โรคและแมลงศัตรูหม่อน

     หม่อนเป็นพืชยืนต้นที่เป็นไม้เนื้ออ่อน จึงถูกโรคและแมลงเข้ามาทำลายทุกส่วนตั้งแต่ระบบราก ลำต้น กิ่งก้าน และใบ เนื่องจากใบหม่อนเป็นอาหารของหนอนไหม การ ป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูหม่อนโดยการใช้ยาเคมีเป็นสิ่งที่อาจก่อให้เกิด อันตรายแก่ตัวไหมได้จึงจำเป็นจะต้องระมัดระวังในการใช้สารเคมีเพื่อไม่ให้มี พิษตกค้างไปถึงหนอนไหม

โรคหม่อน

     โรคที่เข้าทำลายต้นหม่อนส่วนใหญ่เป็นพวก เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ ซึ่งโรคที่กล่าวมาแล้วมีเชื้อราเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมากที่สุด แต่ เนื่องจากหม่อนเป็นพืชยืนต้น ลักษณะ อาการบางโรคไม่ปรากฏอยู่อย่างชัดเจน แต่โรคอาจสะสมจนกระทั่งแสดงอาการอย่างร้ายแรงทำให้ต้นหม่อนตายได้ โรคจะทำอันตรายหม่อนมากน้อยขึ้นอยู่กันสภาพแวดล้อม และการจัดการตั้งแต่การปลูก ดูแลรักษา เก็บเกี่ยว ฯลฯ การจะลดความเสียหายจากโรคจึงจำเป็นต้องทำให้สภาพแวดล้อมเหมาะสม โรคหม่อนที่สำคัญมีดังนี้

1. โรครากเน่า (Root rot)

โรคราก เน่าเป็นโรคที่ร้ายแรง ทำความเสียหายแก่ต้นหม่อน โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้แทบทุกแห่งที่มีการปลูกหม่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะแสดงอาการในดิน ลักษณะดินร่วนปนทราย

สาเหตุ ยังไม่พบสาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจาก เชื้อรา ไวรัส หรือแบคทีเรีย

ลักษณะอาการ หม่อน ที่เป็นโรคจะสังเกตได้ง่าย คือ ใบ และกิ่งหม่อนจะเหี่ยว คล้ายถูกน้ำร้อนลวก โดยเฉพาะใบอ่อนบริเวณใกล้ยอด จะเริ่มจากขอบใบลุกลามเข้าด้านในแล้วใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบ และ กิ่งที่ถูกทำลายจะตายในเวลาต่อมา การที่หม่อนแสดงอาการที่เหี่ยว เนื่องจากในลำต้นหม่อนจะมีเนื้อเยื่อทำหน้าที่ลำเลี้ยงน้ำและอาหารซึ่ง ติดต่อกับราก เมื่อเนื้อเยื่อบริเวณนี้ถูกโรคเข้าทำลายจะไม่สามารถส่งน้ำและอาหารได้จึงทำ ให้ใบเหี่ยว เมื่อขุดดูบริเวณโคนและและรากจะพบว่าบริเวณที่โรคเข้าทำลายจะเปื่อยหลุดลอก ออกได้ง่าย และมีกลิ่นเหม็นหม่อนที่เป็นโรครากเน่าใบจะร่วงและแห้งตายในที่สุด

การป้องกันและกำจัด

1. ขุดต้นหม่อนที่เป็นโรคแล้วเผาทำลายเสีย

2. การพรวนดินอย่าให้รากหม่อนเป็นแผลหรือได้รับการกระทบกระเทือน

3. การตัดแต่งกิ่งควรใช้กรรไกร ไม่ควรใช้มีดเพื่อกันรากกระเทือน และอย่าตัดแต่งหรือเก็บเกี่ยวหม่อน มากเกินไน

4. ใช้ พันธุ์ต้านทานต่อโรครากเน่า เช่น หม่อนไผ่ หม่อนใหญ่บุรีรัมย์ ปลูกเป็นต้นตอ แล้วติดตาด้วยหม่อนพันธุ์ดีหรืออาจจะปลูกหม่อนคุณไพ ซึ่งต้านทานโรครากเน่าได้ดีเช่นกัน

อาการของต้นหม่อนที่เป็นโรครากเน่า

2. โรคใบด่าง (Mosaic)

ปัจจุบันพบว่าเป็นโรคที่พบในสวนหม่อนได้ตลอดปีทุกหนทุกแห่ง ทำให้ผลผลิตลดลง คุณภาพใบหม่อนไม่ดี

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส

ลักษณะอาการ หม่อน ที่เกิดโรคจะแสดงอาการใบด่าง ใบมักบิดเบี้ยว ม้วนลง เส้นใบ สีเขียวแก่ บริเวณแผ่นใบสีเหลืองซีด ใบด่างเหลืองเข้มและเป็นวงแหวน ลำต้นแคระแกร็นไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ใบขนาดเล็กกว่าปกติ

การป้องกันและกำจัด

1. ถอนแยกต้นที่แสดงอาการ เผาทำลายเสีย

2. ในการคัดเลือกกิ่งพันธุ์ปลูกใหม่จะต้องเลือกจากต้นพันธุ์ที่ไม่แสดงอาการโรค ใบด่าง เนื่องจากโรคนี้แพร่ระบาดไปกับกิ่งพันธุ์ได้ง่ายและสามารถติดต่อโดยการติดตา หรือกิ่งพันธุ์

อาการของโรคใบด่าง

3.โรคราแป้ง (Powdery mildew)

เกิด กับต้นหม่อนทั่วไปโดยเฉพาะในช่วงที่ไม่มีฝน ต้นหม่อนที่เป็นโรคราแป้งจะไม่ตาย แต่จะทำให้ผลผลิตและคุณค่าอาหารของใบหม่อนลดลง จึงไม่เหมาะที่จะนำไปเลี้ยงไหม เพราะจะทำให้ปริมาณและคุณภาพของรังไหมลดต่ำลง

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Oidiopsis sp.

ลักษณะอาการ อาการ เริ่มแรกจะเป็นจุดสีขาวบริเวณด้านใต้ของใบ จุดนี้จะขยายลามใหญ่ขึ้นจนเกือบเต็มใบ บางครั้งอาจพบผงสีขาวบนใบด้วย ใบอ่อนจะเป็นโรคนี้ได้ง่าย ใบที่เป็นโรคจะค่อย ๆเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แห้งกรอบและร่วงไปในที่สุด

การป้องกันและกำจัด

1. เก็บใบที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายเสีย

2. ตัดแต่งกิ่งเพื่อลดการระบาดของโรค

3. ฉีดยาฆ่าเชื้อรา

โรคราแป้ง

4. โรคใบไหม้ของหม่อน (Bacterial blight)

โรค นี้จะเข้าทำลายใบ กิ่ง ยอด และลำต้นของหม่อน จะระบาดรุนแรงในฤดูฝนทำให้ผลผลิตใบลดลง ถ้ามีอาการรุนแรง และถูกลมพัด กิ่งที่เป็นโรคจะหักง่าย

สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Paudomonas mori

ลักษณะอาการ โรค นี้เกิดได้บนใบ และกิ่ง ลักษณะเป็นจุดสีเทาเล็ก ๆ ฉ่า แล้วจุดนั้นจะขยายลุกลามกลายเป็นแผลสีเหลืองปนน้ำตาล ถ้าเป็นรุนแรงแผลบนใบจะขยายติดต่อกันทำให้ใบเหลืองแห้งร่วงหล่นไป ถ้าโรคเกิดขึ้นบนกิ่งจะมีลักษณะเป็นรอยแผลสีน้ำตาบปนดำ บางครั้งโรคจะเข้าทำลายเส้นใบ (Vein) ทำให้เส้นใบเป็นสีน้ำตาลปนดำ จะพบโรคใบไหม้เมื่อความชื่นสัมพัทธ์สูงกว่า 90 %

การป้องกันและกำจัด

1. เผากิ่ง ใบ ที่เป็นโรค เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่เชื้อ

2. ตัดแต่กิ่งก่อนเข้าฤดูฝน จะช่วยลดการระบาดของโรค

3. ใช้สารเคมีฉีดพ่น เช่น Bordeaux mixture หรือสารปฏิชีวนะ เช่น Tetracyclin hydrochloride, streptomycinsulfate ป้องกันหรือเมื่อสังเกตเห็นอาการของโรค

โรคใบไหม้

แมลงศัตรูหม่อน
ใน ประเทศไทยมีแมลงหลายชนิดที่เป็นศัตรูของหม่อน แมลงศัตรูหม่อนไม่ทำให้ต้นหม่อนตาย แต่ทำความเสียหาย ทำให้ผลผลิตหม่อนลดลง แมลงที่สำคัญสามารถจำแนกได้ ดังนี้

1. เพลี้ยไฟ (Trips)

     เป็นแมลงประเภทปากดูด เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นหม่อน ทั้งที่เป็นตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะ ระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะในช่วงที่ฝนทิ้งช่วงระยะเวลานานระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม การระบาดจะลดลงบ้างในช่วงที่มีฝนตกชุก เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยงใต้ใบหม่อน โดยเฉพาะใบอ่อนที่ยอดหม่อน จะทำให้ใบกร้าน ยอดใบและใบแคระแกร็นบางครั้งขอบหงิก ใบม้วนเข้าหากัน ใบที่กร้านสังเกตที่ใต้ใบจะสีน้ำตาล ใบจะหลุดร่วงในที่สุด

     ลักษณะ ตัว เต็มวัยลำตัวจะมีสีเหลือง มีแถบสีดำพาดตามความยาวของลำตัวที่รอยต่อของปีกคู่หน้า บินได้รวดเร็วมาก ในระยะที่ฝนทิ้งช่วงเพลี้ยไฟจะขยายพันธุ์ได้ตลอดปี ตัวเมียวางไข่ฝังอยู่ในเส้นใบ ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ตัวอ่อนที่ฟักมาใหญ่ ๆ มองเห็นคล้ายฝ่นหรือรอยขีดเล็ก ๆ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ขนาดความยาวของลำตัวไม่เกิน ๐.๕ มม. ตัวแก่มักพบบินตามยอดอ่อน

การป้องกันและกำจัด
๑. ตัดแต่งกิ่งหม่อนทั้งตัดกลางและตัดต่ำจะช่วยตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยไฟไม่ให้มีที่วางไข่ ช่วยลด แหล่งที่ขยายพันธุ์ให้น้อยลง

๒. ไถพรวนดินในแปลงหม่อนเพื่อกำจัดวัชพืชมิให้เป็นที่พักอาศัยขยายพันธุ์และหลบซ่อนของเพลี้ยไฟ

๓. ใช้สารเคมีฉีดพ่น เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากหม่อน ดังนั้น สารเคมีที่ใช้จึงใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่น พวกไดเมทโธเอท อัตรา ๓๐–๔๐ ซีซี.ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร โดยฉีดพ่นสารเคมีหลังการตัดแต่งกิ่งและใบอ่อนประมาณ ๕-๖ ใบ แต่ถ้าเพลี้ยไฟดื้อยาให้ใช้สารเคมีประเภทโมโนโครโตฟอสแทน อัตรา ๓๐–๔๐ ซีซี.ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร เนื่องจากสารเคมีประเภทดูดซึมนี้จะมีพิษตกค้างในใบหม่อนได้นานไม่น้อยกว่า ๒๐ วัน ดังนั้น เมื่อพ่นสารเคมีไปแล้ว ๓๐–๓๕ วัน จึงจะเก็บใบหม่อนไปเลี้ยงไหมได้

เพลี้ยไฟ

๒. เพลี้ยแป้ง (Mealy Bug)

เป็นแมลงประเภทปากดูด มีการระบาดตลอดทั้งปี โดยจะระบาดในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งระหว่างเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน หม่อนที่ถูกเพลี้ยแป้งทำลาย ใบอ่อนจะหงิกงอยอดหม่อนหยุดชะงักการเจริญเติบโต ข้อระหว่างใบจะถี่ กิ่งบวมและหักง่าย ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “โรคหัวนกเค้า” เพลี้ยแป้งจะอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอด ตาใบและคนใบ ทำให้ยอดหรือใบผิดปกติ เพลี้ยอาศัยอยู่ในส่วนที่หงิกงอ เพื่อหนีศัตรูทางธรรมชาติ นอกจากนี้ยังพบมดดำและมดคันไฟเป็นตัวการสำคัญในการแพร่กระจายของเพลี้ยแป้ง มดจะได้ประโยชน์ คือ ใช้น้ำหวานที่เพลี้ยขัยถ่ายออกมาเป็นอาหาร

ลักษณะ รูปร่างกลมรีคล้ายรูปไข่ มีสีขาวคล้ายแป้งปกคลุมลำตัว ตัวเต็มวัยมีขนาด ๒ x ๓.๕ มม. ตัวเมียวางไข่ประมาณ ๕๐๐–๑,๐๐๐ ฟอง ชีพจักรของเพลี้ยแป้งประมาณ ๒๙–๓๖ วัน

การขยายพันธุ์ เพลี้ยแป้งขยายพันธุ์โดยไม่ต้องการผสมพันธุ์

การป้องกันและกำจัด

1. ในช่วงที่เกิดเพลี้ยระบาด ถ้าพบส่วนที่หงิกงอซึ่งเกิดจากการทำลายของเพลี้ยแป้งต้องตัดมาเผาทำลายเสีย เพื่อป้องกันการขยายพันธุ์และแพร่พันธุ์ระบาดไปยังแหล่งอื่น

2. กำจัดมดในแปลงหม่อน

3. ใช้สารเคมีฉีดพ่น แต่ควรระมัดระวังสารพิษตกค้างในใบหม่อน

เพลี้ยแป้ง

3. ด้วงเจาะลำต้นหม่อน (Stem borer)

     แมลงประเภทปีกแข็ง ตัวหนอนและตัวเต็มวัยของตัวด้วงเจาะลำต้นจะเจาะกินอยู่ในกิ่งก้านของลำต้นหม่อน ตลอดปี ทำความเสียหายแก่ต้นหม่อน ตัวเต็มวัยจะกัดกินเปลือกกิ่งหม่อนในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ด้วงจะเริ่มวางไข่และเดือนกันยายนจะวางไข่มากที่สุด โดยวางไข่บนลำต้นหม่อน หนอนที่ฟักจากไข่จะเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ในเนื้อไม้ภายในกิ่งหม่อน และเจาะทะลุผิวเปลือกออกมาเพื่อเป็นที่ถ่ายเทอากาศและถ่ายมูล หนอนจะเจริญอยู่ในต้นหม่อนจนออกมาเป็นตัวเต็มวัยในปีต่อไป

ด้วงหนวดยาว

     ลักษณะ ตัวผู้มีสีเทาปนเหลือง ตัวเมียสีน้ำตาลปนดำ ตัวเต็มวัยจะมีหนวดยาว ตัวผู้ขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ขนาดยาว 4 และ5 ซม. ตามลำดับ ตัวเต็มวัยเมื่อผสมพันธุ์แล้วแม่ด้วงจะใช้เขี้ยวที่แข็งแรงกัดเปลือกหม่อนเปิดเป็นแผลกว้าง แล้งวางไข่ฝังไว้ตามเปลือกกิ่งหม่อน ไข่มีสีขาวนวล ระยะไข่ประมาณ 14-15 วัน เมื่อฟักเป็นตัวหนอนจะกัดกินเนื้อไม้ของกิ่งหม่อนบริเวณที่วางไข่วางไข่อยู่ช่วงหนึ่ง แล้วกัดกินเนื้อไม้ของกิ่งหม่อน หนอนจะอาศัยอยู่ในลำต้น 9-10 เดือน โดยกัดกินท่อน้ำอาหารของต้นหม่อนจากกิ่งเข้าสู่โคนกิ่ง ลำต้น จนถึงรากทำให้รากไม่สามารถดูดน้ำและอาหารไปเลี้ยงลำต้นทำให้หม่อนอ่อนแอ อายุไม่ยืน และตายในที่สุด

การป้องกันและกำจัด

1. จับตัวเต็มวัยทลายระหว่างเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม

2. ในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม หมั่นตรวจดูรอยแผลที่ด้วงวางไข่ ตามส่วนต่างๆของลำต้น ถ้าพบรอยแผลที่เปลือกหรือบริเวณที่มีนำเยิ้มซึมออกมา ให้พบไข่ให้เผาทำลายเสียหรือให้ใช้ลวดหรือเหล็กแหลมฆ่าทำลายทิ้ง

3. ควรทำการตัดต่ำปีละ 1 ครั้ง หรือตัดกิ่งที่มีหนอนเจาะทายอยู่ภายในของกิ่งไปเผาทำลาย

4. ใช้สารเคมี เช่น ไดคลอร์วอส อัตรา 10 ซีซี.ต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดเข้าไปในที่หนอนเจาะแล้วเอาดินอุดรูเสีย

ลักษณะของต้นหม่อนที่ถูกด้วงหนวดยาวเจาะทำลาย

4. เพลี้ยหอยดำ (Blsck scale)

     เป็นแมลงประเภทปากดูด ระบาดาในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม ส่วนฤดูกาลอื่นพบกระจายอยู่ทั่วไป แต่ปริมาณไม่มากนัก ตัวอ่อนของเพลี้ยจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้หม่อนแคระแกร็นแล้วถ่ายน้ำหวานออกมาเป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราดำ ทำให้ใบหรือกิ่วหม่อนถูกปกคลุมด้วยสปอร์สีดำ ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงไหม

     ลักษณะ ตัวอ่อนสีน้ำตาล รูปร่างกลมรี อาศัยอยู่ในส่วนของต้นหม่อนที่ยังอ่อน เช่น ยอด ใบ และข้างๆตาอ่อน ส่วนตัวโตเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนดำ หรือสีดำ มีรูปร่างค่อนข้างนูนคล้ายหลังเต่าขนาดประมาณ 2- 3 มม. ขยายพันธุ์โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆจะคลานหรือถูกมด คาบไปสู่ส่วนต่างๆ เช่น ตามยอดกิ่งหม่อนเพื่อดูดน้ำเลี้ยงแล้วเกาะดูดกินน้ำเลี้ยงไม่เคลื่อนย้ายไป ไหนจนกระทั่งวางไข่และตายในที่สุด การวางไข่แม่เพลี้ยจะหุ้มห่อไข่ไว้ภายในแล้วจะตาย เปลือกหุ้มตัวเป็นแผ่นบางๆน้ำเข้าไม่ได้ จึงไม่สามารถใช้สาเคมีในการกำจัด

การป้องกันและกำจัด

1. ตัดกิ่งที่มีเพลี้ยหอยดำทำลายนำไปเผาไฟ

2. กำจัดมดในสวนหม่อนเพื่อป้องกันการกระจายของเพลี้ย

3. ตัดแต่งกิ่งดูแลรักษาสวนหม่อนตามคำแนะนำ

4. ใช้สบู่หรือสารพวก rasin พ่นหรือป้ายตัวเพลี้ยหอยดำ สารละลายจะไปอุดทางเดินหายใจของเพลี้ยหอยดำ ทำให้ตายได้

เพลี้ยหอยดำที่เกาะลำต้นหม่อน

5. หนอนกระทู้หม่อน

     แมลงชนิดนี้ระบาดในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม หนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ จะกัดกินใบหม่อนทำให้เห็นเป็นโครงสร้างของเส้นใบ เมื่อหนอนมีขนากใหญ่ขึ้นจะกัดกินใบหม่อนเป็น รูเว้าเข้าไป ทำให้ใบขาดกะรุ่งกะริ่ง ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ใบหม่อนเหลือแต่ก้านและเส้นใบ

     ลักษณะ วงจรชีวิตหนอนกระทู้หม่อน ตัวเมียจะวางไข่ใต้ใบหม่อนเป็นแพหรือซ้อนกันเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มประมาณ 500-2,200 ฟอง ไข่มีขนาด 0.3- 0.5 มม. มีสีขาวปกคลุมด้วยเส้นใบสีน้ำตาลอ่อน ระยะเป็นไข่ 5 วัน จึงฟักเป็นตัวหนอน หนอนจะลอกคราบ 4 ครั้ง ระยะเป็นหนอน 15-21 วัน แล้วจะเป็นดักแด้ในดิน ระยะเป็นดักแด้ 11-14 วัน จึงจะกลายเป็นผีเสื้อกลางคืน ผีเสื้อเพศผู้อายุ 5-8 วัน เพศเมีย อายุ 5-9 วัน แล้วจึงตาย

การป้องกันและกำจัด

1. หนอนกระทู้หม่อนนี้เป็นศัตรูสำคัญของข้าวโพด ฝ้าย ยาสูบ ถั่วและผักต่างๆจึงไม่ควรปลูกหม่อนใกล้พืชเหล่านี้

2. เมื่อเห็นตัวหนอนให้จับทำลายเสีย

3. ในกรณีที่ระบาดมาก ให้ใช้สารเคมี คาร์บาริล อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สารเคมีพวกเมทโธมิล อัตรา 40 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ถูกตัวหนอน เมื่อมีการระบาด เมื่อฉีดพ่นยาแล้วให้ทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน จึงเก็บใบหม่อนเลี้ยงไหมได้ หรือถ้ามีการระบาดอย่างรุนแรงอาจใช้สารเคมีพวก ไพรีทรอย ฉีดพ่นให้ถูกตัวหนอนมากที่สุด อัตราตามคำแนะนำ ทิ้งไว้ 20 วัน จึงเก็บใบหม่อนได้

หนอนกระทู้

6. แมลงหวี่ขาว (white fly)

เป็นแมลงประเภทปากดูด ทำลายหม่อนทั้งในระยะตัวอ่อนและโตเต็มวัย โดยดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้หม่อนเหลืองซีด และร่วง ไม่เหมาะในการนำไปเลี้ยงไหม นอกจากนั้น แมลงหวี่ขาวยังผลิตสารเหนียวเคลือบๆไว้บนใบหม่อน ทำให้ฝุ่นละอองปลิวมาติดและเป็นอาหารของเชื้อราด้วย

การป้องกันและกำจัด

ใช้สารเคมีพวกโมโนโครฟอส อัตรา 20 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเมื่อแมลงหวี่ขาวเริ่มระบาดและพ่นซ้ำตามความจำเป็น หลังจากพ่นไปแล้ว 30 วัน จึงนำไปเลี้ยงไหม

ใบหม่อนที่ถูกแมลงหวี่ขาวทำลาย

7. ปลวก

เป็นศัตรูที่สำคัญของหม่อน จะทำลายต้นหม่อนทำให้ต้นหม่อนแคระแกร็น ปลวกแยกออกได้เป็น 2 พวก คือ

1. พวกอาศัยอยู่ในดิน (ground dweller termites)

2. พวกอาศัยอยู่ในไม้ (wood dweller termies)

     ปลวกที่เข้าทำลายต้นหม่อนส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่อาศัยอยู่ในดิน พวกนี้จะรวมถึงปลวกที่ทำรังอยู่ใต้ดิน แต่ทำการเดินขึ้นมาหาอาหารบนดินหรือทำรังอยู่ในไม้ที่อยู่ติดต่อกับดินและลงไปในดินหาความชื้นและปลวกที่ทำจอมปลวก ปลวกพวกนี้จะเข้าทำลายบ้านเรือนไม้ล้ม ขอนไม้ และต้นไม้ยืนต้น ต้นหม่อนปลวกจะเข้าไปกัดกินเนื้อไม้ ซึ่งมีสารพวกเซลลูโลสเป็นอาหารของปลวก ทำให้ต้นหม่อนไม่สามารถเติบโตได้ดี ต้นและกิ่งหักล้มง่ายและอาจตายในที่สุด

ที่มา : กรมหม่อนไหม