การเลือกพื้นที่
หม่อน เป็นพืชทีสามารถปลูกขึ้นได้ดีในดินชุดต่าง ๆ เกือบทุกชนิด แต่การปลูกหม่อนเพื่อผลิตผลหม่อนจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ หลายด้าน ดังนี้
• ต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง หรือ ท่วมขังเป็นระยะเวลานาน ๆ มีการระบายน้ำดีและมีหน้าดินลึก
• ดินไม่เป็นกรด หรือด่างมากเกินไปค่า pHของดินควรอยู่ในระหว่าง 6.0 – 6.5
• สภาพ พื้นดินต้องเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยมีประวัติในการเกิดการระบาดโรครากเน่าของ หม่อนมาก่อน หากเคยมีประวัติดังกล่าวจะต้องแก้ปัญหาโดยการปลูกโดยใช้ต้นตอที่มีความทนทาน ต่อโรครากเน่า
• มีแหล่งน้ำที่สามารถให้น้ำได้ในช่วงที่ ฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนหรือช่วงฤดูแล้ง โดยเฉพาะระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน ที่หม่อนกำลังติดดอกออกผลและเก็บเกี่ยวผลซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตผลหม่อน เป็นอย่างมาก
• พื้นที่คมนาคมสะดวกสามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้ง่ายและขนส่งผลผลิตผลหม่อนได้สะดวก
• ไม่ อยู่ไกลจากตลาดและโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปผลหม่อนมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผลหม่อนเป็นผลไม้ที่เสียหายได้ง่ายหากมีการขนส่งเป็นระยะ ทางไกลและยาวนาน
การเตรียมดิน
หลังจากการเลือกพื้นที่ ที่เหมาะสมในการทำสวนหม่อนแล้ว ควรกั้นรั้วเพื่อกันสัตว์ต่างๆเข้ามาทำลายแปลงหม่อน เช่น โค กระบือ ฯลฯ ก่อนปลูกหม่อนควรปฏิบัติดังนี้
1. ไถดิน เพื่อพลิกดินชั้นล่างขึ้นชั้นบน แล้วตากแดดไว้ 2 -3 วัน ก็ทำการไถพลิกดินอีกเพื่อฆ่าแมลงศัตรูและฆ่าเชื้อโรคต่างๆที่อยู่ในดิน และเพื่อกำจัดวัชพืช
2. ไถพรวน เพื่อให้ดินร่วนซุยเหมาะแก่การเจริญเติบโต
3. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ไร่ละประมาณ 1,200 กิโลกรัม และปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินและเพื่อปรับปรุงคุณลักษณะของดินแล้วไถกลบ
4. กะระยะปลูกให้เหมาะสมเพื่อเตรียมปลูก
ระยะปลูก
ระยะปลูกของหม่อนไม่เหมือนปลูกพืชชนิดอื่นๆ เพราะหม่อนเป็นพืชที่ต้องใช้ใบการกะระยะปลูกต้องคำนึงถึงทิศด้วย ควรปลูกจากทิศเหนือไปใต้ เพราะต้นหม่อนจะได้รับแสงแดดตลอดวัน นอกจากนี้คำนึงถึง
– ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี ระยะปลูกหม่อนควรจะกว้าง เพื่อต้นหมอนจะเจริญเติบโตแตกกิ่งก้านได้เต็มที่ แต่ถ้าดินไม่ค่อยมีความอุดมสมบูรณ์ระยะปลูกควรจะลดลงเพื่อจำนวนต้นจะได้ เพิ่มขึ้น
– พันธุ์หม่อน ถ้าเป็นหม่อนที่แตกกิ่งก้าน ระยะปลูกควรจะห่างกันเพื่อต้นหม่อนจะได้แตกกิ่งก้านได้สะดวก แต่ถ้าเป็นพันธุ์ท่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมากนัก ระยะปลูกควรจะลดลง
– เครื่องทุ่นแรง ถ้าใช้เครื่องทุ่นแรงช่วยในการกำจัดวัชพืช ควรเว้นระยะระหว่างแถวให้กว้างพอเหมาะกับขนาดของเครื่องมือ ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ
-ระยะเวลาการปลูกหม่อน ฤดูกาลที่เหมาะสมสำหรับการปลูกหม่อนคือ ในช่วงต้นฤดูฝนปลายเมษายนถึงเดือนพฤษภาคมหรือตามสภาพของฝนในแต่ละท้องถิ่น เนื่องจากดินมีความชุ่มชื้นดี หม่อนจะตั้งตัวได้เร็วและการเจริญเติบโตดี รากแข็งแรงแผ่กระจายได้ลึก เมื่อถึงฤดูแล้งของปีต่อไป หม่อนจะไม่ตาย แต่ถ้าปลูกในช่วงปลายฤดูฝนมากเกินไป จะทำให้หม่อนมีระยะเวลาในการเจริญเติบ โตสั้นมาก พอย่างเข้าฤดูแล้งต้นหม่อนบางส่วนอาจอ่อนแอ แคระแกร็นหรือตายได้ แต่ในสภาพที่สามารถให้น้ำได้ตลอดปี หรือสภาพดินที่ดีมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในสวนหม่อนและการใช้วัสดุคลุมดินช่วย รักษาความชื้น หม่อนก็สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ
– การเตรียมหลุม การเตรียมหลุมเป็นการเตรียมสภาพดินที่จะปลูกหม่อนให้เหมาะสมกับการเจริญเติบ โตของต้นหม่อนให้มากที่สุด ต้นหม่อนมีอายุยืนทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ดี เช่นในช่วงฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ถ้าเกษตรกรทำการเตรียมหลุมไว้อย่างดีต้นหม่อนจะสามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ สามารถให้ผลผลิตได้ตลอดปี วิธีการเตรียมหลุมมีสอง วิธี คือ
– การขุดเป็นหลุมๆ ตามระยะปลูก ขนาดลึกประมาณ ๕๐ ซม. กว้าง ๕๐ ซม. ยาว ๕๐ ซม. รองก้นหลุมด้วยเศษหญ้า ฟางแห้งหรือซังข้าวโพดคลุกด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก จากนั้นกลบดิน ๑ ชั้นก่อนทำการปลูกหม่อน
– ขุดหลุมเป็นร่องยาวตามแถวปลูก ขนาดกว้างและลึก ๕๐ ซม. ความยาวเท่ากับความยาวของแปลงหม่อน ใช้เศษหญ้า ฟางข้าว ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักรองก้นหลุม แล้วจึงเอาดินที่ขุดขึ้นกลบแล้วจึงนำท่อนพันธุ์ปักตามระยะที่กำหนด
วิธีการปลูก
วิธีการปลูกหม่อนมีความสำคัญต่อการรอดของท่อนพันธุ์และการเจริญเติบโตของต้น หม่อน ถ้าปลูกไม่ถูกวิธีจะทำให้ต้นหม่อนเจริญเติบโตไม่สม่ำเสมอ จำนวนต้นหม่อนต่อพื้นที่น้อยลงทำให้สิ้นเปลืองแรงงานและค่าใช้จ่ายสูง วิธีการปลูกที่นิยมกันมีสองวิธี คือ
๑. นำท่อนพันธุ์ไปปลูกโดยตรงในแปลงที่เตรียมไว้
๒. นำท่อนพันธุ์ไปปักชำในแปลงเพาะชำก่อน แล้วจึงย้ายไปปลูกต่อไป
การเตรียมท่อนพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมท่อนพันธุ์เพื่อปลูกในแปลงโดยตรง หรือเพื่อนำไปปักชำไว้ก่อนปลูกก็เตรียมท่อนพันธุ์ในลักษณะเดียวกันดังนี้
๑. เลือกกิ่งจากต้นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพใบดี
๒. เลือกกิ่งที่มีอายุอยู่ในช่วง ๔ – ๑๒ เดือน ซึ่งเหมาะในการแตกรากและกิ่งก้านได้อย่างรวดเร็วและแข็งแรง กิ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ – ๑.๕ ซม. มีผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาลมีตาที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลงศัตรูพืช เช่น รากเน่า ใบด่าง ถ้าอายุกิ่งอ่อนเกินไป อาหารที่สะสมไว้ในกิ่งจะไม่พอที่รากจะงอกได้ ถ้ากิ่งแก่เกินไปตาของกิ่งจะเป็นตาที่พักตัวหรือเรียกทั่วไปว่าตาฝ่อ การแตกกิ่งจะไม่ดี กิ่งที่เหมาะควรเป็นกิ่งที่ได้จากแปลงที่เตรียมไว้สำหรับทำกิ่งพันธุ์โดย เฉพาะ ซึ่งมีการดูแลรักษาและใส่ปุ๋ยเป็นอย่างดี เพื่อให้กิ่งพันธุ์มีอาหารเพียงพอ
๓. ตัดท่อนพันธุ์ด้วยการการไกรตัดแต่งกิ่งหรือมีมีดคมๆเพื่อไม่ให้ท่อนพันธุ์ ฉีกและซ้ำได้ให้ท่อนพันธุ์มีขนาดความยาวท่อนละประมาณ ๒๐ ซม. หรือมีตาหม่อนอยู่บนท่อนพันธุ์ประมาณ ๔ – ๕ ตา โดยตัดส่วนบนของท่อนพันธุ์ให้มีลักษณะตรงเหนือตาบนสุดประมาณ ๑ ซม. (ถ้าตัดเฉียงจะทำให้มีการคายน้ำสูง และอาจผิดพลาดเวลาปลูก) ส่วนโคนของท่อนพันธุ์ตัดเฉียงประมาณ ๔๕ องศา เป็นรูปปากฉลากตัดต่ำกว่าข้อตาล่างสุดประมาณ ๑.๕ ซม. โดยให้ด้านเฉียงอยู่ตรงข้ามกับตาล่างสุด
๔. หลังจากเตรียมท่อนพันธุ์เสร็จแล้ว ควรรีบนำไปปลูกหรือปักชำทันที ถ้าหากไม่สามารถนำไปปลูกหรือชำได้ทันทีให้เอาท่อนพันธุ์เก็บไว้ในร่ม ใช้แกลบเผาหรือขี้เลื่อยหรือกระสอบคลุมไว้แล้วรดน้ำให้ชุ่มวันละครั้ง จะสามารถเก็บท่อนพันธุ์ไว้ได้นาน ๒ สัปดาห์ในหน้าฝนหรือ ๑ สัปดาห์ในหน้าแล้ง
ในกรณีที่กิ่งพันธุ์ที่เกษตรกรไปขอรับจากแหล่งขยายพันธุ์ถูกทิ้งไว้หลายวัน ซึ่งทำให้กิ่งและตาเหี่ยว เมื่อนำไปปลูกจะทำให้มีเปอร์เซ็นต์ตายสูง ดังนั้น ควรบ่มท่อนพันธุ์เสียก่อนโดยกานำท่อนพันธุ์ที่เตรียมแล้วมามัดรวมกันมัดละ ประมาณ ๑๐๐ ท่อน วางเรียงแถวตั้งเป็นกองไว้ในร่ม คลุมด้วยเศษหญ้าหรือเศษฟางแล้วรดน้ำวันละ ๑ – ๒ ครั้ง ประมาณ ๑ สัปดาห์กิ่งพันธุ์จะมีลักษณะสด ตาสีเขียวตูม เมื่อนำไปปลูกในแปลงที่เตรียมไว้จะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกสูง
ที่มา : กรมหม่อนไหม