การตีราคารังไหม

การตีราคารังไหม
     การตีราคารังไหม เป็นระบบการกำหนดและบุ่งชี้ราคารังไหมของเกษตรกร แต่ละรายที่มีการเลี้ยงไหมเพื่อจำหน่ายรังไหมแก่โรงงานสาวไหมหรือบริษัทผู้ รับ ซื้อรังไหม ในปัจจุบันได้มีภาคเอกชนประมาณ 15 แห่ง ที่ได้ดำเนินการซื้อรังไหม จากเกษตรกร และเพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นมากที่สุดระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย จึงได้มีผู้แทนจากหน่วยงานราชการเข้าร่วมเป็นกรรมการในการรับซื้อ ายรัง และการตีราคารังไหม การตีราคารังไหมดังกล่าว เราจะใช้กับรังไหมพันธุ์ลูกผสม ต่างประเทศ (รังสีขาว) อย่างเดียวเท่านั้น

ความเป็นมา
     ประเทศไทยเริ่มมีการเลี้ยงไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 แต่ยังไม่มีการกำหนดวิธีการตีราคารังไหมและยังไม่มีการใช้กฎเกณฑ์ใน ด้านคุณภาพ ต่อมาการเลื้ยงไหมพันธุ์ลูกผสมได้เพิ่มขยายมากขึ้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2516-2517 จึงได้มีการคิดสูตรราคารังไหมโดยใช้หลักเกณฑ์คุณภาพของ รังไหมมาเป็นส่วนในการพิจารณา คือเปอร์เซนต์เปลือกรัง เปอร์เซนต์รังดี, รังเสีย ราคาเส้นไหมยืนสัดส่วนแบ่งจากราคาจำหน่ายเส้นไหมยืน ระหว่างเกษตรกรกับโรงงาน
เปอร์เซนต์เส้นใยไหมที่สาวได้จากเปลือกรังซึ่งหลักเกณฑ์ของการคิดคำนวณราคารังไหมดังกล่าวข้างต้น ยังคงใช้กันมาจน กระทั่งปัจจุบันนี้ เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงค่าตัวเลขในบางส่วนเท่านั้น

ลักเกณฑ์ในการตีราคารังไหม
     การตีราคารังไหม หมายถึงการชี้ขาดว่าเกษตรกรแต่ละรายที่นำรังไหม มาจำหน่ายให้แก่โรงงานสาวไหมหรือบริษัทผู้รับซื้อนั้นจะได้รับราคากิโลกรัมละ เท่าไร ซึ่งจะเป็นไปตามลักษณะคุณภาพของรังไหมที่นำมาจำหน่าย

ปัจจุบันการตีราคารังไหมได้มีการปฎิบัติกัน 2 ลักษณะ คือ

1. การตีราคารังไหมด้วยรังไหมสด หมายถึง การใช้ตัวอย่างรังไหมสด มาทำการตรวจสอบคุณภาพ ทั้งเปอร์เซนต์เปลือกรังและเปอร์เซนต์รังดีรังเสีย การตีราคาโดยวิธีดังกล่าวเป็นที่นิยมปฎิบัติกันมาก เกษตรกรสามารถที่จะทราบ ราคารังไหมของตนเองได้ในวันที่นำรังไหมไปจำหน่าย ส่งผลทำให้เกษตรกรเกิด ความมั่นใจในราคาที่ได้รับเพราะเกษตรกรได้อยู่ในช่วงเวลาที่ทำการตีราคารังไหม และเป็นวิธีการปฎิบัติที่สะดวกและเหมาะสม

2. การตีราคารังไฑมต้วยรังไหมแห้ง หมายถึง การตีราคาโดยใช้ตัวอย่าง รังไหมสดมาทำการหาเปอร์เซนต์เปลือกรัง และตัวอย่างรังไหมแห้ง โดยการนำ รังไหมสดที่สุ่มมาไปอบแห้งก่อนแล้วจึงนำไปหาเปอร์เซนต์รังดีรังเสีย วิธีการ ตีราคาดังกล่าวมีการปฎิบัติกันบ้าง แต่เกษตรกรที่นำรังไหมไปจำหน่ายให้แก่โรงงาน สาวไหมหรือบริษัทไม่สามารถที่จะทราบราคารังไหมได้ในวันที่นำรังไหมไปจำหน่าย เพราะต้องรอรังไหมอบแห้งก่อน ดังนั้นวิธีการดังกล่าวเกษตรกรมักจะไม่ค่อย ให้ความสนใจเนื่องจากขาดความมั่นใจในการตีราคารังไหมว่าจะได้รับความยุติธรรม หรือไม่ เพราะเกษตรกรเองมิได้อยู่ในช่วงเวลาการตีราคารังไหม

จากวิธีการตีราคารังไหมดังกล่าวทั้ง 2 วิธีนั้น เกษตรกรจะมีความมั่นใจ ในราคารังไหมที่ได้รับเพิ่มมากขึ้น หากหน่วยราซการที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง คือกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมวิชาการเกษตรได้เข้าไปร่วมเป็นสื่อกลางใน การตีราคารังไหมเพื่อให้เกิดความยุติธรรมด้วยกันทั้งสองฝ่าย

ขั้นตอนในการตีราคารังไหม
     ในการตีราคารังไหมที่เกษตรกรนำมาจำหน่ายให้แก่โรงงานสาวไหมหรือ บริษัฑผู้รับซื้อ โดยส่วนใหญ่เกษตรกรไทยมักจะนำรังไหมมาจำหน่ายเป็นรายๆ ไป มีไม่มากนักที่จำหน่ายในลักษณะกลุ่ม ดังนั้น ในการนำรังไหมมาจำหน่าย นั้นจะมีการบรรจุรังไหมมาเป็นรายๆไป ซึ่งในการตีราคาดังกล่าวมีขั้นตอนในการ ปฎิบัติดังนี้ คือ

1. การสุ่มตัวอย่างรังไหมเพื่อทำการทดสอบคุณภาพรังไหม เปอร์เซนต์เปลือกรังและเปอร์เซนต์รังดี โดยทั่วๆไปจะทำการสุ่มตัวอย่างรังไหม ประมาณ 2 3 เปอร์เซนต์ โดยน้ำหนักหรืออาจจะใช้วิธีการสุ่มทุกๆ 50 กิโลกรัม สุ่มตัวอย่างประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม
การสุ่มตัวอย่างและตีราคารังไหมการสุ่มตัวอย่างและตีราคารังไหม

2. นำตัวอย่างรังไหมที่สุ่มมาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ คือ ส่วนที่ 1 ใช้รังไหมประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของรังไหมที่สุ่มไว้ ทำการหาเปอร์เซนต์เปลือกรัง โดยการคัดเลือกรังดีมาไม่น้อยกว่า 30 รัง เพื่อ หาเปอร์เซนต์เปลือกรังตามวิธึการดังนี้ คือสูตรเปอร์เซนต์เปลือกรัง = (น้ำหนักเปลือกรัง / น้ำหนักรังไหม) * 100 น้าหนักเปลือกรังหมายถึง รังไหมที่ผ่าเอาดักแค้และเศษคราบของหนอนไหมวัย 5 ที่อยู่ในรังออกแล้ว นำหนักรังไหม หมายถึง น้ำหนักรังไหมที่ยังไม่ได้ผ่าเอาส่วนใดๆออกเลย

ตัวอย่าง
รังไหมมีน้ำหนักเปลือกรัง 11.2 กรัม น้ำหนักรังไหม 49.2 กรัม
แทนค่าในสูตร เปอร์เซนต์เปลือกรัง = (11.2 /49.2) X 100
= 22.76/.(ตัวเลขเศษทศนิยมปัดขึ้น)
= 23 %

ส่วนที่ 2 ใช้รังไหมส่วนที่เหลือประมาณ 2 ใน 3 ส่วน ของ รังไหมที่สุ่มไว้ แล้วทำการหาเปอร์เซนต์ รังเสีย ซึ่งในการหาเปอร์เซนต์รังเสียใน ปัจจุบันมีวิธีการปฎิบัติอยู่ 2 วิธี ด้วยกัน คือ

2.1 การหาเปอร์เซนต์รังเสียโดยใช้รังไหมสด นำรังไหมในส่วน ที่จะหาเปอร์เซนต์รังเสียทั้งหมดไปชั่งน้าหนักพร้อมทั้งจดบันทึก จากนั้นจึงนำ มาคัดเลือกเพื่อแยกรังดีและรังเสียออกจากกัน แล้วนำรังเสียไปชั่งน้ำหนักและจด บันทึกไว้
2.2 การหาเปอร์เซนต์รังเสียโดยใช้รังไหมแห้ง นำรังไหมในส่วน ที่จะหาเปอร์เซนต์รังเสียทั้งหมดไปทำการอบแห้งที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 80- 90 องศาเซลเซลเซียสเป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง แล้วนำมาชั่งน้าหนักและจดบันทึก จากนั้นนำรังไหมที่อบแห้งแล้วมาทำการคัดเลือกแยกรังดีรังเสียออกจากกัน นำ รังเสียทีคัดได์ไปชั่งน้ำหนักและจดบันทึกไว้ในการคำนวณหาเปอร์เซนต์รังเสียจะมีสูตรการคำนวณ คือสูตร เปอร์เซนต์รังเสีย = (น้ำหนักรังเสีย / น้ำหนักรังตัวอย่างทั้งหมด) x 100

ตัวอย่าง รังไหมมีน้ำหนักรังเสีย 21 กรัม น้ำหนักตัวอย่างรังไหมที่ใช้ในการหา เปอร์เซนต์รังเสียทั้งหมด 36.8 กรัม นำตัวเลขดังกล่าวไปแทนค่าลงในสูตรการ คำนวณหาเปอร์เซนต์รังเสีย ดังนี้

แทนค่า เปอร์เซนต์รังเสีย = ( 21/ 36.8) X 100
= 5.7% (ตัวเลขเศษทศนิยมปัดขึ้น)
ดังนั้น เปอร์เซนต์รังเสีย = 6%

     จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการตีราคารังไหมในข้อ 1 และ ข้อ 2 ทำให้ ทราบว่าเกษตรกรแต่ละรายที่ส่งรังไหมมาจำหน่ายนั้นได้คุณภาพรังไหมที่เปอร์เซนต์ เปลือกรังดีเท่าไร เปอร์เซนต์รังเสียเท่าไร แล้วนำตัวเลขที่คำนวณได้ไปเทียบ กับตารางมาตรฐานราคารังไหม ซึ่งจะมีตัวเลขเปอร์เซนต์รังเสียอยู่ในแนวตั้ง และเปอร์เซนต์เปลือกรังอยู่ในแนวนอนก็จะทำให้ทราบค่าราคารังไหมต่อกิโล กรัมได้

ที่มาของตารางราคารังไหม

     ในการกำหนดราคารังไหมในตารางมาตรฐาน ราคารังไหมที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นได้มาสจากสูตรคำนวณราคารังไหมสดต่อกิโลกรัม คือ สูตรราคารังไหมสดต่อกิโลกรัม = [ราคาเส้นไหมยืน X (สัดส่วนแบ่งของเกษตรกร /100) X (เปอร์เซนต์การสาว / 100) 100 100 X (เปอร์เซนต์เปลือกรัง / 100 ) X (เปอร์เซนต์รังดี /100 ) ] + [ 150 X (12.42/100) X (เปอร์เซนต์รังเสีย / 100)]

ขยายความในสูตร

     ราคาเส้นไหมยืน หมายถึง ราคาเส้นไหมยืนที่มีการซื้อขายกันใน ตลาด ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ตลาดเส้นไหมสัดส่วนแบ่งของเกษตรกร หมายถึง สัดส่วนที่มีการกำหนดว่าส่วนแบ่ง ของราคาเส้นไหมยืนระหว่างเกษตรกรและโรงงานสาวไหมจะเป็นสัดส่วนเท่าไร ในปัจจุบันสัดส่วนของเกษตรกร : โรงงานเท่ากับ 58 : 42 เปอร์เซนต์การสาวได้ หมายถึง เปอร์เซนต์การสาวเส้นไหมได้จาก เปลือกรังใช้ตัวเลข 73 %
เปอร์เซนต์เปลือกรัง หมายถึง ตัวเลขที่ได้จากการคำนวณในสูตร การหาเปอร์เซนต์เปลือกรัง จะเปลี่ยนแปลงไปตามคุณภาพรังไหมที่เกษตรกร เลี้ยงได้เปอร์เซนต์รังดีรังเสีย หมายถึง ตัวเลขที่ได้จากการคำนวณในสูตร การหาเปอร์เซนต์รังดีรังเสีย จะเป็นไปตามคุณภาพรังไหมที่เกษตรกรเลี้ยงได้ 150 หมายถึง ค่าของรังไหมเสีย (ซึ่งมีปะปนมากับรังไหมที่เกษตรกร นำมาจำหน่าย) เป็นตัวเลขคงที่ 12.42 หมายถึง เปอร์เซนต์การสาวเส้นไหมได้จากรังเสีย ตัวอย่าง เกษตรกรเลี้ยงไหมนำรังไหมไปจำหน่ายได้เปอร์เซนต์เปลือกรังเท่ากับ 23, เปอร์เซนต์รังเสียเท่ากับ 6, ราคาเส้นไหมยืนกิโลกรัมละ 1,060 บาท แทนค่าในสูตร ราคารังไหมสดต่อกิโลกรัม .

= [ 1,060 X (58/100) X (73/100) X (23/100) X ( 94/100) ] + [ 150 X (12.42/100) X ( 6/100) ]
= 97.0314 + 1 .1178
= 98.1492 บาท/กิโลกรัม

ดังนั้น ราคารังไหมสดต่อกิโลกรัม = 98.15 บาท

     ในการคิดคำนวณราคารังไหมดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าตัวเลขที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ คือ ตัวเ ลขของเปอร์เซนต์การสาวได้จาก เปลือกรัง คือ 73 และตัวเลขของเปอร์เซนต์การสาวเส้นไหมได้จากรังเสีย คือ 12.42 หากผลการวิจัยในด้านการสาวไหมจากรังไหมที่เกษตรกรเลี้ยงได้คุณภาพ รังไหมสูงขึ้น

ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการกำหนดราคารังไหม

     เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมเพื่อการจำหน่ายรังไหมแก่โรงงานสาวไหมหรือบริษัฑ ผู้รับซื้อรังไหมจะต้องมีการพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับ ระบบการกำหนดราคารังไหม ซึ่งเป็นผลประโยชน์โดยตรงกับเกษตรกร หาก เกษตรกรได้มีการปฎิบัติที่ถูกต้องดังนี้ คือ

1. การคัดเลือกรังไหม ( Cocoon assorting)
เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อราคารังไหมที่เกษตรกรจะได้รับมาก หากเกษตรกรมีการคัดเลือกรังไหมไม่ดีพอก่อนที่จะส่งไปจำหน่ายก็จะทำให้ราคา รังไหมที่เกษตรกรได้รับต่ำ ฉะนั้น ในการคัดเลือกรังไหมนั้นเกษตรกรจะต้อง ทำการคัดรังเสียออกก่อน ซึ่งรังเสียมีอยู่ 11 ชนิด คือ

     รังแฝด1.1 รังแฝด (double cocoon ) คือรังไหมที่เกิดจากหนอนไหมตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ทำรังร่วมกัน ซึ่งรังประเภทนี้เมื่อนำมาสาวจะทำให้เส้นไหมขาดบ่อยๆ เพราะการพ่นเส้นใยไหมพันกัน เนื่องจากรังไหมใน 1 รัง มีเส้นไหมมากกว่า 1 เส้น ทำให้ความสามามถในการสาวออกต่ำ เส้นไหมก็ไม่เรียบ ประสิทธิภาพการสาวเส้นไหม ลดลง การเกิดรังไหมแฝดนันอาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของพันธุ์ไหม จำนวนหนอนไหมต่อจ่อมากเกินไป ลักษณะจ่อไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสมกับหนอนไหม
รังเจาะ1.2 รังเจาะ (pierced cocoon) รังไหมชนิดนี้เกิดจากหนอนแมลงวันลายเจาะรัง ออกมาทำให้รังเหล่านี้เสียหาย การที่รังไหมเกิดรูก็เท่ากับไปตัดเส้นไหมให้ ขาดทั้งเส้น ด้งนั้น เวลานำรังไหมชนิดนี้ไปสาวเส้นไหมยืน จะทำให้ขาดบ่อยๆ ก่อ ให้เกิดปัญหายุ่งยาก และประสทธิภาพในการสาวออกค่อนข้างต่ำ ทำให้เส้นไหม ที่ได้ไม่มีคุณภาพ รังสกปรกภายใน1.3 รังสกปรกภายใน (inside soiled cocoon) รังไหมชนิดนี้เกิดจาก ตัวดักแด้ตายในรังหรือหนอนไหมเป็นโรคแต่สามารถทำรังได้ เมื่อทำรังแล้วหนอนไหมหรือ ดักแด้ตายในรังทำให้รังสกปรกเมื่อนำมาสาวจะได้เส้นไหมที่ไม่มีคุณภาพ รังสกปรกภายนอก1.4 รังสกปรกภายนอก (outside soiled cocoon) รังไหมชนิดนี้ เกิดจากหนอนไหมปล่อยปัสสาวะก่อนทำรังหรือเกิดจากการแตกของตัวหนอนไหม เป็นโรคที่อยู่ในจ่อ แล้วไปทำเปื้อนกับรังดีที่อยู่ในจ่อด้วยกัน รังไหมชนิดนี้เมื่อ นำไปต้มสาวแล้วจะดึงเส้นไหมยาก หรือรังอาจจะเละก่อนที่จะสาว โดยเฉพาะ เปลือกรังบริเวณที่เปื้อนปัสสาวะเพราะปัสสาวะของหนอนไหมมีฤทธิ์เป็นด่าง
รังบาง1.5 รังบาง (thin shell cocoon) เป็นรังไหมที่ได้จากการจับหนอนไหม ที่เป็นโรคเข้าจ่อทำรัง เมื่อพ่นเส้นใยทำรังได้เล็กน้อยก็จะตายไป ทำให้รังไหมบาง ผิดปกติ หรือเกิดจากการจับหนอนไหมเข้าจ่อช้าเกินไป หนอนไหมจึงพ่นเส้นใย ไหมตามขอบกระด้งหรือเหลี่ยมมุมของโต๊ะเลี้ยงไหม ทำให้มีเส้นใยน้อยจึงทำรัง ได้บางผิดปกติ รังไหมชนิดนี้ไม่สามารถที่จะต้มสาวได้เพราะรังไหมจะเละก่อน รังหลวม1.6 รังหลวม (loose shell cocoon) เป็นรังไหมที่เกิดขื้นเนื่องจาก สภาพแวดล้อมในขณะที่ไหมทำรังไม่เหมาะสมจึงทำให้เกิดรังชนิดนี้ขื้น ลักษณะ รังหลวมถ้านำไปสาวจะเกิดการขาดของเส้นไหมบ่อย เพราะว่ารังไหมแยกเป็น ชั้นๆ ทำให้ได้เส้นไหมที่ไม่มีคุณภาพ รังบางหัวท้าย1.7 รังบางหัวห้าย (thin-end cocoon ) รังไหมชนิดนี้มักเกิดจาก ลักษณะสายพันธุ์ไหมหรือเกิดจากอุณหภูมิสูงในช่วงกกไข่ บางครั้งก็เกิดจาก สภาพอากาศที่เย็นเกินไประหว่างไหมเข้าทำรัง ลักษณะรังประเภทนืส่วนหัวจะ แหลมผิดปกติ เวลานำไปต้มจะเละบริเวณส่วนแหลมก่อนและถ้านำมาสาวเส้นไหม จะขาดบริเวณหัวแหลม ทำให้ความสามารถในการสาวออกลดลง เส้นไหมที่ได้ จะไม่มีคุณภาพ รังผิดรูปร่าง1.8 รังผิดรูปร่าง (malformed cocoon) รังไหมชนิดนี้มักเกิดจาก ลักษณะจ่อไม่ถูกต้อง หรือเกิดจากหนอนไหมอ่อนแอ ทำรังได์ไม่สมบูรณ์ ลักษณะ รังมักจะบิดเบี้ยวและไม่มีความสม่ำเสมอ รังประเภทนี้เวลานำไปต้มกับรังดีมัก จะเละก่อนหรือบางทีก็แข็ง ทั้งนี้ขี้นอยู่กับรูปรา่งของรังนั้นๆ ว่าผิดปกติลักษณะใด รังติดข้างจ่อ1.9 รังติดข้างจ่อ (cocoon with prints of cocoon frame ) รังไหม ชนิดนี้เกิดจากการที่หนอนไหมไปทำรังติดข้างๆ จ่อ หรือติดกับกระดาษรองจ่อ ลักษณะรังจะแบนผิดปกติและหนาเป็นบางส่วน ซึ่งสาเหตุเกิดจากการจับไหม เข้าจ่อแน่นเกินไป หนอนไหมมีพื้นที่ในการทำรังไม่เพียงพอหรืออาจจะเกิดจาก การใช้จ่อที่ไม่ถูกลักษณะรังบุบ1.10 รังบุบ (crushed cocoon) รังไหมชนิดนี้พบในกรณีที่ขนส่งโดย ไม่ระมัดระวังทำให้รังไหมเกิดการกระทบกระแทกกัน รังไหมนี้ถ้านำไปสาวจะ เกิดการขาดบ่อยๆ ตรงบริเวณส่วนที่ยุบลงไปรังเป็นเชื้อรา1.11 รังเป็นเชื้อรา ( musty cocoon ) รังไหมชนิดนี้ไม่ควรนำไปสาว เพราะเส้นใยจะเสื่อมคุณภาพ ทั้งนี้เกิดจากการอบแห้งไม่สมบูรณ์และไม่มีการ ควบคุมความชื้นในห้องเก็บรังไหมดีพอ ทำให้มีเชื้อราเกิดขื้นบนเปลือกรังไหมจากลักษณะรังเสียตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ลักษณะรังเสียลำดับที่ 1.1-1.10 จะพบมากในการซื้อขายรังไหมจากเกษตรกร ส่วนลักษณะของรังเสีย ที่เกิดจากเชื้อราในลำดับที่ 1.11 นั้นจะเกิดขี้นกับโรงงานสาวไหมในขั้นตอนของ การอบรังไหมไม่ดีพอ หรือการเก็บรังไหมที่อบแล้วในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม คือห้องเก็บรังไหมจะต้องมีการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกิน 70%

2. การขนส่งรังไหม

     เกษตรกรเมื่อไดทำการคัดเลอกรังไหมแล้ว ก็จะต้องนำรังไหมมา บรรจุภาชนะเพื่อทำการขนส่งไปจำหน่ายยังโรงงานหรือบริษัท ในขั้นตอนนี้มี ความสำคัญต่อคุณภาพรังไหมมาก เนื่องจากดักแด้ที่อยู่ภายในรังไหมสดนั้น ยังมีชีวิตอยู่ มีการหายใจอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ในการบรรจุภาชนะเพื่อการ ขนส่งจึงควรที่จะปฎิบัติดังนี้

2.1 บรรจุรังไหมสดในถุงผ้าหรือเข่งที่มีการระบายอากาศได้ดี โดย อย่าให้มีน้ำหนักเกิน 15 กิโลกรัม (ถุงผ้าขนาด 40X40X80 เซนติเมตร) เพื่อ หลีกเลี่ยงการทับกันของรังไหมในปริมาณที่มากเกิน ซึ่งจะทำให้รังไหมบุบได้

2.2 การขนย้ายถุงบรรจุรังไหม ในการขนส่งไม่ควรที่จะวางถุงหรือ เข่งทับกันเป็นชั้นๆโดยตรง แต่หากมีความจำเป็นควรจะต้องมีไม้ระแนงคั่นไว้ เพราะในระหว่างการเดินทางหากรังไหมอัดทับกันแน่นจะทำให้รังไหมเสียหาย เนื่องจากแรงกระแทก นอกจากนี้ดักแด้ยังมีการหายใจอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น การระบายอากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็นในระหว่างการขนส่งรังไหม

2.3 การบรรจุรังไหมในภาชนะ ควรทำการบรรจุรังไหมและส่งไป จำหน่ายทันที เพราะหากบรรจุรังไหมทิ้งไว้จะทำให้เกิดความชื้นภายในภาชนะ ส่งผลทำให้รังไหมเปียกจนทำให้เกิดรังเสีย ดังนั้น หากเก็บรังไหมออกจากจ่อ คัดเลือกรังไหม และลอกปุยชั้นนอกออกแล้ว แต่ยังไม่ขนส่งไปจำหน่ายในขณะนั้น ก็ให้เก็บรังไหมไว้ในภาชนะที่กว้างสามารถเกลี่ยกระจายรังไหมได้โดยให้รังไหม ซ้อนทับก้นน้อยที่สุด เมื่อจะขนส่งจึงนำมาบรรจุใส่ภาชนะที่เตรียมไว้เพื่อป้องกัน ความสูญเสียรังไหมที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการอัดทับกันแน่นของรังไหม

2.4 ช่วงเวลาในการขนส่ง การขนส่งรังไหมควรจะหลีกเลี่ยงช่วง เวลาที่อากาศร้อนจัด ควรจะขนส่งในช่วงเวลากลางคืนหรือเช้าตรู่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ระยะทาง นอกจากนื้ในระหว่างการขนส่งไม่ควรให้รังไหมโดนฝนโดยตรงเพราะ จะส่งผลต่อคุณภาพของรังไหม

3. การเก็บรักษารังไหมออกจากจ่อ

     ในการเก็บรังไหมออกจากจ่อนั้นจะต้องเก็บในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะถ้าหากเก็บรังไหมเร็วเกินไปก็จะทำให้ได้รังไหมที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากหนอนไหม ยังพ่นเส้นใยทำรังไม่เสร็จ นอกจากนี้เมื่อเก็บรังไหมมารวมอัดกันแน่น แต่ดักแด้ ยังอ่อนอยู่ก็จะทำให้ดักแด้แตกและเกิดรังเปื้อนรังเสียได้ และถ้าหากเก็บช้า เกินไปก็อาจจะทำให้ไม่ทันเวลากับการส่งจำหน่ายให้โรงงานสาวไหมหรือบริษัท เพราะรังไหมสดจะอยู่ได้ประมาณ 10-12 วันเท่านั้น หลังจากนั้นแล้วผีเสี้อก็ จะเจาะรังออกมาทำให้รังเป็นรู กลายเป็นรังเสียไป จะเห็นได้ว่าปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นจะมีผลกระทบต่อราคา รังไหมที่เกษตรกรจะได้รับจากการตีราคารังไหมด้วยวิธีการใช้หลักเกณฑ์ของ คุณภาพของรังไหมมามีส่วนเกี่ยวข้องในการคำนวณราคาดังปรากฎอยู่ในตาราง มาตรฐานราคารังไหม ดังนัน ในการจำหน่ายรังไหมเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมควร ที่จะต้องให้ความส่าคัญและยืดถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อผลประโยชน์และ รายได้ที่จะได้รับจากการเลี้ยงไหมของเกษตรกรเอง

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร