอาชีพเสริม

การทำน้ำหม่อน

ส่วนผสม

ผลหม่อนสีแดง : สีม่วง 1 : 1 หรือ 1 : 2 1.5 กิโลกรัม
น้ำตาล 1.0 กิโลกรัม
น้ำ 4.5 ลิตร

ขั้นตอนการทำ

นำผลหม่อนที่น้ำก้านออกแล้วล้างน้ำให้สะอาด

นำผลหม่อนใส่หม้อเติมน้ำตั้งไฟให้พอเดือด

น้ำผลหม่อนบรรจุขวด

เคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ นาน 20 – 30 นาที

คั้นน้ำ กรองเมล็ดและกากออก

รินน้ำกลับใส่หม้อต้ม เติมน้ำตาล

กรองใส่ขวดที่แห้งและฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อนปิดจุกให้แน่น

แช่เย็นเก็บไว้ดื่ม หรือใส่น้ำแข็งดื่ม

     การทำน้ำหม่อนถ้าใช้ผลสุกจัดสีม่วง จะมีเพียงรสหวานอย่างเดียวไม่มีรสเปรี้ยวไม่เป็นที่ยอมรับทางด้านประสาท สัมผัสในด้านลักษณะสีที่ปรากฏ รสชาด ในขณะที่การใช้ผลสีแดง : สีม่วง = 1 : 1 และ 1 : 2 ได้รับความนิยมรวมสูงกว่าอัตราส่วนผสมอื่น

ที่มา : กรมหม่อนไหม