การดูแลรักษาสวนหม่อน

๑. การกำจัดวัชพืช สำหรับหม่อนที่เริ่มปลูกใหม่ๆ ควรมีการกำจัดวัชพืชบ่อยๆ เพราะต้องปลูกหม่อนในต้นฤดูฝนซึ่งระยะนี้วัชพืชขึ้นมาก จึงมีความจำเป็นต้องกำจัดวัชพืชในระยะแรก หลังจากต้นหม่อนโตพอสมควรแล้วการกำจัดวัชพืชจะเว้นระยะห่างไป เพราะวัชพืชเป็นตัวแย่งธาตุอาหารในดิน แย่งน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและแมลงอีกด้วย จึงควรกำจัดวัชพืชอยู่เสมอ
๒. การใส่ปุ๋ย เนื่องจากดินในประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน การปลูกหม่อนจึงบ่งไม่ได้ชัดว่าควรใส่ปุ๋ยสูตรอะไร ในอัตราเท่าไหร่ แต่มีวิธีการคือ ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว เช่น ดินภาคกลาง ควรใส่ปุ๋ยเคมีเล็กน้อย ส่วนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินทรายที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงต้องมีวิธีการปรับปรุงทั้งธาตุอาหารและคุณสมบัติของดินให้ดีขึ้น โดยใส่ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ในที่ดินบางแห่งต้องปรับความเป็นกรดด้วยโดยการใส่ปูนขาวแต่การใส่ปูนขาวแต่ การใส่ปูนขาวต้องใส่ให้พอเหมาะ ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ปุ๋ยสลายตัวเร็วจนพืชไม่ทันใช้ให้เป็นประโยชน์ ฉะนั้นการใส่ปูนขาวควรเพิ่มอินทรียวัตถุให้มากขึ้น

การพิจาณาว่าจะใส่ปุ๋ยชนิดใด ปริมตรเท่าใด ควรมีหลักดังนี้

๑. วิเคราะห์ตัวอย่างดิน โดยการส่งตัวอย่างดินมาวิเคราะห์ที่แผนกวิเคราะห์ดิน จะทราบแน่ชัดว่าเป็นดินชนิดใดและจะต้องใส่ปุ๋ยสูตรอะไร จำนวนเท่าใด
๒. ในกรณีที่ไม่สามารถส่งตัวอย่างดินมาวิเคราะห์ได้ แต่พิจารณาว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์พอสมควรก็สามารถใช้ปุ๋ยผสมที่ขายตามท้อง ตลาดได้ ปุ๋ยที่มีสูตรใกล้เคียง คือสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ในอัตรไร่ละ ๑๐๐ กิโลกรัม โดยแบ่งใส่ ๒ ครั้งใน ๑ ปี ครั้งแรกใส่ตอนต้นฤดูฝนหรือช่วงตัดต่ำแล้วใส่ในช่วงเดือนตุลาคมหรือ พฤศจิกายน ควรใส่ปุ๋ยทุกปี สำหรับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักควรใส่รวมกับปุ๋ยเคมี ในอัตราส่วนไร่ละ ๑,๐๐๐ กก. เพื่อช่วยปรับโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น ช่วยให้รากหม่อนเติบโตและดินมีการระบายอากาศ
๓. การรักษาความชื้นในดิน ในฤดูแล้งขาดความชุ่มชื้น ทำให้หม่อนชะงักการเติบโตและไม่มีใบเลี้ยงไหม เกษตรกรควรรักษาความชื้นในดินโดยการพรวนดินให้ร่วนซุยจะทำให้ดินมีความชื้นหรือใช้วัสดุคลุมดิน เพื่อป้องกันการระเหยน้ำจากผิวดินทำให้ดินมีความชุ่มชื้น
๔. การให้น้ำ ในฤดูแล้งควรให้น้ำแก่หม่อน เพื่อให้หม่อนเติบโต การให้น้ำทำได้โดยปล่อยน้ำไหลเข้าไปในแถวของหม่อนอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้งในฤดูแล้ง
๕. การระบายน้ำเป็นการรักษาระดับความชื้นในดินให้พอเหมาะกับการเจริญเติบโตของต้นหม่อน และจะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินในสภาพน้ำขังต้น หม่อนจะแสดงอาการใบเหลือง ชะงักการเจริญเติบโต ต้นหม่อนจะเหี่ยว ในสภาวะอย่างนี้รากหม่อนขาดออกซิเจน มีผลกระทบการหายใจของหม่อน การระบายน้ำช่วยดินสามารถถ่ายเทอากาศได้ดีรากหม่อนไม่ขาดออกซิเจน จุลินทรีย์ในดินสามารถเจริญเติบโตได้ดี จุลินทรีย์เหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในการคงความอุดมสมบูรณ์ของดิน

การเก็บใบหม่อน
     หลังจากปลูกหม่อนไปแล้วประมาณ ๖ เดือน ถ้ามีการดูแลรักษาที่ดีจะสามารถเก็บใบไปเลี้ยงไหมได้ การเก็บใบหม่อนจะต้องเก็บอย่างถูกวิธีเพื่อให้ต้นหม่อนไม่ชอกช้ำและได้รับ ความกระทบกระเทือนน้อยที่สุด วิธีการเก็บต้องคำนึงดังนี้
๑. วัย จะต้องเลือกเก็บใบหม่อนตามวัยของไหม ไหมวัยอ่อนต้องเก็บใบหม่อนอ่อนมาเลี้ยงไหม ไหมวัยแก่ต้องเก็บใบหม่อนแก่มาเลี้ยงไหม ส่วนใบหม่อนแก่มีคาร์โบไฮเดรตสูงซึ่งไหมวัยแก่มีความต้องการคาร์โบไฮเดรตสูงเช่นกัน ดังนั้น การให้ไหมกินใบหม่อนถูกต้องตามวัยจะทำให้หนอนไหมแข็งแรง เติบโตเร็ว รังไหมมีคุณภาพดี
๒.เวลา เวลาในการเก็บใบหม่อนควรเลือกเวลาที่จะทำให้ใบหม่อนที่เก็บมาแล้วไม่เหี่ยว และมีธาตุอาหารสมบูรณ์ จากการศึกษาคุณค่าทางอาหารของใบหม่อน พันธุ์หม่อนน้อยที่เก็บในเวลาต่างกันของสถานีทดลองไหมสุรินทร์ พบว่า ระดับน้ำในใบหม่อนจะสูงสุดที่เวลา

การดูแลรักษาการใส่ปุ๋ย
     เนื่องจากหม่อนเป็นพืชยืนต้นมีอายุยาวนานและติดดอกออกผลนานหลายสิบปี การบำรุงรักษาโดยวิธีการใส่ปุ๋ยบำรุงดินจึงมีความจำเป็นยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินจะส่งผลกระทบต่อการเจริญ เติบโตของหม่อนทั้งทางตรงและทางอ้อมเพราะนอกจากจะเป็นแหล่งคาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และซัลเฟอร์ สำหรับการเจริญเติบโตของพืชโดยตรงแล้ว ยังมีผลต่อขบวนการทางกายภาพ เคมี และชีวเคมีของดิน ทำให้ดินมีลักษณะโครงสร้างที่ดี และมีกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในดิน ซึ่งมีผลทางอ้อมต่อการเจริญเติบโตของต้นหม่อน ดังนั้นก่อนการปลูกหม่อนขอแนะนำให้นำตัวอย่างดินในแปลงไปตรวจวิเคราะห์หา คุณสมบัติของดิน เพื่อจะได้ทราบว่าดินที่จะใช้ปลูกหม่อนขาดธาตุอาหารใดบ้าง ในปริมาณที่เท่าใดหรือมีธาตุอาหารอื่นใดเพียงพอแล้ว จะได้ไม่ต้องให้เพิ่มลงไปให้เกินความจำเป็นเพื่อเป็นการประยัดและลดต้นทุน การผลิต ก่อนการปลูกหม่อนให้ใส่ปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ ตามความจำเป็น จากการวิเคราะห์ความต้องการปูนขาวของดินเพิ่มและปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1,000-2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่รองก้นหลุม จากนั้นจึงใช้หน้าดินกลบหลุมก่อนปลูก และเมื่อเข้าสู่ปลายฤดูฝนให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รอบๆ ทรงพุ่มของต้นหม่อนอีกครั้ง
หลังจากปีที่ 2 เป็นต้นไป การใส่ปุ๋ยหม่อนเพื่อผลิตผลหม่อนขอแนะนำอัตราการใส่ปุ๋ย ดังนี้ คือ
ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยในช่วงต้นฤดูฝน โดยใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000-2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่
ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยในช่วงต้นฤดูหนาวก่อนทำการบังคับทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
ครั้งที่ 3 ใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความหวานโดยใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-60 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ในระยะที่ผลหม่อนเริ่มจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูแดง

การให้น้ำ
     การให้น้ำหม่อนเพื่อเก็บผลสดมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้น้ำหม่อนใน ระยะที่หม่อนติดผลเรียบร้อยแล้ว หากต้นหม่อนขาดน้ำในระนะนี้จะทำให้ผลหม่อนฝ่อก่อนที่จะสุก หรือทำให้ผลหม่อนมีขนาดเล็กกว่าปรกติ ส่วนการให้น้ำในระยะอื่นๆ ให้พิจารณาตามความเหมาะสมเมื่อฝนทิ้งช่วงอาจจะต้องให้น้ำเป็นบางครั้ง วิธีการให้น้ำมีหลายวิธี คือ
1. การให้น้ำแบบ มินิสปริงเกอร์ เป็นวิธีการให้น้ำแบบประหยัดทั้งแรงงานและน้ำ แต่ต้นทุนในการจัดทำระบบน้ำค่อนข้างสูง สามารถให้น้ำได้บ่อยตามความจำเป็น
2. การให้น้ำแบบ รดโคนต้น โดยใช้เครื่องสูบนน้ำจากแหล่งน้ำเข้าสู่แปลงหม่อนโดยตรง รดน้ำตรง รดน้ำตรงบริเวณโคนต้นให้ชุ่ม 10 วันต่อครั้ง

การกำจัดวัชพืช
     ปัญหาสำคัญอีกอย่างในการปลูกหม่อนรับประทานผล ก็คือวัชพืชในแปลงหม่อนซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผลผลิต หม่อน โดยอาจทำให้หม่อนมีผลผลิตลดลงหรืออาจเป็นแหล่งของการหลบซ่อนหรือแหล่งอาหาร ของแมลงศัตรูหม่อน จากการสำรวจพบว่าวัชพืชที่สำคัญในแปลงหม่อนได้แก่ หญ้าตีนกา (Eleusine indica L.) หญ้าตีนติด (Brachiaria reptans L.) หญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium L.) หญ้าไทร (Leersia hexandra L.) หญ้าดอกขาว (Rchardia brazilliensis Gomez) หอมห่อป่า (Lindrnia ciliate Pannell) หญ้าขน (Brachina mutica L.) หญ้ายาว (Euphorbia geniculate Orteg.) หญ้าชันอากาศ (Panicum repens) ผักเบี้ยหิน (Trianthema portullacstrum L.) หญ้ารังนก (Chloris barbata SW.) หญ้าข้าวนก (Echinochloa crusgalli L.) หญ้าแพรก (Cynodon dactylon L.) แห้วหมู (Cyperus rotundus L.) ตีนตุ๊กแก (Tridax procumbens L.) ผักเบี้ยใหญ่ (Portulaca oleracea L.) หญ้าแดง (lschaemum bartatum Rotz) ผักโขมหิน (Boechzvia diffusa L.) น้ำนมราชสีห์ (Euphorbia hirta L.) สาบเสือ (Eupatorium edoratum L.) ผักโขม (Amaranthus viridis L.) สาบแร้งสาบกา (Ageratum conyzoides L.) และกก (Cyperus spp.) เป็นต้น การกำจัดวัชพืชอาจกระทำได้หลายวิธีดังนี้ คือ

1. ใช้แรงงานคน เป็นวิธีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม อาจกำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคนในการดายหญ้า ให้ทำการดายหญ้ารอบบริเวณโคนต้น รัศมี 1 เมตร ทุก 2 เดือน หรือเมื่อเห็นว่าวัชพืชเกิดขึ้นหนาแน่นพอสมควรแล้ว นอกจากนั้น ควรดายหญ้าหรือหวดหญ้าทิ้งบริเวณพื้นที่ทั้งหมดของแปลงอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง ในครั้งแรกควรทำในช่วงกลางฤดูฝนและครั้ง 2 ในช่วงหลังจากที่หมดฤดูฝนแล้ว
2. ใช้เครื่องทุ่นแรง การปลูกหม่อนรับประทานผลในระยะ 2.00 x 00 เมตร หรือ 4.00 x 4.00 เมตร สามารถใช้รถไถเดินตาม หรือรถแทรกเตอร์เข้าไปไถพรวนในช่องกลางของแถวต้นหม่อนเพื่อกำจัดวัชพืชได้ วิธีการนี้จะช่วยประหยัดแรงงานได้เป็นอย่างดี และยังช่วยทำให้สภาพของดินโปร่งและร่วนซุยมากขึ้นด้วย ส่วนระยะเวลาในการกำจัดวัชพืชโดยวิธีนี้ ควรไถพรวนปีละ 3 ครั้ง คือ ในช่วง ต้นฤดูฝน กลางฤดูฝน และหลังจากที่หมดฤดูฝนแล้ว ส่วนบริเวณโคนต้นหม่อนคงต้องใช้วิธีการดายหญ้าด้วยแรงงานคน
3. ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เป็น วิธีการที่สะดวกรวดเร็ว และควบคุมวัชพืชเป็นระยะเวลาที่นาน แต่เป็นวิธีการที่ส่งผลการะทบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้มากที่สุด หากสามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ควรหลีกเลี่ยงไปใช้วิธีการอื่น แต่หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เนื่องจากปัญหาของแรงงานก็ควรใช้ความระมัด ระวัง ซึ่งสารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัดวัชพืชมีหลายชนิดแต่ขอแนะนำให้ใช้สารกำจัด วัชพืชดังนี้ คือ ใช้สารกลูฟสิเนท ผสมกับไดยูรอน อัตรา 240 และ 240 กรัมของสรอออกฤทธิ์ ฉีดพ่นวัชพืช 1 ไร่จะสามารถกำจัดวัชพืชหลังงอก (post-emer-gencde) และควบคุมวัชพืชก่อนงอก (pre-emergence) ได้เป็นอย่างดี นาน 3-4 เดือน นอกจากนั้นยังใช้ สารพาราควอท อัตรา 160 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ และสารไกรโฟเสท อัตรา 320 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ฉีดพ่นวัชพืชในแปลงหม่อนก็สามารถควบคุมวัชพืชได้นาน 3 เดือน
4. ใช้วัชพืชที่มีสารป้องกันวัชพืชคลุมดินในแปลงหม่อน โดยใช้วัชพืชคือ สาบเสือหรือ กระเพราป่า ตัดมาคลุมบนพื้นดินรอบๆ โคนต้นหม่อนในอัตรา ไม่ต่ำกว่า 1.5 กิโลกรัมสดต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร จะทำให้สามารถควบคุมวัชพืชในแปลงหม่อนกได้นาน 60 วัน อีกทั้งเมื่อวัชพืชเหล่านี้สลายตัวจะมีประโยชน์ในการเป็นปุ๋ยบำรุงดินให้กับ หม่อนอีกทางหนึ่งด้วย
5. ใช้เศษวัสดุต่างๆ อันได้แก่ เปลือกถั่ว ฟางข้าว ชานอ้อย หรือวัสดุอื่นใดที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น แล้วนำมาคลุมดินบริเวณโคนต้นหม่อนให้ห่างจากต้นหม่อนในรัศมีรอบโคนาต้น 1 เมตร จะช่วยควบคุมไม่ให้วัชพืชเกิดขึ้นบริเวณโคนต้นหม่อนได้

การตัดแต่งกิ่งและการดูแลรักษาทรงพุ่ม
     การตัดแต่งกิ่งให้ตัดแต่งกิ่งแบบไม้ผล ตัดเฉพาะกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ และเป็นโรคทิ้ง กิ่งที่เกิดขึ้นภายในบริเวณทรงพุ่มห้าตัดแต่งออกไปให้หมดเพื่อให้ทรงพุ่ม เกิดความโปร่งทำให้ไม่เป็นปัญหาในการสะสมโรคและแมลง

ที่มา : กรมหม่อนไหม