สบู่ไหม

     อดีตกาลที่ผ่านมาเมื่อพูดถึงสินค้าเกษตรคนทั่วไปจะพูดถึง ข้าว ไม้สัก เป็นสินค้าหลัก มีดีบุกที่เป็นทรัพย์ในดินติดตามเป็นอันดับสาม ปัจจุบันไม้สักและดีบุกเสื่อมหายไปจากความทรงจำของคนไทยในฐานะ สินค้าเพื่อส่งออก คงเหลือไว้เป็นอนุสรณ์ในการตัดไม้ทำลายป่า ทำลายสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ สิ่งที่คงเหลือเป็นสินค้าเกษตรดั้งเดิม มีเพียงข้าว ซึ่งนอกจากจะเป็นสินค้าสำคัญแล้วยังเป็นวัฒนธรรมของคนไทย ที่มีมาแต่โบราณกาล มีการแห่นางแมวขอฝน บุญบั้งไฟขอฝน บวงสรวงเจ้าแม่โพสพ เป็นต้นวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยที่เกี่ยวข้องกับผลิตผลด้านการเกษตรนั้น มิใช่มีเฉพาะข้าวเท่านั้น ยังมีผลิตผลเกษตรอีกชนิดหนึ่งที่เป็นวัฒนธรรมสอบทอดกันมายาวนานซึ่งไม่เพียงเฉพาะประเทศไทยแต่ยังรวมถึงอารยประเทศอื่นๆ อีกด้วยนั่นคือ

การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

     คนทั่วไปเมือพูดถึงไหมก็จะนึกถึง แพรพรรณ เครื่องนุ่งห่มที่สวยงาม โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงในรั้ว ในวัง เป็นแพรพรรณสำหรับพ่อค้า คหบดีที่มีฐานะเท่านั้น คงไม่มีใครคิดว่าประโยชน์ที่ได้จากหม่อนและไหมนั้น ยังมีอีกมากมายเกินกว่าจะประเมินมูลค่าได้ ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงทำให้โลกเห็นประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพ หันไปใช้ประโยชน์จากสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมากขึ้น ใครจะนึกไปถึงว่าสิ่งเหลือใช้จากการผลิตเส้นไหมจะสามารถเพิ่มมูลค่าของตัวมันเองได้อย่างมหาศาลจากเศษไหมราคาเพียงไม่กี่ร้อยบาทเมื่อผ่านกรรมวิธีการผลิตแล้ว จะได้ผงไหมที่มีคุณค่ามหาศาล เพิ่มมูลค่าของเศษวัตถุดิบได้เป็นสิบเท่า โดยเฉพาะผงไหมที่ได้จากพันธุ์ไหมไทย ดั้งเดิมของไทยเรา

     ประเทศไทยมีการผลิตเส้นไหมได้ปีละประมาณ 1,300-1.400 ตัน ในจำนวนนี้มีเศษเหลือใช้จากไหมปีละ 300-400 ตัน โดยมิได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า คงมีเพียงบางส่วนที่นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์และบางส่วนจำหน่ายเป็นวัตถุดิบซึ่งรวมแล้วมีมูลค่าเพียง 41-95 ล้านบาทเท่านั้น หากนำมาผลิตเป็นผงไหมจำหน่ายมูลค่าจะเพิ่มเป็น 720-1,800 ล้านบาท

ผงไหม

     คือโปรตีนที่ผลิตมาจากส่วนของใยไหม (ทั้งจากส่วนรังไหมและเส้นไหม) มี 2 ชนิดคือ ผงโปรตีนจากส่วนของกาวไหมที่เคลือบอยู่โดยรอบเส้นใยเรียกว่า ผงไหมเซริซิน (Sericin) และผงโปรตีนจากเส้นใยซึ่งลอกเอากาวไหมออกแล้วเรียกว่า ผงไหมไฟโบรอิน (Fibroin) ประเทศไทยเริ่มวิจัยการผลิตผงไหมครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยกรมวิชาการเกษตร (ประทีปและคณะ, 2541) ต่อมาในปี พ.ศ.2541 จึ่งได้ทำจึงได้ทำวิจัยร่วมกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เพื่อให้ได้เทคนิคการเพิ่มผลผลิตและปลอดเชื้อด้วยรังสี หลังจากนั้นจึงวิจัยการทำผลิตภัณฑ์สบู่ไหมไทยร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปี 2544 โดยใช้ผงไหมเซริซินที่ผลิตมาจากน้ำที่ต้มลอกกาวไหมหรือน้ำต้มสาวไหม ซึ่งปกติเมื่อเลิกสาวไหมในแต่ละวันแล้วเกษตรกรก็จะทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์

     นับตั้งแต่ไทยประสบวิกฤติทางเศรษฐกิจ ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องหาผลิตภัณฑ์สินค้าใหม่ที่จะเข้ามาทดแทนสินค้าด้านการเกษตรเดิม ประกอบกับโลกยุคโลกาภิวัฒน์ มีการแข่งขันเกี่ยวกับทางการค้ามากขึ้น มีการจับจองแสดงความเป็นเจ้าของในความหลากหลายทางชีวภาพอย่างชัดเจน ไทยเป็นประเทศหนึ่งซึ่งต้องเข้าสู่วังวนนั้น ซึ่งงานวิจัยด้านการเกษตรต้องมีการพัฒนาขึ้น มีการใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า นักวิชาการของกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติได้ร่วมกันทำงานวิจัย เพื่อผลิตเป็นผงไหมไทยที่มีคุณมหาศาลทั้งด้านการเป็นเวชภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและเครื่องสำอาง ผงไหมไทยที่ได้ มีโปรตีนธรรมชาติที่บริสุทธิ์ถึง 18 ชนิด มีสารต้านอนุมูลอิสระ และมีสารที่ช่วยกำจักจุลินทรีย์บางชนิด ที่เป็นสาเหตุของโรงผิวหนังของมนุษย์ ต่อต้านไวรัสโรคเริม และงูสวัด รักษาปริมาณน้ำในผิวหนัง ช่วยทำให้ผิวชุ่มชื่น เนียนนุ่ม ซึ่งพิสูจน์ได้โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังสูง ดูอนุภาคของผงไหม และเห็นว่าเป็นอนุภาคขนาดเล็กที่สามารถซึมซับเข้าไปในผิวหนังได้อย่างน่ามหัศจรรย์ นอกจากนั้นยังสามารถกำจัดสิ่งสกปรกในเซลล์ทำให้เซลล์ผิวหนังแข็งแรงเป็นการยึดอายุเซลล์ และช่วยให้เซลล์ที่เกิดอาการอักเสบซึ่งอาจจะมีสาเหตุจากสิ่วฝ้าให้คืนสภาพได้เร็วขึ้น

     จากประโยชน์ที่ได้จากผงไหมไทยดังกล่าว คณะนักวิจัยยังได้มองไปถึงความปลอดภัยต่อผู้ใช้ จึงได้ศึกษาถึงผลกระทบที่อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ของผิวหนัง ศึกษาถึงเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง ก่อนที่จะนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ ศึกษาถึงกระบวนการทำให้ผงไหมปลอดจากเชื้อจุลินทรีย์ โดยการใช้รังสีแกมมาในอัตราที่ปลอดภัยต่อมนุษย์ ตามมาตรฐานสากลแลเพื่อการเก็บผงไหมให้คงคุณภาพที่ดีก่อนทำเป็นผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้น จากการศึกษาของคณะนักวิจัยและจากการตรวจเอกสารยังพบว่า ผงไหมที่ได้จากไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน มีคุณสมบัติทั้งด้านเคมีและกายภาพสูงกว่าผงไหมที่ได้จากพันธุ์ต่างประเทศทั้งด้านปริมาณกรดอะมิโนและสารต้านอนุมูลอิสระ

     จากพระราชกรณียกิจ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของไทย ต้องการที่จะอนุรักษ์อาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้คงอยู่คู่ประเทศไทยตลอดไป ทั้งนี้เนืองจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม มิใช่เป็นเพียงอาชีพเท่านั้น ยังเป็นวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา ของปวงชนชาวไทย โดยเฉพาะไหมพันธุ์ไทยแท้ ที่เรียกว่าพันธุ์ “ไทยพื้นบ้าน” ซึ่งมีลักษณะและคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากพันธุ์ไหมพันธุ์อื่นๆ ทั้งด้านคุณสมบัติของเส้นใยที่นำมาถักทอเป็นแพรพรรณ และคุณสมบัติอื่นๆ ทรงมีพระราชดำรัสในการเสด็จทรงงานศูนย์ศิลปาชีพในพื้นที่ทุรกันดาร ซึ่งท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้รับใส่เกล้ามาถ่ายทอดให้คณะผู้วิจัยฟังว่า

     จากกระแสพระราชดำรัสอยากให้คนไทยได้ใช้ของไทยที่มีคุณภาพดี เทียบเท่าในราคาที่ไม่สูงเกินไป คณะวิจัยที่ประกอบด้วย กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จึงได้พร้อมใจกันทูลเกล้า ถวายเทคโนโลยีการผลิต “สบู่ผงไหมไทย” ของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” เนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติครบรอบ 72 พรรษา

     ในการนี้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระเมตตาต่อปวงชนชาวไทย ให้ได้ใช้ของดี ได้ทรงพระราชทานกลิ่นหอมที่พระองค์ทรงเลือกนำมาผลิตเป็นสบู่ พร้อมกับพระราชทานชื่อ ที่ฟังดูเป็นไทย และมีความหมายอันลึกซึ้ง มาด้วย 4 กลิ่นด้วยกัน พร้อมกันนั้นได้ทรงพระเมตตาพระราชทานผ้าไหมไทยสีฟ้าและหลายกหลายของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ซึ่งทรงรับซื้อจากชาวบ้าน ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ มาเป็นวัสดุที่ใช้ทำกล่องใส่ “สบู่ไหมไทย” พร้อมกับทรงอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ มาประดับฝากล่อง ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นเหลือในกระบวนการผลิตสบู่ไหมไทยนั้นนอกจากคุณสมบัติของผงไหมไทยดังที่กล่าวมาแล้ว ยังประกอบด้วยคุณค่า “ผ้าไหมไทย” ที่ได้จากไหมพันธุ์ไทยแท้ (พันธุ์พื้นบ้าน) อีก 3 ชนิด คือ

● ผ้าไหมลายเกล็ดเต่าใช้ทำกล่อง “สบู่ไหมไทย” ขนาดบรรจุ 1 ก้อน จำหน่ายในราคากล่องละ 172 บาท

● ผ้าไหมลายลูกแก้ว ใช้ทำกล่อง “สบู่ไหมไทย” ขนาดบรรจุ 4 ก้อน 4 กลิ่น ในราคากล่องละ 672 บาท

     “สบู่ไหมไทย” ขนาดบรรจุต่างๆ จะประกอบด้วย คำบรรยายชนิดของผ้าไหมแต่ละชนิดที่ใช้ทำกล่องเป็นภาษาไทยจึงเหมาะอย่างยิ่งที่ใช้เป็นของขวัญ ของที่ระลึกที่จะมอบให้แก่กันในโอกาสเป็นมงคลต่าง นอกเหนือจากการใช้เพื่อสุขภาพทั้งกายและจิตใจของตนเอง รายได้ที่รับ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จะได้นำขึ้นทูลเกล้าถวายโดยเสด็จพระราชกุศลทั้งสิ้น

     เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2547 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้ ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำคณะผู้บริหารระดับสูงของ 3 กระทรวงหลักที่ทำวิจัยสบู่ไหมไทยเข้าเฝ้า ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ประกอบด้วย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.เกษตรและสหกรณ์, นายกร ทัพพะรังษี รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ รมว.กระทรวงสาธารณสุขพร้อมด้วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะผู้วิจัย ได้ทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรสบู่ไหมไทย พร้อมด้วยผลิตภัณฑ์สบู่ไหมไทย พร้อมด้วยผลิตภัณฑ์สบู่ไหมไทยจำนวน 72,000 ก้อน ที่กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ผลิตขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547 เพื่อให้มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้จำหน่ายและนำรายได้ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย

ที่มา : กรมหม่อนไหม