การย้อมสีเส้นไหมนับเป็นกระบวนการหนึ่งในการผลิตผ้าไหมของเกษตรกร และการย้อมสีจากสีที่ได้จากวัตถุดิบตามธรรมชาตินับเป็นภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมาแต่อดีต แม้ว่ากระบวนการย้อมจะยุงยาก สีที่ย้อมได้ซีดจางง่าย ไม่คงทนต่อแสงและการซัก แต่ความนิยมในการใช้ผลิตภัณฑ์ย้อมสีธรรมชาติกลับเพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยเหตุผลที่สำคัญ คือ ทำให้ผู้สวมใส่ไม่เกิดอาการแพ้และของเสียที่เกิดขึ้นไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ข้อจำกัดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ย้อมสีธรรมชาติที่สำคัญ คือ การขาดแคลนวัตถุดิบโดยเฉพาะแก่นไม้ และการขาดเทคนิคการย้อมเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ดังนั้น งานวิจัยด้านการย้อมสีธรรมชาติ จึงเน้นไปที่การพัฒนาเทคนิคการย้อมสีธรรมชาติจากส่วนของพืชที่มีปริมาณมากหรือพืชที่เจริญเติบโตเร็ว เพื่อให้ได้เทคนิคการย้อมสีที่มีความคงทนต่อแสงและการซัก ดังนี้
• ค่าความเป็นกรดด่างในน้ำย้อมครามได้นำน้ำด่างธรรมชาติที่ได้จากการเผาเหง้ากล้วย และน้ำกรดที่ได้จากการต้มมดแดงมาผสมกันในอัตราส่วนต่าง ๆ แล้วเทลงในหม้อน้ำคราม จากนั้นวัดค่าความเป็นกรดด่าง ก่อนนำเส้นไหมลงย้อมพบว่า น้ำครามที่มีความเป็นกรดด่าง9.7 เส้นไหมจะติดสีดีที่สุด
• การใช้สีธรรมชาติเพื่อทำผ้ามัดหมี่โฮลได้ใช้สีธรรมชาติทำผ้ามัดหมีโฮล4 ชนิด คือ สีเหลืองจากเขและประโฮด สีแดงจากครั่ง และสีน้ำเงินจากคราม พบว่า สีธรรมชาติทั้ง4 ชนิด มีการแสดงออกของความเป็นแม่สีอย่างชัดเจน และสามารถผสมสีย้อมและย้อมผสมสีให้เกิดสีต่าง ๆ บนผ้ามัดหมี่โฮลได้ถึง 5 สี สีเหลืองทอง ได้จากการย้อมสีแดงจากครั่งก่อนแล้วย้อมสีเหลืองทับ สีฟ้า ได้จากการย้อมสีน้ำเงินจากครามลงโดยตรงบนเส้นไหมที่ฟอกแล้ว สีเขียว ได้จากการย้อมสีเหลืองทองก่อนแล้วย้อมสีน้ำเงินจากครามทับ สีดำ ได้จากการย้อมสีแดง อมสีทองก่อนแล้วย้อมก่อนแล้วย้อมสีน้ำเงินจากครามทับ
• กลุ่มพืชให้สีดำโดยสกัดจากพืช5 ชนิด ได้แก่ ใบหญ้าวงช้าง ผลตะโกนา ผลกระบก ผลคนทา และเปลือกเงาะโรงเรียน ใช้วิธีสกัดสี 7 วิธีการ และใช้สารช่วยติดสี 7 ชนิด ได้แก่ สารส้ม จุนสี โซเดียมคาร์บอเนต เฟอรัสซัลเฟต น้ำมะขาม น้ำต้มใบยูคาลิปตัส และน้ำโคลน จากผลการทดลองพบว่า
กรดสกัดสีจากหญ้าวงช้างโดยใช้ใบสดบดคั้นน้ำ ใบสดตากแห้งต้ม อัตรา 1:1 โดยน้ำหนัก และใช้สารช่วยติดสี โซเดียมคาร์บอเนต ให้สีน้ำตาลอมเขียว มีความคงทนต่อการซักระดับ 4/5 และความคงทนต่อแสงระดับ 5 และ4 ส่วนใช้ใบสดหมักกับน้ำผสม 3% โซเดียมคาร์บอเนต แช่ในสารช่วยติดสีเช่นเดียวกัน จะให้สีขาวนวล มีคุณภาพของการซักและความคงทนต่อแสงแดดเช่นเดียวกัน ส่วนการใช้น้ำต้มใบยูคาลิปตัสเป็นสารช่วยติดสีได้เส้นไหมที่เหลืองนวน มีคุณภาพของการซักระดับ4/5 และความคงทนต่อแสงระดับ 4/5 (ดี)
ในส่วนของตะโกนา ใช้สกัดจากผลสดตากแห้งต้มและใช้จุนสีเป็นสารช่วยติดสี จะให้สีน้ำตาลเข้ม คุณภาพของการซักระดับ 4/5 ไม่เปลี่ยนสี มีความคงทนต่อแสงระดับ 5/6 (ดีมาก)สำหรับกระบก วิธีสกัดโดยใช้ผลสดบดคั้นน้ำหรือต้มแล้วนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมมาหมักด้วยน้ำโคลน 48 ชั่วโมง แล้วนึ่ง จะได้เส้นไหมสีเทาดำ มีความคงทนต่อการซักระดับ 4/5 และ4 ซึ่งมีความคงทนต่อแสงระดับ 4 (ดีพอใช้) คนทา สามารถสกัดสีได้หลายวี โดยใช้ผลสดนึ่งหมักกับน้ำ72 ชั่วโมง หมักเส้นไหมหลังย้อมด้วยน้ำโคลน 48 ชั่วโมงแล้วนึ่ง จะได้สีเทาดำ มีความคงทนต่อการซักระดับ 4/5 และความคงทนต่อแสงระดับ 6 (ดีมาก) ถ้าใช้ผลสดคั้นน้ำแล้วหมักในน้ำโคลนเช่นเดียวกัน จะได้สีน้ำตาลดำแดง คงทนต่อการซักระดับ4/5 และคงทนต่อแสงระดับ 5/6 (ดีมาก) เงาะโรงเรียน สามารถนำมาสกัดสีได้โดยการต้มเปลือกเงาะอัตรา1:1 โดยน้ำหนัก ย้อมเส้นไหมแล้วนำไปหมักโคลน นาน 48 ชั่วโมง แล้วนำมานึ่งด้วยไอน้ำ ได้สีดำประกายแดง คงทนต่อการซักระดับ 4/5 และความคงทนต่อแสงระดับ 4/5 สีไม่ตก
• กลุ่มสีม่วงโดยสกัดจากพืช4 ชนิด ได้แก่ หว้าผลใหญ่ หว้าผลเล็ก มะหวด และเปลือกมังคุด และแช่ในสารละลายสารช่วยติดสี 8 ชนิด ได้แก่ สารส้ม จุนสี โซเดียมคาร์บอเนต เกลือแกง สนิมเหล็ก น้ำมะขามเปียก น้ำต้มใบยูคาลิปตัส และกรดฟอร์มิค จากผลการทดลองพบว่า เส้นไหมที่ย้อมด้วยมะหวด ไม่ทนต่อแสงทุกวิธีการ ส่วนเส้นไหมที่ย้อมด้วยหว้าผลใหญ่ หว้าผลเล็ก และเปลือกมังคุด ขึ้นอยู่กับสารช่วยติดสีแต่ละชนิดและวิธีการสกัดน้ำสี เช่น หว้าผลใหญ่ ควรสกัดน้ำสีโดยใช้ผลสดต้มกับน้ำผสม3% โซเดียมคาร์บอเนต และแช่จุนสี จะได้สีเขียวขี้ม้ามีความคงทนต่อการซัก4/5 และความคงทนต่อแสงระดับ 5 (ดี) และสกัดสีโดยใช้ผลนึ่ง– ตากแห้ง แช่จุนสีจะได้สีเขียวทอง มีความคงทนต่อการซักระดับ 4/5 และความคงทนต่อแสงระดับ 4/5 (ดี)
ในหว้าผลเล็ก ควรสกัดด้วยวิธีใช้ผลสดต้มกับน้ำผสม3% โซเดียวคาร์บอเนต สามารถผ่านสารช่วยติดสีได้หลายชนิดที่ได้ความคงทนต่อการซักและแสงได้ดี ได้แก่ จุนสี ได้สีน้ำตาลเหลืองเขียว และความคงทนต่อการซักระดับ 4/5 และความคงทนต่อระดับแสดง 5/6 (ดีมาก), โซเดียมคาร์บอเนต สีน้ำตาลเหลืองทองมีความคงทนต่อแสงระดับ 4 (ดี) ความคงทนต่อการซักระดับ4/5 เช่นเดียวกับการแช่ในน้ำมะขามเปียก ถ้าแช่ในสนิมเหล็ก จะได้สีเขียวเทา มีความคงทนต่อแสงระดับ 5/6 (ดีมาก) ใช้ผลสดคั้นกับน้ำแล้วหมัก 1 – 3 คืน ผ่านจุนสี ได้สีเขียวขี้ม้า มีความคงทนต่อแสงระดับ 4 (ดี) ความคงทนต่อการซักระดับ4 ส่วนการใช้ผลนึ่ง – ตากแห้ง แล้วต้มแช่ในโซเดียมคาร์บอเนต ให้สีน้ำตาลทอง ความคงทนต่อแสงระดับ 4/5
สำหรับการสกัดสีเปลือกมังคุด โดยใช้เปลือกต้มสกัดกับน้ำผสม3% โซเดียมคาร์บอเนต และแช่ในจุนสีได้สีเขียวขี้ม้า ความคงทนต่อแสงระดับ 5/6 ถ้าแช่ในน้ำมะขามเปียก จะได้สีน้ำตาล มีความคงทนต่อแสงระดับ 5 วิธีการสกัดสีและชนิดของสารช่วยติดสี10 วิธีการนี้ สามารถนำไปใช้ทอผ้าไหมที่มีคุณภาพของสีที่ไม่ตกและไม่เปลี่ยนสี เมื่อผ่านการซัก และมีความคงทนต่อแสงในระดับดีพอใช้ถึงดีมาก
• สีจากเมล็ด คำแสดคำแสด (Bixa orellana Linn) การสกัดสีเมล็ดคำแสดมีด้วยกันหลายวิธี วิธีที่ดีที่สุด คือ การนำเมล็ดคำแสด 1 กิโลกรัม ต้มในน้ำเดือด 2 ลิตร นาน 30 นาที แล้วหมักทิ้งไว้ 3 วัน ต่อจากนั้นขยี้เมล็ดคำแสดที่หมักไว้ เพื่อให้ผงสีออกจากเมล็ดให้หมด แล้วกรองเอากากทิ้ง นำไปเคี่ยวจนกระทั่งแห้ง นำไปตากแดดและบดให้เป็นผง จะได้ผงสี 34.53 กรัม เมื่อนำไปวัดความเข้มข้นของสีส้มในน้ำสีด้วยเครื่อง spectropho tometer เทียบกับสีส้มมาตรฐานที่ 498 ทาโนเมตร (peak) ปรากฏว่ามีความเข้มข้นของสีส้มมากที่สุด คือ 43.12 มิลลิกรัม/ลิตร และเมื่อนำไปย้อมผ้าไหมแล้วไม่ทำให้คุณภาพทางด้านความเหนียวและการยืดตัวของผ้าเปลี่ยนแปลงจากเดิม ส่วนความคงทนของสีที่สกัดได้พบว่า ผ้าที่ย้อมด้วยสีที่สกัดได้มีความคงทนต่อเหงื่อและความคงทนต่อการซักอยู่ในระดับดีถึงดีมาก แต่ไม่คงทนต่อแสง
• สีจากใบขี้เหล็กบ้านสกัดสีใบขี้เหล็กบ้านโดยต้มใบแก่หนัก200 กรัม และ 500 กรัมกับสารละลาย 1% กรดน้ำส้ม, 3% กรดน้ำส้ม และน้ำ เปรียบเทียบคุณภาพน้ำที่สีสกัดได้พบว่า น้ำสีที่สกัดได้ล้วนมีฤทธิ์เป็นกรด มี pH ในช่วง 3.4 – 3.5, 3.12 และ 3.9 – 4.2 ตามลำดับ เมื่อย้อมเส้นไหมด้วยสีสกัดใบขี้เหล็กบ้าน500 กรัม/ลิตร ด้วยน้ำและ 10% กรดน้ำส้ม เส้นไหมติดสีเหลืองอมน้ำตาล สีคงทนต่อแสงระดับดีมาก (ระดับ 5) และคงทนต่อการซักระดับดีและดีกว่าเมื่อย้อมด้วยสีที่สกัดน้ำสีด้วย3% กรดน้ำส้ม สีที่สกัดจากใบขี้เหล็กบ้าน200 กรัม/ลิตรด้วยน้ำย้อมเส้นไหมติดสีครีมอมเหลืองน้ำตาลอ่อนมาก และเส้นไหมเป็นสีเขียวอมเหลืองเมื่อย้อมด้วยน้ำสีที่สกัดด้วยสารละลายกรดน้ำส้ม สีเขียวอมเหลืองที่ย้อมได้เปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาลเมื่อถูกแสง จากการศึกษาผลของสารช่วยติดสีเข้มข้น5% ต่อน้ำหนักไหม 10 ชนิด พบว่าสารช่วยติดสีที่ช่วยให้ย้อมเส้นไหมได้สีเหลืองตามต้องการ และสีมีความคงทนต่อแสงดี สีไม่เปลี่ยนและซีดลงเพียงเล็กน้อย (ระดับ 4/5) รวมทั้งการตกติดผ้าอื่นน้อยมาก คือ จุนสี สารส้ม น้ำต้มใบยูคาลิปตัส การแช่เส้นไหมสารละลายช่วยติดสีก่อนการย้อม ให้ผลการย้อมดีกว่าการแช่เส้นไหมภายหลังการย้อมในน้ำย้อม (ย้อมพร้อมกัน) กรดอินทรีย์ที่ใช้เป็นสารช่วยติดสีและน้ำมะขามเปียก แม้มีผลให้สีที่ย้อมได้มีความคงทนต่อแสงและการซักดีแต่สีที่ได้สีเหลืองอ่อนจางมาก ส่วนสารช่วยติดสีพวกด่าง เส้นไหมย้อมติดสีเขียวอมเหลืองซีด และสีเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่อถูกแสงนานกว่า20 ชั่วโมง
• สีจากขมิ้นเครือการย้อมสีเส้นไหมด้วยขมิ้นเครือโดยใช้ขมิ้นเครือในอัตรา60 กรัม 80 กรัม และ 100 กรัม/ น้ำ 2 ลิตร อุณหภูมิ 90 – 95 องศาเซลเซียส ที่ระยะเวลา 30, 60 และ 90 นาที พบว่า การต้มเคี่ยวในอัตรา 100 กรัมในเวลา 90 นาที ทำให้ปริมาตรน้ำหลังต้มเคี่ยวลดลงมากที่สุดจากเดิม2 ลิตร เหลือเพียง 0.9 ลิตร แต่เมื่อนำไปย้อมเส้นไหมจะได้สีเหลืองอมเขียวคล้ำ แตกต่างจากอัตราการต้มเคี่ยว 100 กรัม เวลา 60 นาที พบว่า น้ำที่ต้มเคี่ยวเหลือ 1.4 ลิตร และเมื่อนำไปย้อมเส้นไหมจะได้สีเหลืองทองสวยงาม ส่วนผสมของอุณหภูมิและเวลาในการย้อม จากการศึกษาอุณหภูมิที่ย้อม4 ระดับ คือ 65, 75, 85 และ95 องศาเซลเซียส ที่เวลา 30, 60 และ90 นาที พบว่าการย้อมที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน ทำให้เส้นไหมแตกเป็นขน ส่วนการย้อมที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส นาน 90 นาที ทำให้เส้นไหมติดสีดีและไม่แตกเป็นขน
การทดลองวิธีการใช้สารช่วยติดสีในการย้อม ดำเนินการทดลอง3 วิธีการ คือ การแช่ก่อนย้อม ใส่พร้อมน้ำย้อม และแช่หลังย้อม ซึ่งสารช่วยติดสีมี 10 ชนิด คือ เกลือสินเธาว์, โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต, โซเดียมไบคาร์บอเนต, คอปเปอร์ซัลเฟต, น้ำมะนาว, โซเดียมซิลิเกต, น้ำส้มสายชู, โซเดียมคอรไรด์, เกลือทะเล และน้ำมะขามเปียก พบว่าการใช้สารช่วยติดสีชนิดเป็นด่างทุกวิธีการ ทำให้เส้นไหมที่ย้อมติดสีได้ดี สีสว่างสดใสเป็นมันวาว การใช้สารช่วยติดสีประเภทเกลือทุกวิธีการ ทำให้เส้นไหมที่ย้อมติดสีดี เส้นไหมที่ได้สีเหลืองทอง การใช้สารช่วยติดสีชนิดที่เป็นกรดทุกวิธีการ ทำให้เส้นไหมที่ย้อมสีจากกว่าการใช้สารช่วยติดสีชนิดที่เป็นด่างเกลือ ส่วนการทดสอบความคงทนของสีต่อแสงและการซักนั้น การใช้สารช่วยติดสีทุกชนิดทุกวิธีการอยู่ในระดับ2 – 3 ซึ่งเป็นระดับคุณภาพต่ำปานกลาง นั่นคือเมื่อโดนแสงแดดทำให้สีเปลี่ยนไป และเมื่อซักสีตกติดผ้าไหมและสีซีดลง
• สีจากใบเทียนกิ่งการย้อมสีเส้นไหมจากใบเทียมเพื่อให้ทราบขั้นตอนการสกัดสี การย้อมและการใช้สารช่วยติดสี ในระยะเวลาการต้มย้อมนานต่างกัน 5 ระดับ คือ แช่เส้นไหมในน้ำสีย้อมค้างคืน ย้อมที่ 60 องศาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมง ย้อมที่ 60 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง ย้อมที่ 90 องศาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมง และย้อมที่ 90 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง ผลการทดลองปริมาณวัตถุดิบ น้ำที่เหมาะสมมีค่า pH ของน้ำ อยู่ที่5.3 และ 5.1 จากการตรวจลักษณะทางกายภาพของน้ำสกัดที่ได้เป็นสีน้ำตาลแดงและน้ำตาล เมื่อนำไปย้อมกับเส้นไหมที่อุณหภูมิและระยะเวลาต่างกัน5 ระดับ พบว่า การย้อมที่อุณหภูมิ90 องศาเซลเซียสนาน 1 ชั่วโมง เส้นไหมจะดูดซับสีได้ดีเมื่อสังเกตทางกายภาพด้วยสายตา ขณะที่เส้นไหมแห้งจะให้สีน้ำตาลเหลือง เมื่อวัดค่า pH ของน้ำสีหลังย้อมพบว่าค่า pH ของน้ำที่ย้อมลดลงอยู่ที่5.11 และ 5.00 ศึกษาสารช่วยติดสีซึ่งประกอบไปด้วย น้ำสนิมเหล็ก น้ำปูนใส 1% กรดน้ำส้ม 1% สารส้ม และ 1% จุนสี ใส่ทั้งก่อนและหลังการย้อมพบว่า วิธีการใส่สารช่วยติดสี 1% สามารถทำให้เส้นไหมติดสีใกล้เคียงกับสีแดงมากที่สุด คือการใส่น้ำสนิมเหล็กทั้งก่อนและหลังการย้อมที่อุณหภูมิ90 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง เมื่อสังเกตด้วยสายตา และเมื่อนำตัวอย่างเส้นไหมที่ย้อม ทดสอบความคงทนต่อแสงและการซักล้างสามารถอ่านค่าได้ที่ระดับ5 – 6 และ 4 – 6
• สีจากรากยอบ้านการย้อมสีเส้นไหมจากรากยอบ้าน เพื่อให้ทราบวิธีการและขั้นตอนการสกัดสีการย้อมสี และวิธีการใช้สารช่วยติดสี ในกระบวนการย้อมสีพร้อมกันใช้ระยะเวลาในการต้มย้อมอย่างเหมาะสม โดยใช้ระยะเวลาต้มนานต่างกัน 5 ระดับ พบว่าการสกัดสีย้อมทำได้โดยการนำรากยอบ้านทั้งเปลือกรากและเนื้อรากสดหรือแห้งมาย่อยเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วต้มรวมกับน้ำในอัตรา 1:3 นาน 1 ชั่วโมงpH 5.6นำไปย้อมกับเส้นไหมที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมง และ 3 ชั่วโมง แล้วเติมด้วย 1% จุนสีหรือน้ำมะขามเปียก หลังการย้อมสีเส้นไหมที่ได้สามารถคงทนต่อแสง และการตกติดสีผ้าอื่นได้ดีกว่า
ที่มา : กรมหม่อนไหม