ต้นกำเนิดไหมไทย

     หลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทอผ้า ยังไม่พบข้อมูลใดที่บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทอผ้า ในผืนแผ่นดินไทยและจีน แม้ว่าทั้งสองชนชาติต่างๆก็มีวัฒนธรรมของการแต่งการด้วยผ้าไหมมานานนับพันปี รวมทั้งหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ยืนยันว่า ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ทางภาคใต้ของจีน ซึ่งปัจจุบันในมณฑลกวงตุ้งยังคงมีชนเผ่าไทยอาศัยอยู่ ดังนั้น จึงเป็นข้อสันนิษฐานว่าการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ละทอผ้าของชนชาติไทยน่าจะได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากชาวจีนตอนใต้มาตามลำ น้ำโขง ในขณะที่จีนมีประวัติศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับไหมมากมาย

     ประเทศไทยก็มีการค้นพบเศษผ้าติดอยู่กับกำไลสำริด ที่โครงกระดูกของมนุษย์ก่อนประศาสตร์บ้านเชียง และยังพบเศษเส้นไหมและลูกกลิ้งดินเผาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับทำลวงลายบนผืนผ้า ที่บ้านนาดี อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีอายุกว่า 3,000 ปีมาแล้ว จึงเชื่อว่าบรรพบุรุษของคนไทยมีถิ่นฐานที่อยู่อาศัยในบริเวณนี้ โดยมิได้อพยพหรือเคลื่อนย้ายมาจากที่ใดและเป็นน่าสังเกตว่าไหมพันธุ์พื้น เมืองของไทยมีถิ่นฐานที่อยู่อาศัยในบริเวณนี้ โดยที่เลี้ยงกันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศนั้น เป็นพันธุ์ที่ไข่ฟักออกเป็นตัว(ไหม) หลายครั้งต่อปี รังไหมมีรูปร่างเรียวเล็ก สีเหลือง มีปุยประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแตกต่างจากไหมของจีนในสมัยราชวงศ์เซีย อีกทั้งไหมของประเทศต่างๆ ในบริเวณ สุวรรณภูมิ อันได้แก่ลาว กัมพูชา และเวียดนามก็มีพันธุ์ไหมพื้นเมืองที่มีรังสีเหลือง ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ ประเทศไทย แต่แตกต่างจากจีนทั้งสิ้น

     การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในประเทศไทย มีมาเป็นเวลาช้านาน แต่เริ่มมีการพัฒนาอย่างจริงจังในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้ฟื้นฟูส่งเสริมและพัฒนาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวไหม และทอผ้าไหม อย่างจริงจังตั้งแต่ปี พ.ศ.2445 โดยรัฐบาลไทยได้ว่าจ้าง ดร.คาเมทาโร่ โทยาม่า รองศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว มาให้คำปรึกษาด้านการเลี้ยงไหม และได้มีการจัดตั้งกองช่างไหมขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการโดย ดร.โทยาม่า ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้ากองช่างไหม ในเวลาต่อมาได้เริ่มมีการวิจัยและพัฒนาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมขึ้น จึงนับว่าเป็นรากฐานของงานวิจัยและพัฒนาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอย่างแท้จริง ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ตั้งกรมช่างไหมขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม(พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์) เป็นอธิบดีพระองค์แรก พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนสอนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมขึ้นใน พระราชวังดุสิตและปทุมวันให้ชื่อว่าโรงเรียนกรมช่างไหม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและสาวไหม ให้แก่พนักงานคนไทยเตรียมไว้ทดแทนผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่น

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

     ในระหว่างปี พ.ศ. 2512-2527 ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากรัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้แผนโคลัมโบ โดยส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 6 คน เข้ามาดำเนินงานวิจัยด้านการผลิตหม่อนไหม การผลิตไข่ไหม การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูหม่อนไหม รวมทั้งการสาวไหม ที่ก่อประโยชน์ต่อการพัฒนาหม่อนไหมของประเทศเป็นอย่างยิ่ง จนทำให้ประเทศไทยสามารถผลิตไหมเส้นยืนทดแทนการนำเข้าบางส่วนได้สำเร็จ

     ใน วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2519 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษขึ้น เพื่อสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับราษฎรในท้องถิ่นที่ห่างไกล การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมนับเป็นหนึ่งในหลายอาชีพที่พระองค์ทรงฟื้นฟูอุปถัมภ์ และส่งเสริมจนมั่นคง อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าให้คงอยู่คู่บ้านเมืองสืบไป ปัจจุบันนี้ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษมีอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จึงนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นแก่พสกนิกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทุก ผู้ทุกนามอย่างหาที่เปรียบมิได้

ที่มา : กรมหม่อนไหม