การเลี้ยงไหม

การเลี้ยงไหมปัจจุบันมี 2 แบบคือ

>> การเลี้ยงไหมแบบครัวเรือน

>> และการเลี้ยงไหมแบบอุตสาหกรรม

การเลี้ยงไหมแบบครัวเรือน

แหล่งที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงไหม

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงไหม อุณหภูมิอยู่ในช่วง 20 – 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 – 80 เปอร์เซ็นต์

โรงเลี้ยงไหมต้องห่างไกลจากแหล่งการใช้สารเคมีทางการเกษตร และโรงงานอุตสาหกรรม

สภาพโรงเลี้ยง

1) สร้างในแนวตะวันออกและตะวันตก

2) สะดวกต่อการทำความสะอาด และสามารถที่จะฉีดอบสารเคมีเพื่อ ฆ่าเชื้อโรค

3) มีการถ่ายเทอากาศได้ดี

4) สามารถป้องกันศัตรูหนอนไหมได้ เช่นแมลงวันลาย จิ้งจก ตุ๊กแก หนู และมด

5) ควรปลูกต้นไม้ยืนต้นรอบ ๆ โรงเลี้ยงเพื่อลดความร้อนจากแสงแดด

ขนาดโรงเลี้ยง สำหรับเลี้ยงไหม 2 แผ่น :ไหมพันธุ์ไทยลูกผสม ใช้ขนาด 4 x 7 เมตร ชั้นเลี้ยง ขนาด 1.2 x 5 เมตร จำนวน 3 ชั้น (2 ชุด)

ปัจจัยสำคัญในการสร้างโรงเลี้ยงไหม

1) โรงเลี้ยงไหมควรอยู่ห่างจากบ้านพักอาศัยประมาณ 10 – 20 เมตร เพื่อสะดวกในการรักษาความสะอาดและการฉีดอบสารเคมีฆ่าเชื้อโรค

2) หลังคาควรเลือกวัสดุที่เป็นฉนวนกันความร้อน และน้ำได้ดี พื้นห้องควรใช้คอนกรีต ผนังโรงเลี้ยงก่อด้วยคอนกรีตสูงจากพื้นประมาณ 50 ซม. ส่วนที่เหลือใช้ตาข่ายไนล่อนตีเป็นผนังถึงระดับเพดานห้อง

3) ควรมีห้องมืดขนาด 1.5 x 1.0 เมตร สำหรับดักแมลงวันลาย

4) ควรมีห้องเก็บใบหม่อนที่สามารถเลี้ยงไหมได้ 2 เวลา

วัสดุและอุปกรณ์

วัสดุและอุปกรณ์การเลี้ยงไหมที่จำเป็นสำหรับเลี้ยงไหมจากไข่ไหม 1 แผ่น มีดังนี้

-อุปกรณ์วัดอุณหภูมิความชื้น 1 ชุด

-มีดและเขียง( หรือเครื่องหั่นใบหม่อน ) 1 ชุด

-เครื่องฉีดฟอร์มาลีน 1 เครื่อง

-กรรไกรตัดแต่งกิ่งไม้ 1 อัน

-เครื่องลอกปุยไหม 1 ชุด

-เครื่องชั่ง (ขนาดชั่งน้ำหนักสูงสุด 15 กิโลกรัม) 1 เครื่อง

-ตะแกรงร่อนแป้ง (ชนิดที่มีตาถี่) 1 อัน

-ตาข่ายสำหรับถ่ายมูลไหมวัยอ่อน (ขนาดช่องตาข่าย1 x 1 ซม.2) ขนาด 100 ซม. X 80 ซม.10 ผืน

-ตาข่ายสำหรับถ่ายมูลไหมวัยแก่ (ขนาดช่องตาข่าย 3 x 3 ซม.2) ขนาด 100 ซม. X 80 ซม.30 ผืน

-จ่อแบบลูกคลื่น 50 อัน

-จ่อกระด้ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.50 เมตร 20 อัน

-ตะกร้าเก็บใบหม่อน 2 ใบ

-เข่งใส่ใบหม่อน 8 ใบ

-ตะกร้าให้อาหาร 4 ใบ

-ขนนก 1 อัน

-รองเท้าแตะ 1-2 คู่

-ผ้าคลุมหม่อน 5 ผืน

-ตะเกียบไม้ไผ่ 2 คู่

-ปูนขาวชนิดผงละเอียด 2 – 3 กิโลกรัมหรือแกลบเผา 100 ลิตร

-สารเคมีป้องกันโรคไหมชนิดผง 1 กิโลกรัม

-กระดาษรองกระด้ง (ขนาด 80 ซม. x 100 ซม.) 40 แผ่น

-กระดาษหนังสือพิมพ์เก่า 5 กก.

-ผงซักฟอก 1 กิโลกรัม

-สบู่ล้างมือ 1 ก้อน

-สารฟอร์มาลีน 3 % (ฟอร์มาลีน 40 % จำนวน 1 ส่วน ผสมน้ำ 13 ส่วน หรือน้ำคลอรีน (คลอรีน 60% 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร)

-ใช้ฉีดพ่นอัตรา 1 ลิตร / ตารางเมตร

-ผงซักฟอก 1-2 กิโลกรัม

-สบู่ล้างมือ 1 ก้อน

พันธุ์ไหม

พันธุ์ไหมไทย

1) พันธุ์ไหมไทยนางน้อยศรีสะเกษ 1

ลักษณะดีเด่น

1. เลี้ยงได้ง่าย มีความแข็งแรงสูง

2. อายุหนอนไหมสั้น เวลาในการเลี้ยงประมาณ 18 วัน

3. ผลผลิตต่อแผ่น/กล่อง 10 -12 กิโลกรัม

4. สาวไหมง่าย เส้นไหมสีเหลืองเข้ม

2) พันธุ์ไหมไทยนางน้อยสกลนคร

ลักษณะดีเด่น

1. ให้ผลผลิตต่อแผ่นไข่ไหม 15 -20 กิโลกรัม

2. พ่อแม่พันธุ์แยกเพศได้ในระยะหนอนไหม ทำให้สะดวกในการผลิตไข่ไหม

พันธุ์ไหมไทยลูกผสม

1) พันธุ์ไหมไทยลูกผสมอุบลราชธานี 60-35 (ดอกบัว)

ลักษณะดีเด่น

1. เลี้ยงได้ง่าย มีความแข็งแรงสูง

2. อายุหนอนไหมสั้น เวลาในการเลี้ยงประมาณ 18 วัน

3. ผลผลิตต่อแผ่น/กล่อง 15 -16 กิโลกรัม

4. เปอร์เซ็นต์การสาวง่าย 63 %

2) พันธุ์ไหมไทยลูกผสมสกลนคร

ลักษณะดีเด่น

1. มีความยาวเส้นใยยาวและสาวง่าย

2. มีความแข็งแรงเลี้ยงได้ตลอดปี

3. ผลผลิตต่อแผ่น/กล่อง 21.4 กิโลกรัม

4. เปอร์เซ็นต์การสาวง่าย 71%

3) พันธุ์ไหมไทยลูกผสมอุดรธานี

ลักษณะดีเด่น

1. มีความแข็งแรงเลี้ยงได้ตลอดปี

2. มีความต้านทานต่อโรคแกรสเซอรี่ (โรคเต้อ)

3. ผลผลิตต่อแผ่น/กล่อง 15 – 16 กิโลกรัม

4. เปอร์เซ็นต์การสาวง่าย 66%

4) พันธุ์ไหมไทยลูกผสมสกลนคร 2

ลักษณะดีเด่น

1. เป็นพันธุ์ไหมไทยลูกผสมที่มีความแข็งแรงต้านทานต่อเชื้อที่ทำให้เกิดโรคแกรสเซอรี่

2. มีเส้นใยยาวและสาวง่าย

3. ให้ผลผลิตต่อแผ่น / กล่อง (1 แผ่น = 2000 ตัว) 25 -30 กิโลกรัม

การจองและรับไข่ไหม

1) การ สั่งจองไข่ไหม ควรทำแผนการเลี้ยงไหมตลอดปีกับศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ โดยแจ้งชื่อที่อยู่ วัน เดือน ปี ที่เลี้ยงแต่ละรุ่นและจำนวนไข่ไหม ส่งให้ทราบล่วงหน้าต้นปี

2) การยืนยันความต้องการไข่ไหมทุกรุ่น ควรแจ้งก่อนการเลี้ยงไหมอย่างน้อย 20 วัน

3) การรับไข่ไหม ควรจะตรงเวลาและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ โดยเคร่งครัด

4) การขนส่ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือช่วงเช้าหรือเย็น

5) ปฏิบัติตามระเบียบสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯในการจำหน่ายจ่ายแจกพันธุ์

วิธีการเลี้ยงไหม

การเตรียมการเลี้ยงไหม

1) เตรียมสวนหม่อนเลี้ยงไหมในระดับครัวเรือนซึ่งจะต้องใช้ใบหม่อนในการเลี้ยงจนถึงไหมทำรังประมาณ 300 – 400 กิโลกรัม/แผ่น (กล่อง)

2) ทำความสะอาดโรงเลี้ยงและอุปกรณ์ต่างๆ โดยการล้างทำความสะอาด หรือนำไปผึ่งแดดแล้วนำไปฉีดอบฟอร์มาลีน 3 %ในโรงเลี้ยงอัตรา 1 ลิตร/ตารางเมตร โดยอบทิ้งไว้อย่างน้อย 2 วัน จึงเปิดโรงเลี้ยงให้กลิ่นฟอร์มาลีนระเหยอย่างน้อย 1 วัน จึงจะเข้าเลี้ยงไหมได้

(ส่วนผสมฟอร์มาลีน 3 % = ฟอร์มาลีน 40% 1 ส่วน ต่อน้ำ 13 ส่วน)

3) เตรียมสารเคมีโรยตัวไหม เพื่อใช้โรยบนตัวไหมตอนเลี้ยงแรกฟัก และไหมตื่นทุกวัยใช้ประมาณ 1 กิโลกรัม/แผ่น (กล่อง) หรือคลอรีนผง 3.5 % (คลอรีน 60% จำนวน 1 ส่วนผสมกับปูนขาว 17 ส่วน)

4) เตรียมแกลบเผาและ/หรือ ปูนขาวโรยบนตัวไหมในระยะหนอนไหม เพื่อลดความชื้น

5) เตรียมภาชนะใส่เศษใบหม่อนและมูลไหม


การเลี้ยงไหม

วิธีการเลี้ยงไหมวัยอ่อน(วัย 1 – 3)

วิธีเลี้ยงไหมวัยแก่ (วัย 4 – 5)

– ให้ใบหม่อนหั่นประมาณ 80 กรัม โรยให้สม่ำเสมอ หลังจากนั้นให้ใบหม่อนเลี้ยงไหมอีก 2 ครั้งในวันแรกนี้

– เพื่อ ป้องกันใบหม่อนเหี่ยวเร็วและควบคุมความชื้นให้เหมาะสมกับหนอนไหมวัยอ่อนควร คลุมด้วยใบตองหรือผ้าชุบน้ำหมาดๆ หรือแผ่นพลาสติกที่สะอาด

2. การให้อาหาร ไหมจะเจริญเติบโตได้ดีต้องกินใบหม่อนสด มีคุณภาพดี ปริมาณเพียงพอ ตามเวลาที่กำหนดโดยเลี้ยงวันละ 3 มื้อ กลางวันให้ 2 เท่าของมื้อเช้า ส่วนมื้อเย็นให้ 4 เท่าของมื้อเช้า เนื่องจากระยะเวลากินยาวกว่า ใช้ปริมาณใบหม่อนประมาณ 22 – 25 กิโลกรัม/แผ่น(กล่อง) สำหรับการเลี้ยงไหมแบบสหกรณ์ จะใช้ใบหม่อนประมาณ 8 – 9 กิโลกรัม/แผ่น (กล่อง)

1. ระยะการเลี้ยงแต่ละวัย

– วัยที่ 4 ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 วัน นอน 11/2 วัน

– วัยที่ 5 ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 6 – 7 วัน ไหมจะสุกทำรัง

2. การปฏิบัติในการเลี้ยงไหมวัยแก่

– ไหมวัย

การเก็บและการให้ใบหม่อน

การเก็บใบหม่อนเลี้ยงไหมวัยอ่อน ควรเก็บใบหม่อนให้เหมาะสมกับวัยดังนี้

– วัยที่ 1 เก็บใบใต้ยอดลงมาใบที่ 1 – 3 หรือเด็ดยอด

– วัยที่ 2 เก็บใบต่ำลงมาใบที่ 4–6 หรือใช้กรรไกรตัดกิ่งใบที่ 1 – 6

– วัยที่ 3 เก็บใบต่ำลงมาใบที่ 7–10 หรือใช้กรรไกรตัดกิ่งใบที่1–10 หรือตัดใบกิ่งสีเขียว

การให้ใบหม่อน

– วัยที่ 1 ให้หม่อนหั่นมีขนาดกว้าง 0.5 – 1.0 ซม.ความยาว 3 – 4 เท่าของความกว้าง

– วัยที่ 2 ให้หม่อนหั่นกว้าง 1.50 – 2 ซม.

– วัยที่ 3 ให้หม่อนหั่นกว้าง 2.5 – 3 ซม.

การเลี้ยงไหมแบบอุตสาหกรรม

แหล่งที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงไหม

สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงไหม ควรเป็นสถานที่ไม่มีฝนตกชุกตลอดปี มีสภาพอุณหภูมิอยู่ในช่วง 25 – 28 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 – 90 %

โรงเลี้ยงไหมต้องห่างไกลจากแหล่งการใช้สารเคมีการเกษตร และแหล่งอุตสาหกรรม

สภาพโรงเลี้ยง

¦ สร้างในแนวตะวันออกและตะวันตก

¦ สะดวกต่อการทำความสะอาด และสามารถที่จะฉีดอบสารเคมีเพื่อฆ่าเชื้อโรค

¦ มีการถ่ายเทอากาศได้ดี

¦ สามารถป้องกันศัตรูหนอนไหมได้ เช่น แมลงวันลาย จิ้งจก ตุ๊กแก หนู และมด

¦ ควรปลูกต้นไม้ยืนต้นรอบ ๆ โรงเลี้ยง เพื่อลดความร้อนจากแสงแดด

ขนาดโรงเลี้ยง

ขึ้นอยู่กับจำนวนไหมที่ต้องการเลี้ยง เช่น

¦ โรงเลี้ยงไหมขนาด 6 x 8 ตารางเมตร เลี้ยงไหมได้ 4 กล่อง/แผ่น (1 กล่อง = 20,000 ตัว)

¦ โรงเลี้ยงไหมขนาด 8 x 12 ตารางเมตร เลี้ยงไหมได้ 9 กล่อง/แผ่น (1 กล่อง = 20,000 ตัว)

ชั้นเลี้ยงไหม

ขนาดของชั้นเลี้ยงไหมขึ้นอยู่กับขนาดของโรงเลี้ยงไหม และความสะดวกในการปฏิบัติงาน ชั้นเลี้ยงแต่ละชั้นควรสูงห่างกัน 60 – 70 เซนติเมตร เช่น

– โรงเลี้ยงไหมขนาด 6×8 ตารางเมตร ใช้ชั้นเลี้ยงไหมขนาด 1.5 x 6 ตารางเมตร (3 ชั้นย่อย 2 แถว)

– โรงเลี้ยงไหมขนาด 8 x12 ตารางเมตร ใช้ชั้นเลี้ยงไหมขนาด 2.0 x 9.0 ตารางเมตร (3 ชั้นย่อย 2 แถว)

ปัจจัยสำคัญในการสร้างโรงเลี้ยงไหม

¦ โรงเลี้ยงไหมควรอยู่ห่างจากบ้านพักอาศัยประมาณ 10 – 20 เมตร เพื่อสะดวกในการรักษาความสะอาด และการฉีดอบสารเคมีฆ่าเชื้อโรค

¦ หลังคาควรเลือกใช้วัสดุที่เป็นฉนวนกันความร้อนและน้ำได้ดี พื้นห้องควรใช้คอนกรีต ผนังห้องก่อด้วยคอนกรีตสูงจากพื้นประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนที่เหลือบุด้วยมุ้งลวด หรือมุ้งไนล่อนตีเป็นผนังถึงระดับเพดานห้อง ปิดทับด้วยผ้าหรือผ้าพลาสติกที่สามารถม้วนเก็บได้ เมื่อต้องการให้มีการระบายอากาศและปิดในเวลาฉีดอบสารเคมีฆ่าเชื้อโรคหรือ เพื่อป้องกันแสง

¦ ควรมีห้องเก็บใบหม่อนสำหรับการเลี้ยงไหมได้ 2 เวลา

¦ มีห้องมืดขนาด 1.0 x 1.5 เมตร สำหรับดักแมลงวันลาย

¦ มีพื้นที่ว่างประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์

วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการเลี้ยงไหม

วัสดุและอุปกรณ์การเลี้ยงไหมที่จำเป็นสำหรับเลี้ยงไหมจากไข่ไหม พันธุ์ลูกผสมรังสีขาว

1 กล่อง/แผ่น (ประมาณ 20,000 ฟอง) มีดังนี้

– อุปกรณ์วัดอุณหภูมิความชื้น 1 ชุด

– มีดและเขียง (หรือเครื่องหั่นใบหม่อน) 1 ชุด

– เครื่องฉีดฟอร์มาลีน 1 เครื่อง

– กรรไกรตัดแต่งกิ่งไม้ 1 อัน

– เครื่องลอกปุยไหม 1 ชุด

– เครื่องชั่ง ขนาด 50 กิโลกรัม 1 เครื่อง

– กระบะเลี้ยงไหมวัยอ่อน ขนาด 90 x 100 x 12 ซม. 4กล่อง หรือกระดาษพาราฟิน 4 ตารางเมตร

– ตะแกรงร่อนแป้ง (ชนิดตาถี่) 1 อัน

– ตาข่ายสำหรับถ่ายมูลไหมวัยอ่อน 8 ผืน (ขนาดช่องตาข่าย 1 x 1 ซม.2) ขนาด 100 x 80 ซม.

– จ่อหมุน 15 ชุด

– หรือจ่อลวด /จ่อพลาสติก 60 ชุด

– ถังน้ำขนาด 200 ลิตร 1 ใบ

– รองเท้าแตะ 1-2 คู่

– เข่งหรือตะกร้าเก็บใบหม่อน 2 ใบ

– ตะกร้าให้อาหาร 4 ใบ

– ผ้าคลุมหม่อน (1×1.5 เมตร) 10 ผืน

– ขนไก่/ขนนก 1-2 อัน

– ตะเกียบไม้ไผ่ 2 คู่

– ปูนขาวชนิดผงละเอียด 2 – 3 กิโลกรัม หรือแกลบเผา 100 ลิตร

– สารเคมีป้องกันโรคไหมชนิดผง (เพบโซล) 1 กิโลกรัม

– สารฟอร์มาลีน 3% (ฟอร์มาลีน 40% จำนวน 1 ส่วนผสมน้ำ 13 ส่วน) ใช้ฉีดพ่น อัตรา 1 ลิตร/ตารางเมตร

– มุ้งไนล่อน (มุ้งเขียว) 16 ตารางเมตร

– กระดาษหนังสือพิมพ์เก่า 5 กิโลกรัม

– ผงซักฟอก 1-2 กิโลกรัม

– สบู่ล้างมือ 1 ก้อน

– เชือกเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซ.ม. ยาว 2 เมตร 6 เส้น หรือตาข่ายถ่ายมูลสำหรับถ่ายมูลไหมวัยแก่ (ขนาดช่องตาข่าย 3 x 3 ซม2) ขนาด 80 ซม. x 100 ซม. 40 ผืน

ที่มา : กรมหม่อนไหม