เส้นใยไหมได้นำมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มมาช้านานแล้ว ในปัจจุบันหลายประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่น และจีนได้มีการศึกษานำเอาวัสดุเหลือใช้จากไหม เช่น เศษเส้นไหมที่เกิดขึ้นระหว่างการสาวไหม หรือรังไหมที่ตัดแล้ว มาพัฒนาเป็นผงไหมซึ่งเป็นโปรตีนธรรมชาติประกอบไปด้วยกรดอะมิโน18 ชนิด แล้วนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้ทำเครื่องสำอาง อาหาร และเป็นวัสดุทางการแพทย์ การศึกษานี้ใช้ไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศและใช้รังไหมเป็นวัสดุสำหรับผลิตผงไหม นำรังไหมที่ได้ตัดและเอาดักแด้กับคราบของหนอนไหมที่อยู่ในรังออก แล้วตัดให้มีขนาดประมาณ1 ตารางเซนติเมตร จึงลอกกาวเซริซินออกด้วยน้ำสารละลาย Na2 CO3 0.5% (สัดส่วน 1:100) 2 ครั้ง โดยต้มที่อุณหภูมิที่ 98 + 2 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ผึ่งลมให้แห้งในที่ร่มจะได้สารไหมไฟโบรอิน ต้มสารไหมไฟโบรอินด้วยสารละลายCaCl2 50% (สัดส่วน 1:20) พบว่าละลายได้ช้า จึงต้มสารไหมไฟโบรอินด้วยสารละลายผสมระหว่าง CaCl2 น้ำ และ Ethyl alcchol (สัดส่วนของโมล = 1:8:2) ใช้สารไหมไฟโบรอิน15 กรัม ต่อสารละลายผสม 100 มิลลิลิตร เทสารไหมไฟโบรอินที่ละลายแล้วลงในCellulose membrane tube นำไป dialyse ด้วยน้ำสะอาด3 วัน จากนั้นทำให้เป็นน้ำแข็งและนำเข้าเครื่อง freeze dry แล้วบดด้วยเครื่องบด จะได้ผงไหมมีลักษณะคล้ายแป้งสีขาว สัมผัสด้วยมือ มีความลื่นมัน ชิมดูไม่มีรส และไม่มีกลิ่น
ผงไหมที่เตรียมได้จากสารละลายCaCl2 ละลายน้ำได้ไม่ดี จึงใช้สารไหมไฟโบรอินละลาย HCI ไหมมีลักษณะคล้ายแห้ง ไม่ขาวเหมือนกับผลไหมที่เตรียมได้โดยวีธีแรกแต่ละลายน้ำได้ดีกว่า ได้ทำการเตรียมผงไหมไฟโบรอินชนิดละลายน้ำ ด้วยสารละลายผสมที่มีเกลือ Calcium Chloride กับผงไหมที่เตรียมจากกรดเกลือ 1N และ2N ผงไหมที่ได้ชนิดแรกมีสีขาว ผงไหมชนิดหลังมีสีขาวออกเหลืองอ่อน เพื่อความปลอดภัยต่อการนำผงไหมไปทำผลิตภัณฑ์อาหาร จึงได้นำผงไหมทั้ง 2 ชนิดไปวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนในผงไหมพบว่าผงไหมไฟโบรอินที่เตรียมจากกรดเกลือ1N และ 2N มีสารปนเปื้อน เช่น ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท และสารหนูต่ำกว่ามาตรฐานสากล
ที่มา : กรมหม่อนไหม